‘พชร อารยะการกุล’ ปักธง ‘บลูบิค’ เปลี่ยนธุรกิจสู่ ‘โลกดิจิทัล’

‘พชร อารยะการกุล’ ปักธง ‘บลูบิค’ เปลี่ยนธุรกิจสู่ ‘โลกดิจิทัล’

รายการ SUITS ถอดสูตรความสำเร็จฉบับ CEO ของ “กรุงเทพธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “พชร อารยะการกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บลูบิค นักบริหารรุ่นใหม่ไฟแรง กับก้าวที่กล้าดึง “ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น” สร้างสู่ธุรกิจที่ปรึกษาดิจิทัลครบวงจร

รายการ SUITS ถอดสูตรความสำเร็จฉบับ CEO ของ “กรุงเทพธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “พชร อารยะการกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บลูบิค นักบริหารรุ่นใหม่ไฟแรง กับก้าวที่กล้าดึง “ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น” สร้างสู่ธุรกิจที่ปรึกษาดิจิทัลครบวงจร เดินหน้าสร้างขุมกำลัง คิดใหญ่ ดันธุรกิจสู่ระดับสากล จนวันนี้องค์กรใหญ่ระดับชาติที่ต้องการยกระดับธุรกิจสู่ดิจิทัลต่างก็พูดถึง ‘บลูบิค’

“ตลาดดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นตลาดที่เติบโตมาก แต่ผู้เล่นในตลาดเบอร์ 1 เป็นบริษัทต่างชาติ เราเห็น ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็น strategy ของทุกบริษัทเลย market size ของประเทศไทยอาจจะเล็ก เราคงไม่ได้แข่งแค่ในประเทศไทย เรากำลังแข่งในตลาดสากล”

 

“พชร” เล่าถึงแลนด์สเคปของ “ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น” ที่วันนี้องค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต่างบรรจุเรื่องนี้ลงในแผนธุรกิจ และเมื่อดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำได้เสร็จภายในวันเดียว “โอกาส” ของตลาดนี้จึงยังมีอีกมหาศาล ไม่เฉพาะแค่ในประเทศไทย แต่บลูบิคกำลังมองยาวไปถึงระดับโลก

ก้าวแรกของ บลูบิค ในบลูโอเชี่ยน

คำว่า “บลูบิค” ที่มา คือ การไปเจาะตลาด บลู โอเชี่ยน และใช้การแก้ปัญหาเหมือนรูบิค แน่นอนว่า “บลู โอเชี่ยน” ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสเป็นอย่างมาก .. และนี่คือจุดเริ่มต้น

 

“จุดเริ่มต้นเลย ผมกับเพื่อนสนิทคิด อยากทำสตาร์ทอัพ ย้อนไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ผมทำงานในบริษัท BCG Consulting Group เพื่อนผมอยู่ PWC เพื่อนเป็นขาเทคโนโลยีมากๆ ส่วนผมก็เป็นเทคโนโลย แต่มาทาง strategy เรามองเรื่องตลาดสตาร์ทอัพช่วงนั้นกำลังบูม เห็นเมืองนอกเติบโตกันมาก เลยมีไอเดียอยากทำสตาร์ทอัพในไทย แต่ก็ยังไม่รู้สึกอินเลิฟ 100%  ช่วงนั้นได้เห็นเทรนด์หนึ่งของโลก คือ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว จริงๆ คำนี้มีมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว เห็นคำนี้เยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนที่ทำ strategy consulting ก็เห็นคำนี้เยอะมาก

เราเห็นคำว่า ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น อยู่ในแผน strategy ของทุกบริษัทเลย จนทำให้เริ่มสงสัยว่า ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งสิ่งที่เราค้นพบ คือมันจะทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้ สามารถสร้างผลกำไรได้ เป็นสิ่งที่เป็นอนาคตของทุกๆ บริษัท ซึ่งก็ทำได้ไม่ง่าย เพราะไม่ใช่เแค่เรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียว มันเป็นเรื่อง Business ด้วย เป็นการ combination ที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ ผมก็ตื่นเต้นมาก ก็คุยกับทางเพื่อนผม ว่าจริงๆ แล้วเราน่าจะทำเรื่องของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ผมก็ถนัดฝั่งธุรกิจ ส่วนเพื่อนผมก็ถนัดเรื่อง เทค ถ้าเอามารวมกัน เป็นบริษัทที่ทำเรื่องนี้ได้ดี น่าจะช่วยให้องค์กร ในประเทศไทยสามารถที่จะพัฒนา ต่อไปได้เยอะ”

