'เอ็นไอเอ' สานต่อ 'สเปซเอฟ 2' กรุยทางฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พบปะ นักลงทุน

'เอ็นไอเอ' สานต่อ 'สเปซเอฟ 2' กรุยทางฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พบปะ นักลงทุน

เอ็นไอเอ ดึงบริษัทชั้นนำด้านอาหารและเครื่องดื่ม พบ ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ ภายใต้โครงการ SPACE-F ในงาน “SPACE-F Batch 2 Exclusive Preview” ก่อนที่จะลงสู่สนามจริงในเชิงธุรกิจต่อไป

Pun-Arj Chairatana

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึง
ความร่วมมือในครั้งนี้ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาของโครงการ SPACE-F ว่า เป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจอาหารไทย และส่งเสริมให้กรุงเทพเป็น “Bangkok Silicon Valley” ซึ่งในครั้งนี้เป็น Exclusive Preview เพื่อให้นักลงทุน หรือ บริษัทมาเจอกับสตาร์ทอัพ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ
และเมื่อผ่านกิจกรรมโครงการสเปซ-เอฟ ที่ประกอบด้วยการบ่มเพาะ (Incubator Program) และการเร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator Program) เพื่อผลักดันและสนับสนุนสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงให้สามารถสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความแตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้วนั้น ภายในต้นเดือนเมษายนจะมีการจัดงาน Demo Day เพื่อให้บรรดาสตาร์ทอัพได้ทำการ  Pitching อีกครั้งหลังจากผ่านการอบรมจากโครงการสเปซเอฟ โดยจะมีนักลงทุนเข้าร่วมรับฟังด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์ของโครงการสเปซ-เอฟ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.ต้องการเพิ่มผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมอาหารในประเทศ 2.ดึงสตาร์ทอัพต่างประเทศเข้าร่วมในโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เรียนรู้แนวทางการทำงาน การขอทุน รวมทั้งการประสานงานกับนักลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะทำให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารของสตาร์ทอัพในลำดับต่อไป 3. เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ให้เป็น “แบงคอกฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์” เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารในภูมิภาคเอเชียมีเพียงไทยและสิงคโปร์เท่านั้น จึงจะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารในภูมิภาคเอเชียได้

161521243935

ทั้งนี้ พันธุ์อาจ กล่าวเสริมว่า ในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้เป็นโอกาสดีของสตาร์ทอัพ เนื่องจากโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพล้วนพัฒนามาจากปัญหา หากจับแนวทางได้ก็เชื่อว่าประเทศไทยและในระดับสากลจะเห็นสิ่งแปลกใหม่ในวงการอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้การเติบโตของสตาร์ทอัพด้านฟู้ดเทคในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วต้องดูว่าโมเดลธุรกิจที่ทำนั้นยั่งยืนและสามารถต่อยอดออกสู่ตลาดได้หรือไม่

161521246722

ทั้งนี้ภายในงานได้มีกลุ่มสตาร์ทอัพอาหารสัญชาติไทยและนานาชาติ 19 ราย มาร่วม Pitching และจัดบูธแสดงผลงาน ทั้งในรูปแบบ On-ground และ virtual อาทิ 
KARANA แพลนต์เบสที่ผลิตจากขนุน รสสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อหมูจริง
Nam Jai Sparkling Water ผลิตจากน้ำผลไม้จริง 100% ให้พลังงานเพียง 20 Cal.
Yindii Yindii แอปพลิเคชั่นแมทช์ร้านอาหารกับผู้บริโภคเพื่อจับจองอาหารส่วนที่เกินจากการขายในรูปแบบ “flash sale” เพื่อลดปัญหาขยะ 
Nitro Lab เครื่องชงกาแฟ cold brew และเครื่องดื่มอื่น ๆ โดยใช้ไนโตรเจน 
Advanced Green Farm เทคโนโลยีการเลี้ยง ‘วูฟเฟีย’  หรือ 'ไข่น้ำ' ซูเปอร์ฟู้ดแหล่งรวมโปรตีนชั้นยอด
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่