กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ : ตลาดคาร์บอนเครดิตในเทรนด์ธุรกิจโลก

กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ : ตลาดคาร์บอนเครดิตในเทรนด์ธุรกิจโลก

เสวนาหัวข้อ CARBON CREDIT : ลดต้นทุน หมุนไปสิ่งแวดล้อม ฉายภาพตลาดคาร์บอนเครดิตในเทรนด์โลกและแรงจูงใจที่ทำให้ภาคธุรกิจหันมาสนใจในธุรกิจซื้อขายคาร์บอน

ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายด้านภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมเป็นวิทยากรการเสวนาหัวข้อ CARBON CREDIT : ลดต้นทุน หมุนไปสิ่งแวดล้อม ในงานสัมมนารูปแบบ Virtual Seminar เรื่อง GO GREEN เมกะเทรนด์เพื่อโลกสีเขียว จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงตลาดคาร์บอนเครดิตในเทรนด์โลกและแรงจูงใจที่ทำให้ภาคธุรกิจหันมาสนใจในธุรกิจซื้อขายคาร์บอน 
    ตลาดคาร์บอนเครดิตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
    1.ภาคบังคับที่กลุ่มธุรกิจถูกบังคับให้ปล่อยคาร์บอนได้ไม่เกินเพดานที่กำหมายกำหนด ในอดีตมีหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปที่กำหนดเพดานปล่อยคาร์บอนของแต่ละอุตสาหกรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกปรับหากปล่อยเพดานกำหนด จึงมีกลไกการซื้อขายคาร์บอน โดยซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าการลงทุนเพื่อลดการ์บอนด้วยตนเอง ขณะเดียวกันกิจกรรมการซื้อขายคาร์บอนสามารถสร้างแรงจูงใจจากการทำดี ก็คือการปล่อยคาร์บอนได้ต่ำกว่าเพดานกำหนดก็สามารถนำไปเทรดกับต่างประเทศ 

2.ภาคสมัครใจ ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทย ตามหลักเศรษฐศาสตร์ถ้าจะลดก๊าซเรือนกระจกก็จะพิจารณาว่าในแต่ละกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกก่อให้เกิดต้นทุนกับธุรกิจเท่าไหร่ หากในมุมนักเศรษฐศาสตร์หรือนักธุรกิจก็จะเลือกกิจกรรมที่ลดก๊าซเรือนกระจำได้ต่ำสุด แต่มีบางธุรกิจที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ เช่น ภาคพลังงาน ภาคอาหาร การเงินและประกันภัย ไม่ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหมือนภาคอุตสาหกรรม แต่ข้อมูลที่ลงไว้ก็อาจจะมีบางธุรกิจเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
    ฉะนั้น กิจกรรมที่ทำการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก ก็จำเป็นต้องซื้อออฟเซตมาจากที่อื่นเพื่อทดแทนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ธุรกิจมาเกี่ยวข้องด้วย จึงเป็นกระแสถ้ามองไปที่มูลค่าตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลกไปแตะที่ 6,700 พันล้านเหรียญ อีกทั้งเฉพาะช่วงนี้ที่มีกระแสที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ออกมาประกาศเรื่อง Net Zero จึงทำให้ดีมานด์คาร์บอนเครดิตในตลาดโลกสูงขึ้นค่อนข้างมาก ล่าสุดมีการวิเคราะห์ว่าดีมานด์กับซัพพลายไม่แมทช์กัน กล่าวคือตัวซัพพลายไม่สามารถตอบโจทย์ดีมานด์ที่เพิ่มสูงขึ้น 

กลุ่มดีมานด์ที่เติบโตสูงคือ กลุ่มแลนด์ยูซ เช่น ภาคป่าไม้ การปลูกป่า โดยมีราคาซื้อขายอยู่ที่ 4 เหรียญต่อตันคาร์บอน จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ราคาคาร์บอนเดรดิตได้กลับมารีบาวน์ในทิศทางที่ดีขึ้น และจะเป็นแรงจูงใจทางการเงินสำหรับช่วยโปรเจคที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม ด้านป่าไม้ ลดปริมาณขยะ อีกทั้งสอดคล้องกับกระแสโลกที่คอร์เปอเรทขนาดใหญ่ออกมาประกาศเรื่อง Net Zero 

 

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า Bundling เป็นการผนวกคาร์บอนเครดิตไว้กับสินค้าและบริการด้วย เช่น บริษัทพลังงานประกาศว่าสินค้าที่จำหน่ายไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ รวมทั้งธุรกิจสายการบินที่เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารซื้อคาร์บอนเครดิตได้ 
    "ประโยชน์ของคาร์บอนเครดิตในระยะสั้น จะช่วยทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำง่ายขึ้น เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวมถึงการลงทุนในทุนทางธรรมชาติ ทำให้เกิดกระบวนการนี้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งภาคธุรกิจมีต้นทุนสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกไม่เท่ากัน บางธุรกิจ อาจติดกับดักทางเทคโนโลยี ดังนั้น กระบวนการคาร์บอนเครดิตจึงมาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมดำเนินต่อไป"
    ส่วนประโยชน์ในระยะกลางถึงระยะยาวนั้น คาร์บอนเครดิตช่วยในการสนับสนุนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกติดลบโดยให้การสนับสนุนทางการเงินกับการปลูกป่าหรือเทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน เพราะหากปล่อยให้เป็นไปตามกลไกทางตลาด กิจกรรมที่ดีเหล่านี้อาจไม่มีเงินทุนหมุนเวียน หรือเดินหน้าต่อไปได้ล่าช้า เช่นโครงการปลูกป่า ซึ่งทราบกันดีว่า ป่าไม้ทำหน้าที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ดีที่สุด ดังนั้น กลไก Carbon offset ทำให้เกิดความสมดุล เกิดเงินทุนที่จะไปหล่อเลี้ยงโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่บรรยากาศ