ส่องคัมภีร์ ธรรมาภิบาล ฉบับ ‘ทรู’ จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’

ส่องคัมภีร์ ธรรมาภิบาล ฉบับ ‘ทรู’  จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’

ส่องคัมภีร์ ธรรมาภิบาล ฉบับ ‘ทรู’ จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จากผลสำรวจของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจกว่า 97% เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงออกถึงจุดยืนด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมี    ธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบ (integrity) ขององค์กร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท และพนักงานในทุกระดับ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการจัดการความเสี่ยงอย่างทันท่วงทีและร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

ส่อง ธรรมาภิบาลในแบบฉบับของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่เพิ่งเปิดตัว 'Integrity Hotline' หรือ ‘สายด่วนธรรมาภิบาล’ เครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของ ทรู คอร์ปอเรชั่น

สร้างวัฒนธรรมการ Speak Up

การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล นอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรอีกด้วย ทั้งในด้านการรักษาชื่อเสียง การดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปจนถึงการทำให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และสังคมโดยรวม เกิดความไว้วางใจในองค์กรและแบรนด์

ส่องคัมภีร์ ธรรมาภิบาล ฉบับ ‘ทรู’  จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลต้องอาศัยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มข้น โมเดลบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมความเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจ (check and balance) สูงสุด

ภายหลังการรวมธุรกิจ ทรูจึงเพิ่มระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และได้พัฒนา Integrity Hotline เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนความประพฤติหรือการกระทำของพนักงานที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งเปิดให้ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกสามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสได้

ช่องทาง Integrity Hotline นี้เอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติจริงในองค์กร (Governance in action) พร้อมทั้งขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมั่นใจและใช้ช่องทาง ‘speak up’ หรือรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

ส่องคัมภีร์ ธรรมาภิบาล ฉบับ ‘ทรู’  จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’

Whistleblower หยุดยั้งวิกฤต

ก้าวสำคัญสู่การสร้างวัฒนธรรมการ speak up และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น คือการให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือ ‘whistleblower’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยยับยั้งความเสี่ยง และจำกัดความรุนแรงที่อาจลุกลามเป็นวิกฤตได้อย่างทันท่วงที จากเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในตลาดทุนล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของ whistleblower และความสำคัญของการมีช่องทางรายงานการละเมิดธรรมาภิบาลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส

ปัจจุบัน ช่องทาง Integrity Hotline ของทรู มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง EQS Group ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชั้นนำของยุโรป เป็นผู้ให้บริการ ผ่านมาตรฐาน ISO 27001 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส หรือ whistleblower จะไม่ถูกเปิดเผยและได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยตัวตนหรือไม่ และระบบจะไม่เก็บข้อมูลผู้รายงาน ไม่ว่าจะเป็นรหัสพนักงาน รหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส หรืออีเมลก็ตาม

มั่นใจใน 4 ขั้นตอนค้นหาความจริง

ความเชื่อมั่น (trust) ยังถือเป็นแก่นสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมั่นใจได้ ตั้งแต่ระบบต้นทาง กระบวนการ การตีความ ความสมเหตุสมผล ไปจนถึงปัจจัยแวดล้อม ทรูจึงได้กำหนดกรอบการทำงานที่เข้มข้น ชัดเจน เป็นอิสระสูงสุด สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานระดับโลกอย่างดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลผ่าน Integrity Hotline ทรูจะมีการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

  • ขั้นตอนที่ 1 Risk assessment เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานนั้นๆ เพื่อป้องกันการใช้ช่องทาง Integrity Hotline เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง
  • ขั้นตอนที่ 2 Categorization เมื่อประเมินแล้วว่ารายงานที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ทางทีม Investigation จะมีการจัดชั้นความเสี่ยงของรายงานข้อกังวลนั้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อบริหารจัดการตามความเหมาะสม โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตามแต่ละประเภทของความเสี่ยง
  • ขั้นตอนที่ 3 Fact-finding การตรวจสอบข้อเท็จจริง จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการและพิจารณาโดยเฉพาะ และมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยดำเนินงานภายใต้ความอิสระ รวมถึงในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นอิสระมาดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
  • ขั้นตอนที่ 4 Filing report เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานจะส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ DAC (Disciplinary Action Committee) เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาบทลงโทษทางวินัย กรณีที่รายงานข้อกังวลนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายบริษัท