สดร. เผยภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565

สดร. เผยภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565

สดร. เผยภาพเปรียบเทียบ"ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565 จะเห็นความแตกต่างของขนาดปรากฏได้อย่างชัดเจน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงในคืนไกลโลกที่สุดในรอบปี วันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นคืนที่ "ดวงจันทร์เต็มดวง" โคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี

ห่างจากโลกประมาณ 401,011 กิโลเมตร จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า “ไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon) เมื่อนำภาพถ่ายของดวงจันทร์ในคืนดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายของดวงจันทร์ในช่วงใกล้โลกที่สุดในรอบปี จะเห็นความแตกต่างของขนาดปรากฏได้อย่างชัดเจน

สดร. เผยภาพ \"ไมโครฟูลมูน\" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สำหรับ "ดวงจันทร์เต็มดวง" ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2565 จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ที่ระยะห่างจากโลก 357,411 กิโลเมตร วันดังกล่าวจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย มารอติดตามชมกันต่อไป 

สดร. เผยภาพ \"ไมโครฟูลมูน\" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565

ทั้งนี้ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลก และไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร

สดร. เผยภาพ \"ไมโครฟูลมูน\" ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี 2565

 

ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