"ดีอีเอส" ชูกม.ป้องภัยไซเบอร์ อุดช่องโหว่โจรฉกเงินออนไลน์

"ดีอีเอส" ชูกม.ป้องภัยไซเบอร์ อุดช่องโหว่โจรฉกเงินออนไลน์

ลงนามความร่วมมือเห็นชอบกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรา 4 แห่งพรก.ป้องภัยเทคโนโลยี 66 ระหว่าง ระบุพร้อมใช้ระบบกลางแลกเปลี่ยน ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมการเงินที่ต้องสงสัย

นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผย ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยี หลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยี ต่าง ๆ จนทําให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจํานวนมาก และผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้ จากการกระทําความผิดนั้น ผ่านบัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไป เป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออําพรางการกระทําความผิด 

ดีอีเอส ไม่ได้นิ่งนอนใจ และมีการหารือกับภาคสถาบันการเงิน และตํารวจมาโดยตลอด จึงได้มีการจัดทําบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู ว่าด้วยการให้ ความเห็นชอบระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกําหนดมาตรการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ขึ้น ระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ  โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ เพื่อเป็นการกําหนดระบบหรือกระบวนการ เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามที่กําหนด ในมาตรา 4 ของพระราชกําหนดฯ

ทั้งนี้ ในมาตรา 4 ของพระราชกําหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ได้กําหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี และธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจนั้น ผ่านระบบหรือกระบวนการ เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมสอบสวน คดีพิเศษ สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ แบงก์ชาติ เห็นชอบร่วมกัน

“ความร่วมมือของ 5 หน่วยงาน โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ป้องกันปราบปรามแก้ไขปัญหาการถูกหลอกลวงของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สถาบันการเงินได้มีการ พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและจะมีการพัฒนาระบบให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในระยะถัดไป” ปลัดดีอีเอส กล่าว

สําหรับข้อตกลงในการดําเนินการ ได้เห็นชอบร่วมกันในการใช้ระบบกลางดังกล่าวพัฒนาโดย บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จํากัด เป็นระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยน ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างสถาบันการเงินในการทุกธุรกรรมการเงิน ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชกําหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566

โดยระบบดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ระยะในเบื้องต้น โดยเฟสแรกจะรองรับกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีและธุรกรรม ของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างสถาบันการเงินผ่านช่องทาง Shared Drive เพื่อให้สถาบันการเงินปลายทางรับ ข้อมูลไปตรวจสอบและระงับธุรกรรมเป็นทอด ๆ ต่อไป

ส่วนเฟสแรกรองรับกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างสถาบันการเงินผ่านช่องทาง Web Portal โดยระบบจะแจ้งเตือนไปยังสถาบันการเงินปลายทางได้โดย อัตโนมัติ และสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างรายงานเส้นทางการเงินได้ ซึ่งทั้ง 5 หน่วยงานจะร่วมกันติดตาม ความคืบหน้าของผู้พัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์และสามารถ ดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