ยุทธศาสตร์ EduTech “เลอโนโว” พลิกโฉม “การศึกษา” ยุคไฮบริด

ยุทธศาสตร์ EduTech “เลอโนโว” พลิกโฉม “การศึกษา” ยุคไฮบริด

โลกที่ถูกดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัป “การศึกษา” เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกท้าทายอย่างหนัก จากทั้งการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค การเรียนรู้ยุคใหม่ และแน่นอนปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันหนีไม่พ้นการมาของโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ข้อมูลจาก “เลอโนโว” รายงานว่า การระบาดของโควิด-19 ระยะเวลาเกือบสองปีส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการศึกษา ซึ่งเหตุนี้เองทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอนมากขึ้น ก่อเกิดให้เป็นการเรียนการสอนในรูปแบบไฮบริด แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมายเช่นกัน

เกิดคำถามคือ “การที่จะสามารถเข้าถึงประโยชน์อันสูงสุดจากการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนนั้นต้องทำอย่างไร และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมจริงหรือ?”

ประเด็นนี้ หากในทางทฤษฎีแล้ว การเรียนออนไลน์ ดูเหมือนว่าจะเป็นความก้าวหน้าที่ดี เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องของการเรียนการสอนที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลมากขึ้น อีกทางหนึ่งยังช่วยประหยัดเวลาของผู้สอน

ทว่าในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะในขณะที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยในด้านการเรียนการสอน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ยังมีผู้สอนและนักเรียนที่ประสบปัญหาผ่านการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึง การมีปฎิสัมพันธ์ การดึงดูดความสนใจ และการมีส่วนร่วม ที่ดูเหมือนจะทำได้ไม่เท่าการเรียนรู้ที่อยู่ในชั้นเรียน

  • หนีไม่พ้น “ปัญหาทางเทคนิค” 

ที่ผ่านมา เมื่อนักเรียนประสบกับปัญหาความขัดข้องระหว่างการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ระหว่างที่ผู้สอนพยายามแก้ไขสิ่งเหล่านั้น นักเรียนมักถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากการเรียน และเริ่มมองหาความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ซึ่งในขณะนั้นอาจไม่สะดวกหรืออยู่ระหว่างการทำงาน สุดท้ายกว่าจะแก้ปัญหาได้เวลาที่ผู้สอนควรจะใช้ในการสอนหรือการเรียนรู้ก็ได้หมดไป

จากการศึกษาของ “เลอโนโว” และ “ไมโครซอฟท์” พบว่า ผู้สอนจำนวน 3 ใน 4 พบปัญหาในการดึงดูดความสนใจของนักเรียนระหว่างการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และนักเรียนมากกว่าครึ่งลงความเห็นว่า เมื่อเรียนจากที่บ้านความสนใจที่จะจดจ่ออยู่กับเนื้อหาการเรียนถูกเบี่ยงเบนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ 46% กล่าวว่า การขาดการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง 

ความท้าทายนี้ยังคงขยายไปสู่ปัญหาทางเทคนิค ที่ทั้งนักเรียนและผู้สอนต้องพบเจอ และที่แย่ไปกว่านั้นคือ พวกเขาไม่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง” 

โดยนักเรียนมากกว่าครึ่ง มีแนวโน้มที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมชั้น หรือแม้กระทั่งสมาชิกในครอบครัว แทนที่จะขอความช่วยเหลือจากทีมเทคนิค หรือผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะของโรงเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รวมกันเป็นปัญหาที่ผู้เรียน ผู้สอน ต้องพบเจอในการเรียนการสอนแบบออนไลน์

ยุทธศาสตร์ EduTech “เลอโนโว” พลิกโฉม “การศึกษา” ยุคไฮบริด

  • ทรานส์ฟอร์มสู่ “EduTech”

สำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน และทรานส์ฟอร์มไปสู่ “EduTech” เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยี โดยหันมาใช้อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนแบบไฮบริดโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนการสอนที่เสมือนอยู่ในชั้นเรียนจริง

ที่สำคัญต้องคำนึงถึงความต้องการที่แตกต่างในแต่ละชั้นเรียน การปรับใช้อุปกรณ์ไอทีรวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา ทำให้ใช้เวลาน้อยลงในการแก้ไขปัญหาและมีเวลาให้กับการศึกษาของนักเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานและบริการจากผู้ให้บริการที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้สอนให้ได้อย่างเหมาะสม 

หากการที่นักเรียนถูกเบี่ยงเบนความสนใจระหว่างการเรียนเป็นเรื่องที่น่ากังวล กลุ่มผลิตภัณฑ์ Lenovo SmarterEd สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยอุปกรณ์ headset อย่าง VR Classroom 2 จะช่วยให้ครูผู้สอนและผู้ดูแลระบบสามารถผสานบทเรียนเสมือนจริงเข้ากับหลักสูตรผ่านการผสานฮาร์ดแวร์ควบคู่ไปกับเนื้อหา การฝึกอบรม และการออกแบบที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก 

ยุทธศาสตร์ EduTech “เลอโนโว” พลิกโฉม “การศึกษา” ยุคไฮบริด

นอกจากนี้ Lenovo Hybrid Classroom solutions นำเสนอระบบ all-in-one smart collaboration ซึ่งทำให้นักเรียนและนักศึกษา เข้าถึงและมีปฎิสัมพันธ์กับครูผู้สอนและบทเรียนได้ไม่ต่างจากการอยู่ในชั้นเรียน ผ่านตัวช่วยอย่าง Microsoft Teams Room ที่ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอน มองเห็น ได้ยิน และมีส่วนร่วมกันได้อย่างเต็มรูปแบบจากทุกที่

  • ตอบโจทย์การเรียนแบบ “ไฮบริด”

สำหรับนักเรียน นักศึกษา หรือแม้กระทั่งผู้ปกครองที่ต้องการความช่วยเหลือด้านเทคนิค เลอโนโว ยังมีบริการ Lenovo Device as a Service (DaaS)  ที่คอยช่วยให้คำปรึกษาปัญหาด้านเทคนิค ด้วยโปรแกรมช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ครอบคลุมทั้งในและนอกโรงเรียน

การที่โรงเรียนให้การสนับสนุนที่ตรงจุดและจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการของครูผู้สอน จะเป็นการเพิ่มเวลาของผู้สอนให้สามารถมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายหลักของพวกเขา ซึ่งก็คือการสอนได้

ขณะเดียวกัน โรงเรียนก็ควรที่จะอบรมผู้ปกครองในเรื่องของทักษะและความรู้ด้านไอทีที่เป็นพื้นฐาน เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือบุตรหลานได้ในระหว่างการเรียนการสอน ขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่อีกหนึ่งปีที่การเรียนการสอนรูปแบบไฮบริดกลายมาเป็นการเรียนการสอนหลักของยุคสมัย เป็นเรื่องสำคัญที่พันธกิจของโรงเรียนไม่เพียงแค่สนับสนุนนักเรียน แต่ยังรวมไปถึงผู้สอน และผู้ปกครอง

นับว่าเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบไฮบริดและการช่วยเหลือด้านไอที เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ และโรงเรียนจะเป็นสถานที่ที่สามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี พร้อมจัดเตรียมนักเรียนอย่างเหมาะสมสำหรับอนาคตของพวกเขาได้

ยุทธศาสตร์ EduTech “เลอโนโว” พลิกโฉม “การศึกษา” ยุคไฮบริด