เปิดแผนโต 'เอ็นที' ฉบับ “สรรพชัยย์ หุวะนันทน์” กระชับพื้นที่ ลุยสร้างรายได้

เปิดแผนโต 'เอ็นที' ฉบับ “สรรพชัยย์ หุวะนันทน์” กระชับพื้นที่ ลุยสร้างรายได้

นอกจากดีลใหญ่หลายแสนล้านบาทเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อย่าง ทรู ควบ ดีแทค รวมไปถึงเอไอเอส และ 3บีบี ยังมีดีลประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ คือ การรวม ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม มาเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ที่มีสเกลใหญ่มหาศาลไม่แพ้กัน ..

การควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แม้จะมีดีลใหญ่หลายแสนล้านบาทอย่าง ทรู และ ดีแทค และในอนาคตคือ เอไอเอส และ 3บีบี แต่แท้จริงแล้วการควบรวมระหว่าง ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม มาเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ก็มีสเกลใหญ่มหาศาลไม่แพ้ 2 ดีลข้างต้น

เพราะถือสินทรัพย์ทั้ง คลื่นความถี่ เสา โทรคมนาคม เคเบิ้ลใต้น้ำ ที่ดิน นับล้านล้านบาท แต่บทบาทของ “เอ็นที” ที่ต้องการจะเป็นบริษัทในรูปแบบเอกชน ก็ยังไม่เห็นอะไรเป็นน้ำเป็นเนื้อ และปัญหาชิ้นใหญ่ คือ การรวมรัฐวิสาหกิจและต้องลดทรัพยากรบุคคลที่ยังย้วยและมีมาก “เกิน” ความจำเป็น

หั่นคนครึ่งหนึ่งภายใน 5 ปี

พ.อ. สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที กล่าวว่า รายได้ครึ่งปีแรก 2566 ( ม.ค.-มิ.ย.66) เอ็นทีมีรายได้ 42,447 ล้านบาท รายจ่าย 40,900 ล้านบาท กำไร 1,547 ล้านบาท แต่หากรวมค่าใช้จ่ายโครงการลาออกก่อนเกษียณ ที่มีค่าใข้จ่าย 2,185 ล้านบาท คนสมัครใจลาออก 851 คน ทำให้ครึ่งปีแรกขาดทุน 638 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีจะมีกำไร 1,000-2,000 ล้านบาท หากไม่มีรายการพิเศษเกิดขึ้น เช่น การแพ้คดีความ เป็นต้น

เปิดแผนโต \'เอ็นที\' ฉบับ “สรรพชัยย์ หุวะนันทน์” กระชับพื้นที่ ลุยสร้างรายได้

 

สำหรับรายได้แต่ละบริการแบ่งออกเป็น บริการโครงสร้างพื้นฐาน 4,807 ล้านบาท,บริการระหว่างประเทศ 1,107 ล้านบาท ,บริการโทรศัพท์มือถือ 23,497 แบ่งเป็นรายได้จากพันธมิตร 22,303 ล้านบาท รายได้รีเทล 1,194 ล้านบาท ,บริการบรอดแบนด์ 9,289 ล้านบาท ,บริการดิจิทัล 2,032 ล้านบาท และบริการอื่นๆ 9 ล้านบาท

ทั้งนี้รายได้เอ็นที 50 % มาจากรายได้พันธมิตรผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยแต่ละปีเอ็นทีมีรายได้จากพันธมิตร 50,000 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายจะเหลือกำไร 10,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากคลื่นที่นำมาให้พันธมิตรใช้งานนั้นจะหมดอายุในปี 2568 ทำให้เอ็นทีต้องเร่งหารายได้จากธุรกิจอื่นเพิ่มเติม รวมถึงลดค่าใช้จ่าย และกำลังคน

ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จึงมีแผน 5 ปี (2566-2570) ให้เอ็นทีลดกำลังคนจาก 13,800 คน เหลือประมาณ 7,000 คนภายในปี 2570 นอกจากนี้ เอ็นทีเองก็มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้องค์กรกระชับขึ้น คาดว่าจะเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทภายในเดือน ก.ย.2566 เพื่อประกาศใช้โครงสร้างใหม่ม.ค.2566

ต่อยอดคลาวด์กลางภาครัฐ

ขณะเดียวกัน ยังเร่ง โครงการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ซึ่งเอ็นทีดำเนินการการอย่างต่อเนื่องในการจัดหาทรัพยากรด้านการประมวลผล (Computing Resource) ให้กับภาครัฐในรูปแบบการให้บริการ Cloud Service รองรับหน่วยงานรัฐให้เข้าถึงทรัพยากรด้านคลาวด์มาตรฐานสากล

โดยเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลภาครัฐด้วยเทคโนโลยีใหม่ทันสมัยเป็นการขยาย Capacity รองรับการใช้งานภาครัฐที่มีความต้องการสูงขึ้นทุกปี รวมทั้งได้เพิ่มบริการ Market Place บน GDCC ให้บริการแพลตฟอร์มไอที แอปพลิเคชันใหม่ๆ และเครื่องมือด้านบิ๊กดาต้าสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งพร้อมสนับสนุนรัฐบาลใหม่ที่จะเข้าบริหารประเทศด้วยข้อมูลขนาดใหญ่จากระบบคลาวด์และบิ๊กดาต้า

เร่งเครื่อง 5จีทั้ง2ย่านความถี่

เอ็นทีดำเนินโครงการบริการ 5จี บนคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ โดยใช้ทรัพย์สินที่มีร่วมกันคือ Core Network ซึ่งลดการลงทุนซ้ำซ้อน อีกทั้งเป็นการใช้ 2 คลื่นความถี่ร่วมกันอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการ 5จี เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีสร้างบริการอัจฉริยะต่าง ๆ ได้เกิดประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีการให้บริการใน 2 รูปแบบคือ

บริการ 5จี โซลูชันสำหรับองค์กร ดำเนินการให้บริการในโครงการติดตั้งเทคโนโลยี 5จีสำหรับระบบบริหารเมืองอัจฉริยะ ณ เขตเทศบาลตำบลบ้านฉาง เพื่อให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว อาทิ Mobile Applications สำหรับเทศบาลและประชาชน ระบบฐานข้อมูลเมืองเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลการบริการ ระบบติดตามและตรวจสอบบุคคลสูญหายหรือบุคคลต้องสงสัย ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเมืองเพื่อความปลอดภัย เช่น สถานีตำรวจ ดับเพลิง

บริการ 5จี รีเทลอยู่ระหว่างการทดสอบด้านเทคนิคในการเปิดให้บริการโรมมิ่งรวมทั้งการกำหนดแผนการย้ายลูกค้าและกำหนดโปรโมชันช่วง Soft Launch บน 700 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะคงเป้าหมายลูกค้า 5จีในเฟสแรกราว 3.6 ล้านราย