AWN จ่ายค่าประมูลคลื่น 1800 MHz งวดสุดท้ายแล้ว!! 3,346.69 ล้านบาท

AWN จ่ายค่าประมูลคลื่น 1800 MHz งวดสุดท้ายแล้ว!! 3,346.69 ล้านบาท

สำนักงาน กสทช. รับเงินประมูลคลื่น 1800 ของ AWN ในราคาประมูลสูงสุด 12,511 ล้านบาท โดยชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้าย จำนวน 3,346.69 ล้านบาท

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (11 ต.ค. 2564) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด (AWN) ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800  MHz ชุดที่ 1 ช่วงความถี่ 1740-1745 MHz คู่กับ 1835-1840 MHz เมื่อปี 2561 ในราคาประมูลสูงสุด 12,511 ล้านบาท ได้นำเงินค่าประมูลงวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้าย จำนวน 3,346.69 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) มาชำระให้กับสำนักงาน กสทช. แล้ว ตามเงื่อนไขของการชำระเงินประมูล 

โดยเงินค่าประมูลดังกล่าว สำนักงาน กสทช. จะรีบนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป

สำหรับเงินค่าประมูลงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ที่ AWN ได้ชำระมาก่อนหน้านี้ จำนวน 10,040.08 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) สำนักงาน กสทช. ได้นำส่งเงินดังกล่าวให้กระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว

AWN จ่ายค่าประมูลคลื่น 1800 MHz งวดสุดท้ายแล้ว!! 3,346.69 ล้านบาท

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 1800  MHz  ในมูลค่ารวม 12,511,000,000 บาท เป็นตัวแทนชำระเงินค่าคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz  งวดที่ 3 งวดสุดท้าย จำนวน 3,346,692,500 บาท (สามพันสามร้อยสี่สิบหกล้านหกแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดินในการพัฒนาประเทศต่อไป 

AWN จ่ายค่าประมูลคลื่น 1800 MHz งวดสุดท้ายแล้ว!! 3,346.69 ล้านบาท
นายสมชัย กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 31 ปีของ AIS เราได้มีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงและติดอาวุธดิจิทัลให้กับประเทศ ด้วยเม็ดเงินกว่า 500,000 ล้านบาทในการพัฒนา Digital Infrastructure และอีกกว่า 200,000 ล้านบาท สำหรับค่าใบอนุญาต รวมไปถึงการสร้างบุคลากรด้านดิจิทัล ทั้งในส่วนของพนักงานเอไอเอสเอง และผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ และท้ายที่สุดคือ ร่วมปลดล็อคการเข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มด้วยเทคโนโลยี 5G ที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมประเทศชั้นนำของโลก"
 

ดังนั้น ในฐานะที่ประเทศไทย มีจุดได้เปรียบอยู่ที่ศักยภาพของคน และ โครงสร้างพื้นฐานอย่าง 5G ที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ การนำศักยภาพทั้งหมดมาเสริมความเข้มแข็งของประเทศได้อย่างดีที่สุด ซึ่งต้องมีการร่วมมือกันจาก 3 ภาคส่วน เริ่มจากภาคประชาชนที่ต้องมีความพร้อมที่จะปรับตัวรับมือกับการใช้ Digital ให้เกิดประโยชน์กับการใช้ชีวิตในทุกแง่มุม

ต่อมาคือความแข็งแกร่งของภาครัฐที่มีทรัพยากรในมือมหาศาล เช่น กสทช. ที่ได้บริหารจัดการนโยบายการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผสานเข้ากับ ภาคเอกชน ทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้ประกอบการทุกกลุ่มใน Digital Ecosystem ที่ต่างเดินหน้าทำงาน และลงทุนต่อเนื่อง เพื่อสร้าง Digital Infrastructure และให้บริการลูกค้าอย่างดีที่สุด

"ผมเชื่อมั่นว่า ประเทศไทย จะเป็นศูนย์รวมของอุตสาหกรรมดิจิทัลและเติบโต พร้อมรับมือกับความท้าทายจากสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างแน่นอน" นายสมชัย กล่าว