พชร เล่าว่า เขาเองค่อนข้างโชคดี ได้เรียนด้านเอ็มบีเอ ที่ Kellogg School of Management ที่ สหรัฐอเมริกาเรียนรู้เรื่องธุรกิจกับโปรเฟสเซอร์ดังๆ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งเพื่อนร่วมคลาส หลายๆ คนก็ทำธุรกิจในหลายฟังก์ชั่นทั้ง Investment banker สตาร์ทอัพ ฯลฯ เรียกว่า ได้ไปเรียนรู้เรื่องราวธุรกิจในหนึ่งสถาบันที่ดีที่สุดของโลก

เมื่อถามถึงงานแรกของ “บลูบิค” ตั้งแต่ day one คือ งานด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ไปรีวิวเรื่อง security ของ infrastructure ในองค์กร ตอนนั้นเป็น stage แรกที่เน้นเรื่องเทค เรื่องอิมพลีเมนเทชั่น หลังจากนั้น บลูบิค ก็ปรับเปลี่ยนมาสู่การเป็น consult หรือที่ปรึกษามากขึ้น เริ่มให้แนะนำเรื่องของ best practice ของเทคโนโลยี เรื่องของภาคธุรกิจ เรื่องของ Business Model

“ตอนนั้น เริ่มมีงาน new business strategy เช่น เวลามีธุรกิจใหญ่ๆ ที่ต้องการสร้าง ดิจิทัล บิซิเนสขึ้นมา อาจเป็นหน่วยงานเล็ก แต่เขาอยากให้มันโตจนกระทั่งสามารถทำรายได้หลักได้ เขาจะต้องมีแผนอย่างไร จะทำธุรกิจอะไร ใช้ความได้เปรียบจากธุรกิจเก่าอย่างไร จะอิมพลีเม้นท์เทคอย่างไร งานของบลูบิคก็จะขยับมาตรงนี้ จนปัจจุบัน บลูบิค ทำตั้งแต่ strategy อิมพลีเม้นเทชั่น มีคนเป็นร้อยๆ คน กลายเป็นที่ปรึกษาด้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร”

ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ของบลูบิค เป็นองค์กรขนาดใหญ่ อยู่ใน set 50 set100 ในต่างประเทศก็จะเป็นบริษัทข้ามชาติ

“วันนี้ บลูบิคมีคน 350 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในฝั่งเทค คือ มากกว่าครึ่ง 60-70% ส่วนที่เหลือ จะเป็น strategist เป็น consultant เป็นนักคิด นักวางแผน นักวิเคราะห์ ก็จะมีประมาณ 30% หรือ 1 ใน 3 แต่ก็มีบุคลากรในไทย และต่างประเทศ เรามีออฟฟิศอยู่ในหลายประเทศ มีที่ต่างประเทศ 10% ที่เหลือ ก็เป็นในไทย วันนี้บลูบิคมีลูกค้า ที่ทำรายได้ให้เรา 15-20% ที่เป็นต่างชาติ แต่ทีมแค่ 10% เท่านั้นที่เป็นต่างชาติ เราจะมีการ mix คนไทยกับต่างชาติในการทำงานร่วมกัน”

เปิดทางร่วมมือกับพาร์ทเนอร์

จากอัตราเติบโตที่แข็งแกร่ง และทำกำไรได้จากการขาย การบริการ ก้าวต่อไปของ  “บลูบิค” พร้อมเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม พร้อมช่วยยกระดับขีดความสามารถแข่งขัน และปลดล็อกศักยภาพทางธุรกิจให้ องค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน สู่ยุคดิจิทัล และสร้างการเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด และมุ่งสู่เป้าหมายองค์กรในตลาดอาเซียนที่กำลังเนื้อหอม เป็นขุมทรัพย์ใหม่ของการลงทุนของทั่วโลก และไปยังระดับโกลบอล เพื่อรองรับความต้องการในการออกแบบนวัตกรรม เพื่อนำเสนอ โซลูชั่น ด้านเทคโนโลยี

