"เอไอเอส" ชูอีโคซิสเต็มผสานพลังดัน "เอไอ" ยกระดับบริการลูกค้า

"เอไอเอส" ชูอีโคซิสเต็มผสานพลังดัน "เอไอ" ยกระดับบริการลูกค้า

เอไอเอสมีความตั้งใจจริงที่จะนำมาเอไอช่วยยกระดับการใช้ชีวิตของลูกค้าของเอไอเอส โดยตลอดที่เอไอเอสอยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาตลอด 30 ปี มีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท และยังคงลงทุนเฉลี่ยปีละ 25,000-30,000 ล้านบาทต่อปี

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวในงานสัมมนา AI Revolution AI : เปลี่ยนโลกธุรกิจว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ที่หลายคนพูดกัน เอไอเอสมีความตั้งใจจริงที่จะนำมาช่วยยกระดับการใช้ชีวิตของลูกค้าของ เอไอเอส โดยตลอดที่ เอไอเอส อยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาตลอด 30 ปี มีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท

และยังคงลงทุนเฉลี่ยปีละ 25,000-30,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อนำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาให้บริการแก่ลูกค้า แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจากทั้งสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุนด้านพลังงานจะทำให้อัตราการสร้างกำไรในภาคธุรกิจโทรคมนาคมลดลงอย่างต่อเนื่องโดยในปีที่ผ่านมาอยู่ที่อัตราเพียง 2.7% เท่านั้น

\"เอไอเอส\" ชูอีโคซิสเต็มผสานพลังดัน \"เอไอ\" ยกระดับบริการลูกค้า

เอไอเอสยังโฟกัสอีโคซิสเต็ม
 

ดังนั้น ปัจจัยที่จะช่วยให้ความต้องการในการให้บริการเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดหลายๆด้านคือการนำเอาเอไอเข้ามาปฏิวัติในภาคธุรกิจ โดยเอไอเอสมีความต้องการมุ่งสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ อีโคซิสเต็ม อีโคโนมี ผสานความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมร่วมผู้ประกอบการ พร้อมสร้างศักยภาพของคนไทย ผ่านนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีความอัจฉริยะ บนโครงข่าย 5G และเน็ตบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ 

โดยเอไอเอสตั้งใจส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและคนไทย ผ่าน 3 องค์ประกอบคือ

1.Digital Intelligence  Infrastructure: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอัจฉริยะ จากโครงข่าย 5G และเน็ตบ้าน พร้อม 5G Platform เพื่อภาคอุตสาหกรรม ด้วยการลงทุนในปีนี้ที่ 27,000 - 30,000 ล้านบาท 

2.Cross Industry Collaboration: เชื่อมต่อธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม พร้อมร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 1.8 ล้าน ร้านค้าทั่วประเทศ สร้างการเติบโตไปด้วยกัน พร้อมประโยชน์เพื่อลูกค้า

3.Human Capital & Sustainability: ยกระดับขีดความสามารถของ Digital Talent และคนไทยผ่าน Education Platform รวมถึงส่งเสริมความรู้ทักษะดิจิทัลสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์
 

สร้างบริการเฉพาะบุคคล

ปรัธนา กล่าวอีกว่า วิสัยทัศน์ในการก้าวพาองค์กรจากเดิมที่อยู่เพียงแค่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเปลี่ยนมาเป็น Digital Life Service Provider มาสู่ความเป็น Cognitive Tech-Co หรือองค์กรอัจฉริยะ ปีนี้เราจะเห็นได้ว่ามี 4 แกนหลักประกอบไปด้วยโมบาย ,ฟิกซ์ บรอดแบนด์ ,ลูกค้าองค์กร และบริการด้านดิจิทัล ซึ่งเมื่อรวมกับแนวคิด เศรษฐกิจแบบร่วมกัน ที่ผสานความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมจากผู้ประกอบการผ่านนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีความอัจฉริยะ บนโครงข่าย 5G และเน็ตบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งผลให้เอไอเอส สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดในทุกด้านให้กับลูกค้า ทั้งในแง่เทคโนโลยีและการให้บริการที่เหนือระดับ ภายใต้การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทุกภาคส่วน สอดประสานการทำงานโดยใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาสร้างการเติบโตร่วมกันให้กับลูกค้า คนไทย และประเทศชาติในแบบยั่งยืน 

และเอไอสำหรับเอไอเอสนั้น เราให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบคือ 1.Automation 2.Augmentation และ 3.Acceleration ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทั้งในเรื่องของเน็ตเวิร์คที่ต้องมีความ Interactive หรือสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าตลอดเวลา สามารถสร้างรูปแบบบริการเฉพาะบุคคลแบบ Personalization ของลูกค้าได้อย่างตรงใจ และมีความรวดเร็วสามารถตอบสนองในระดับ Real Time เพื่อให้เท่าทันทุกความต้องการของลูกค้า

ทั้งการใช้เทคโนโลยี Autonomous Network Monitoring เข้ามาการตรวจเช็คปริมาณการใช้งานของลูกค้าแบบ Realtime เพื่อให้สามารถจัดสรร Capacity ของเน็ตเวิร์คให้กับลูกค้าได้แบบอัตโนมัติ หรือแม้แต่งานบริการดูแลลูกค้าแบบ Intelligent Service ที่มีการนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยตรวจสอบ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาอัจฉริยะแบบ Smart Diagnostics เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างสูงสุด