เปิดยุทธศาสตร์ใหญ่ ‘ไทยคม’ ชิงขุมทรัพย์ 'New Space Economy'

เปิดยุทธศาสตร์ใหญ่ ‘ไทยคม’ ชิงขุมทรัพย์ 'New Space Economy'

ไทยต้องเตรียมโอบรับเศรษฐกิจอวกาศ หรือ New Space Economy ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งพรมแดนของอวกาศได้ถูกทลายลงหลังจากที่เทคโนโลยีและอินโนเวชั่นรุดหน้าไปมาก ดังนั้น ไทยต้องเตรียมโอบรับเศรษฐกิจอวกาศ หรือ New Space Economy ที่กำลังจะเกิดขึ้น

‘ปฐมภพ สุวรรณศิริ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม ให้สัมภาษณ์พิเศษ “กรุงเทพธุรกิจ” ถึงทิศทางธุรกิจ และโอกาสของไทยในการเข้าสู่สมรภูมิ New Space Economy

'ปฐมภพ' รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยคม ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 ถือเป็นการผลักดันลูกหม้อตัวจริงเสียงจริง ที่ร่วมงานกับไทยคมมากว่า 29 ปี ผ่านมาหลายภารกิจ ด้วยความสามารถรอบด้านและประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี การพัฒนาธุรกิจ การขายและการตลาด รวมถึงประสบการณ์ทำธุรกิจระหว่างประเทศ จนได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรมดาวเทียมระดับสากล 

ผ่านมา 1 ปี 'ปฐมภพ' พลิกฟื้นไทยคมจนมั่นใจว่า ภายในปีนี้จะมีกำไรสุทธิแน่นอน พร้อมแผนยิงดาวเทียมดวงใหม่ 2 ดวงหลังเป็นผู้ชนะการประมูลวงโคจรจาก กสทช.

อินโนเวชั่นกลไกดันเศรษฐกิจใหม่

ปฐมภพ อธิบายภาพ กิจการอวกาศในอนาคตว่า เศรษฐกิจยุคใหม่ ไม่จำกัดเพียงแค่ธุรกิจดาวเทียมอีกต่อไป และกิจการอวกาศ จะเป็นอินฟราสตรัคเจอร์หลักสำคัญให้ประเทศ มีกลไกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศเพื่อสร้าง New S-Curve 

ไทยคมก้าวสู่การเป็น Space Tech Company เพื่อรองรับเศรษฐกิจอวกาศ ซึ่งบริษัทต่างชาติประเมินว่า ปีนี้เม็ดเงินที่เกี่ยวข้องกับ Space Economy จะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ และปี 2570 จะก้าวกระโดดไปถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์

ปฐมภพ มองว่า ไทยมีโอกาสที่ดีทั้งด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้ง การเป็นฮับในหลายด้าน ขณะที่ กิจการอวกาศไม่จำกัดอยู่แค่ดาวเทียมสื่อสารทั้งวงโคจรประจำที่ ไม่ประจำที่ และวงโคจรระดับสูง กลาง ต่ำ แต่เมื่ออินโนเวชั่น และเทคโนโลยีล้ำหน้ามาถึงจุดนี้ จึงไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัว หากสิ่งที่ต้องคำนึง คือ ไทยจะหยิบฉวยโอกาสที่ผ่านเข้ามาจาก Space Economy ได้อย่างไรซึ่งมี Opportunity ในอวกาศระดับโลกที่กำลังเปิดกว้าง

วางเป้าสู่ “สเปซ เทค คัมพานี”

ไทยคม เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดาวเทียมมาตลอด 30 ปี มีทั้งองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญกิจการอวกาศ แนวทางทำตลาด การหาพันธมิตรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ดังนั้น ภาพอนาคตตลาดจะเปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น

“ไทยคมต้องการขยายสโคปธุรกิจตัวเอง จากเป็นผู้ให้ดำเนินธุรกิจดาวเทียมไปสู่การเป็น Space Tech Company ภายใน 5 ปีต่อจากนี้  โดยจะมุ่ง 3 ธุรกิจใหม่มาเสริมกับธุรกิจดาวเทียมหลักที่ให้บริการ” 

ใน 3 ธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย 1.บริการ Software defined satellite ดาวเทียมที่สามารถควบคุมการทำงานได้เรียลไทม์จากภาคพื้นดิน เปลี่ยนองศาความครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ (footprint) เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.รุกธุรกิจดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO หรือ Low Earth Orbit) ดาวเทียมที่โคจรอยู่บนความสูงจากพื้นโลกระหว่าง 350 - 2,000 กิโลเมตร

3.ธุรกิจ New Space Economy ธุรกิจที่มุ่งหาประโยชน์จากการใช้งานดาวเทียมในอวกาศ เช่น ประมวลผลภาพถ่ายจากดาวเทียม วิเคราะห์ข้อมูลดาต้า อนาไลติกส์ จากเทคโนโลยีอวกาศ ทำให้เกิด “บิ๊กดาต้า” ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายกลุ่มอุตสาหกรรม

ดาวเทียมทางลัดลดช่องว่างดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ปฐมภพ มองว่า แม้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ หรือโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5จี จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างการเข้าถึงเทคโนโลยีไอซีที (ดิจิทัล ดีไวด์) แต่มีพื้นที่อีกมากที่ไม่สามารถขยายโครงข่ายไปถึงได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีพื้นที่เป็นภูเขา เกาะแก่ง หรือพื้นที่ห่างไกลจริงๆ เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย หรือแม้แต่บางพื้นที่ในประเทศไทยเอง 

ดังนั้น การสื่อสารผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ LEO หรือแม้แต่วงโคจรประจำที่ GEO จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ การปิดช่องโหว่ที่จะเป็นปัญหาในการพัฒนาองคาพยพประเทศ ที่ต้องขับเคลื่อนตามแผนเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ประโยชน์จากดาวเทียมให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ซึ่งภาคการศึกษา คือ เป้าหมายสำคัญยกระดับการพัฒ เปิดยุทธศาสตร์ใหญ่ ‘ไทยคม’ ชิงขุมทรัพย์ \'New Space Economy\' นาประเทศ

นอกจากนี้ อยากขอให้ภาครัฐ และเอกชนร่วมผลักดันกฎระเบียบภายในประเทศ ที่ยังเป็นข้อจำกัดด้านกิจการอวกาศให้มีความเท่าทันกับเทคโนโลยี จะเป็นปัจจัยช่วยให้การพัฒนาก้าวไปไกลได้อย่างไม่ยาก