“อย่างในไทยที่จะเป็นลูกค้าของบลูบิค ต้องบอกว่า บริษัทในแต่ละอินดัสทรี ปรับตัวไปไม่เท่ากัน บางอินดัสทรี ก็มีการปรับไปได้เยอะ อย่างการเงิน อย่างตอนนี้ที่เราเห็นเขาปรับตัวเยอะ คือ ธุรกิจรีเทล ค้าปลีกปรับตัวเยอะมาก อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน มีความเป็นไฮบริด มีการใช้งานทั้งแบบ ออนพรีมิส ออไลน์ด้วย หรือ โมเดลเดิลิเวอรี่ เราจะเห็นว่ามันมี ลักษณะแบบนี้เยอะขึ้น แต่ก็ยังมีหลายอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว เช่น แมนูเฟคเจอริ่ง การผลิต เราเริ่มเหห็นว่าเริ่มตะหนัก แต่ยังไมได้ทำอะไรเยอะมาก”

ทั้งหมดนี้ จะเห็นว่า อินดัสทรีที่แอดวานซ์ที่สุด ก็ยังมีโอกาสที่จะทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อีกเยอะเลย เพราะคำว่าดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ไม่ได้แค่ทำครั้งเดียวจบ มันเป็นการ on going ไปเรื่อยๆ ทรานส์ฟอร์มไป ตามสิ่งที่มันเปลี่ยน เพราะตอนนี้โลกเปลี่ยนไปข้างหน้าตลอด

ขณะที่ ฝั่งธุรกิจก็เช่นกัน พอมีการแข่งขัน ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องหาสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ๆ ถ้าเราแข่งอยู่ในภาพเดิมๆ พายไซส์มันมีจำกัด หลายธุรกิจจึงต้องออกสำรวจธุรกิจใหม่ๆ โดยใช้เรื่องดิจิทัลเป็นหัวหอก นี่ก็เป็นโอกาสของบลูบิคเช่นก

“ทุกเซกเมนต์ เวลาที่เราทำ วางแผนเรื่อง strategy ต้องมีการวิเคราะห์ คำนวณ ประมาณการณ์ ไม่งั้นจะเหมือน เราหลับตาแล้ว ขวางลูกดอกไป ไม่รู้จะโดนเป้าหรือเปล่าแต่อย่างน้อยถ้ามีการ shape เรื่องความคิด หรือ แผน กลยุทธ์ไว้บ้าง ว่าผลลัพธ์ที่เราคาดหวัง คืออะไร มากจากส่วนไหน เงินลงทุน คำนวณว่าเราต้องลงทุนตามแผน อย่างไร พอมาเทียบแล้ว มันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือเปล่า ถ้าเราคำนวณขึ้นมาได้ อย่างน้อยสิ่งที่เราโอเปอเรทไปจริงๆ มันเกิดปัญหาเรายังรู้ ว่าผิดที่จุดไหน เราก็ปรับตัวได้”

เปิด 2 ดีลใหญ่ เสริมแกร่ง

ล่าสุด บลูบิค ปิด 2 ดีลใหญ่ ที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับบลูบิคได้อีกหลายเท่าตัว

“ดีลแรกเราทำ M&A คือไปซื้อบริษัทเข้ามาเพิ่มอีก 2 บริษัท บริษัทแรก เป็นหน่วยธุรกิจของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอที บริษัท MFEC จดทะเบียนในตลาดฯ เขามี หน่วยธุรกิจที่ชื่อว่า ดิจิทัล ดิลิเวอรี่ ทำซอฟต์แวร์ดีเวลอปเม้นท์ แอพพลิเคชั่น ให้กับลูกค้าองค์กรที่เป็นเอ็นเตอร์ไพร์ส ซึ่งตรงนี้เป็น capability ที่เราต้องขยาย ก็ไปขอซื้อหน่วยธุรกิจนี้มา 100% ย้ายพนักงาน ลูกค้า เข้ามาตั้งบริษัทใหม่ มีพนักงานเข้ามาเพิ่มอีก 300 กว่าคน เข้ามาเสริมทัพ กับทางของบลูบิค ให้เราได้ exacute งานฝั่งดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นได้มากขึ้น”

