ติดอาวุธให้แบรนด์ พุ่งแรงหลังวิกฤติโควิด-19

ติดอาวุธให้แบรนด์ พุ่งแรงหลังวิกฤติโควิด-19

2023 Hand Book จาก MI GROUP รวบรวมเทรนด์และพฤติกรรมต้องรู้ของคนไทยที่กำลังเปลี่ยนไปหลังจากยุควิกฤติโควิด19

หลังต้องเจอกับวิกฤติโควิด-19 นักการตลาด นักสื่อสาร และเอสเอ็มอี ต่างประสบปัญหาในการผลักดันธุรกิจของตัวเอง

MI Group เอเยนซี่ ที่ให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารการตลาด รายงานว่า ขณะนี้เป็นที่ตระหนักดีว่า "ข้อมูล" เป็นอาวุธสำคัญที่ใช้ในการสร้างกลไกช่วงชิงความได้เปรียบให้ธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้อย่างแข็งแรงในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

คู่มือฝ่าวิกฤติโควิด-19  “2023 Hand Book: Post-Pandemic Study ต้องรู้ทลายวิกฤติโควิดเพื่อชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ” เผยเทรนด์ที่น่าสนใจโดยระบุว่า

ต้องรู้ : เทรนด์การเสพสื่อของคนไทย

ภาพรวมสื่อในไทยในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา เมื่อผู้บริโภคเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติมากขึ้น 3 สื่อหลักที่มีอิทธิพลต่อคนไทย คือ สื่อโทรทัศน์ ที่เข้าถึง 75% ของประชาการในประเทศไทย สื่อออนไลน์ 80%  และสื่อนอกบ้าน 35% ตามลำดับ

ขณะเดียวกัน ได้เห็นถึงสัญญาณบวก ของเม็ดเงินโฆษณา โดยมูลค่ารวมการใช้สื่อจนถึงสิ้นปี 2022 คาดว่าจะจบที่ 82,300 ล้านบาท เทียบแล้ว เติบโตขึ้นประมาณ 8.1% และประเมินว่าจะเติบโตต่อเนื่องอีกประมาณ 4.2% ในปี 2023

ในส่วนของสื่อดิจิทัลเราจะเห็นการเติบโตมาตลอดโดยเฉพาะช่วงโควิด-19 โดย 3 ตัวเลือกที่นักการตลาดนิยมใช้มากสุด คือ Meta 33%  YouTube 15% และ Online VDO 10% ติดอาวุธให้แบรนด์ พุ่งแรงหลังวิกฤติโควิด-19

ต้องรู้ : 4 พฤติกรรมและวิถีชีวิตใหม่หลังวิกฤติโรคระบาด

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้บริโภค โดย 4 พฤติกรรมต่อไปนี้เป็นพฤติกรรมที่ยังคงส่งผลต่อความคิด ทัศนคติ รวมถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

  • ชีวิตที่มีสมดุลและสุขภาวะที่ดี (Well-Balanced & Wellness)
  • พฤติกรรมไร้สัมผัส (Contactless)
  • ผู้สูงวัยดิจิทัล (Senior Go Digital)
  • ความโหยหาถึงอดีต (Nostalgia)

ต้องรู้ : หัวใจสำคัญ 4 ข้อ ที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญในปีนี้และปีต่อๆไป

  • 1. Phygital Marketing โลกยุคหลังโควิด-19 ผู้คนต่างโหยหาการปฏิสัมพันธ์กับคนผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

โดยเฉพาะประสบการณ์จริงในการซื้อของ หรือที่เราเรียกว่า REAL-LIFE Shopping Experience คำว่า Phygital จึงเกิดขึ้นเพื่่อสร้างสะพานเชื่อมโลกจริง (Physical) และ โลกเสมือน (Digital) เข้าไว้ด้วยกัน

  • 2. Influencer Marketing รูปแบบการตลาดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะ KOL (Key Opinion Leaders) ไม่ว่าคนธรรมดาที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือคนที่มีคนรู้จักติดตามในวงกว้าง ก็สามารถมีอิทธิพลกับผู้คนทั้งในเรื่องความเชื่อ ความชอบ และความผูกพันในหลายมิติ
  • 3. ROAS (Return on Ad Spend) การประเมินประสิทธิภาพของแคมเปญผ่าน ROAS (Return On Ad Spend) ถูกนำมาใช้การตลาดยุคนี้ นอกจาก E-commerce แล้ว สื่่อแบบดั้งเดิมก็วัด ROAS ได้เช่นกัน
  • 4. Real Brand Experience เมื่อผู้คนกลับมาใช้ชีวิตกันอย่างปกติ แบรนด์เองก็ต้องกลับมาสร้างประสบการณ์จริงกับผู้บริโภคเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่งผลต่อการออกแบบกิจกรรมทางการตลาดในทุกมิติ ต้องศึกษาและปรับกุลยุทธ์และวิธีการในตามยุคสมัยและพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ได้

ต้องรู้ : โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับนักการตลาด

การขยายน่านน้ำสู่ตลาด CLMV ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศ กัมพูชา (Cambodia) สปป.ลาว (Lao PDR) เมียนมา (Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam) เป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ไทยต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

กลุ่มประเทศ CLMV มีกำลังซื้อมหาศาลด้วยจำนวนประชากรการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงโควิด รวมทั้งผู้บริโภคมีวัฒนธรรมและรสนิยมคล้ายกัน

ส่วนของการใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ครอบคลุมและเอื้อต่อการทำการตลาด ฉะนั้นประเทศไทยจึงได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางภูมิภาคที่สำคัญ สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับทั้งด้านคุณภาพและความน่าเชื่อถือ เพียงเริ่มมองตลาดเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV ก็จะสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายได้เพิ่มถึง 178 ล้านคน

สุดท้ายนี้ หลังจาก 3 ปีที่ต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด ซึ่งทำให้เราต้องกักตัว ลดการเดินทาง และเว้นระยะทางสังคม ปีนี้หวังว่าทุกคนจะได้กลับสู่วิถีชีวิตเดิมที่เคยเป็นก่อนที่จะรู้จักกับ Covid-19

คู่มือดังกล่าวได้รวมประเด็นสำคัญและสัญญาณบวกลบของอุตสาหกรรมสื่อที่ส่งผลต่อการตลาด, เทรนด์การเสพสื่อ, ภาพรวมสื่อในไทยที่ผู้บริโภคให้ความนิยมรวมไปถึงจำนวนผู้ใช้งานโซเชี่ยลในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้และข้อมูล เป็นการติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการรวมไปถึงผู้บริโภค ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตัวเอง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคหลัง Covid-19

สำหรับใครที่สนใจฉบับเต็ม สามารถติดต่อขอรับได้ที่ linkในโพสต์  https://www.facebook.com/migroup.agency