ส่วนดีลที่ 2 ที่บลูบิคได้มาก คือ การซื้อบริษัท อินโนวิซ โซลูชั่น เป็นบริษัทที่อิมพลีเม้นท์ระบบอีอาร์พีของไมโครซอฟท์ ชื่อ ไมโครซอฟท์ ไดนามิก อีอารพี ระบบนี้ถือเป็นกระดูกสันหลังขององค์กร เป็นหลังบ้าน บริหารบัญชีทุกองค์กรต้องใช้ มีลูกค้าตั้งแต่ เอ็นเตอร์ไพร์ส ไปจนถึง บิ๊กคอร์ป

"อินโนวิซ เป็นระบบเบอร์ 1 ในการอิมพลีเม้นท์ระบบไมโครซอฟท์ ไดนามิก ซึ่งเราสนใจและเชื่อว่า จะมี synergy กับธุรกิจบลูบิคในปัจจุบัน เลยตัดสินใจเข้า เทคโอเวอร์ 100% ก็จะเป็นการทยอยซื้อ 55% อีก 30% 15% จนครบ ซึ่งอินโนวิซจะเข้มแข็งมากในส่วน เซกเมนท์บริษัทไซส์ขนาดกลาง ซึ่งเรายังทำน้อย ก็เป็นจุดเริ่มต้นขยายฐานลูกค้าไปของเรา”

ตลาดดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นตลาดที่เติบโตมาก แต่ผู้เล่นเบอร์ 1 ตอนนี้เป็นต่างชาติ แต่ขณะที่บริษัทไทยด้วยสเกล ยังไม่สามารถแข่งกับต่างชาติได้ ดังนั้นสิ่งบลูบิคขาด คือ การมีทีมที่มีประสบการณ์มาอยู่รวมกัน บลูบิค มีความเป็น คอนซัลติ้ง เฟิร์ม MFEC มาในแนวของการเป็น ดิจิทัล ดิลิเวอรี่ เมื่อมา synergy กัน ทำให้บลูบิค แทบจะ double capacity โอกาสเติบโตได้เป็นเท่าตัว

อย่างไรก็ตาม บลูบิค วางแผนเข้าตลาด set ภายใน 3 ปีนี้ ขณะที่ มองว่าตลาด mai เป็นตลาดที่ดีมาก สปริงบอร์ดให้ธุรกิจเติบโต ขณะที่ หลัง 3 ปีจากนี้ เป็นไปได้ที่ บลูบิคจะมองลูกค้าในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย

“บลูบิคไม่อยากเป็นแค่เซอร์วิส โพรวายเดอร์ เรามองว่า ท้ายที่สุดธงของเรา ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์ที่แท้จริง เราอยากร่วมลงทุนกับลูกค้าเป็นคนที่ช่วยเขาในการทำให้ธุรกิจเขาเติบโต และก็ร่วมได้ ร่วมเสียไปกับเขา”

Pain point

เมื่อถามถึง Painpoint ที่ยังตราตรึงอยู่ในใจของ “พชร” บอกว่า คงเป็นช่วงแรกที่ก่อตั้งบลูบิค เป็นช่วงที่ยากลำบาก บริษัทเป็น Consulting Firm สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความเชื่อใจ และแบรนด์ ท่ามกลางที่ตลาดในไทยยังนิยมใช้ Consulting Firm ต่างชาติ

"ช่วงแรกการที่บริษัทยังไม่เป็นที่รู้จัก การที่เราไปเสนองานกับลูกค้า เขาจะไม่ให้ความไว้วางใจ ช่วงแรกลำบากมากที่สุด ในช่วง 5-6 ปีหลัง เราพยายามมาก ในการ over deliver คือ ต้องทุ่มมากกว่าที่เขาหวังก่อน บางงานเราไปทำงาน เราแทบไม่ได้กำไรเลย แต่เราหวังให้เขาเชื่อใจให้ได้ ซึ่งเราก็ต้องเลือกลงทุนกับลูกค้าที่ดี ที่พร้อมจะตอบแทนเรากลับมาในวันที่เขาเชื่อใจเรา มันเป็นสิ่งที่ตรึงใจเราว่า เรื่องของแบรนด์สำคัญจริงๆ”