'เอ็นไอเอ' ดึงนักกลยุทธ์ ถกทางออก “เศรษฐกิจ – สังคมบนความไม่แน่นอน”

'เอ็นไอเอ' ดึงนักกลยุทธ์ ถกทางออก “เศรษฐกิจ – สังคมบนความไม่แน่นอน”

'เอ็นไอเอ' เปิดเวที INNOVATION THAILAND FORUM 2021 รวบรวมนักกลยุทธ์ชั้นนำจากหลากหลายภาคส่วนร่วมเสนอทางออกวิกฤตในประเทศไทย ในช่วงการเกิดโควิด-19 พร้อมชู 6 ประเด็นนวัตกรรมที่ไทยต้องเตรียมพร้อมเพื่อสู้วิกฤติในอนาคต

โดยประเด็นทางนวัตกรรมและแนวทางการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ไทยต้องเร่งพัฒนา ได้แก่ นวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ นวัตกรรมสุขภาวะและการแพทย์ แพลตฟอร์มการฟื้นฟูการท่องเที่ยว นวัตกรรมบริการภาครัฐ การแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษและสิ่งแวดล้อม และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต พร้อมชี้ภายใต้การระบาดของโรคดังกล่าวที่เกิดขึ้น แม้จะสร้างความผันแปรทางเศรษฐกิจและสังคม และทำให้การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก แต่สิ่งที่ยังคงต้องถูกพัฒนาและเป็นแนวทางการรับมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ “นวัตกรรม” ซึ่งขณะนี้หลายภาคส่วนยังคงเดินหน้าส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

161262061120

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า   ตัวอย่างของวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของไทยที่มีความก้าวหน้า เช่นสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ มีการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชันมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้าผลิตเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยด้วยฝีมือของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของไทยเองภายในปี 2575 และยังเข้าร่วมภาคีนานาชาติเพื่อผลิตโรงไฟฟ้าจากพลังงานฟิวชัน ซึ่งเป็นพลังงานแบบเดียวกับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาด เปรียบเหมือนเป็นการสร้างดวงอาทิตย์บนโลกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานใหม่ภายใน 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศในโลกที่เข้าร่วมภาคีนานาชาตินี้ สะท้อนถึงความสามารถและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของไทย แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยทำได้ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

“สำหรับในปี 2564 อว. ได้มีการผลักดันและจัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไว้อยู่ที่ 1.5% ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในอีก 7 ปีข้างหน้า อว. ตั้งเป้าหมายว่าจะส่งเสริมการลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้ได้ 2 % เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องมีสัดส่วนการลงทุน R&D  2 %  ขึ้นไป ซึ่งคาดว่าจะมีความเป็นไปได้เพราะขณะนี้หลายภาคส่วนให้ความสนใจในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนการเข้าร่วมลงทุนระหว่างเอกชนและภาครัฐมากถึง 70:30 ดังนั้น การนำเอางานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาประเทศเพื่อช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางจึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อย่างแน่นอน”

1612620626100

ด้าน พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ล่าสุดเอ็นไอเอ ได้จัดกิจกรรม “INNOVATION THAILAND FORUM 2021” ซึ่งเป็นเวทีเสนอทางออกวิกฤตในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากนักกลยุทธ์ ผู้นำ และผู้เชี่ยวชาญในภาคส่วนต่าง ๆ มาร่วมแนะโมเดลและแนวทางที่จำเป็นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและความพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. ปกรัฐ หังสสูต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการบรรยายพิเศษ คุณภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ นายกสมาคม Thailand Tech Startup Association (TTSA) คุณอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองศาสตราจารย์

อีกทั้ง ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และคุณวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจากความร่วมมือในครั้งนี้มีสาระสำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมที่จำเป็นใน 6 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะการได้รับโอกาสการทำงาน และการเข้าถึงบริการสาธารณะ นวัตกรรมสุขภาวะและการแพทย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพและระบบสาธารณสุข แพลตฟอร์มการฟื้นฟูการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการสร้างรูปแบบธุรกิจ (business model) ให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการปรับตัวและการอยู่รอดในระยะยาว นวัตกรรมบริการภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างรัฐบาลดิจิทัล การจัดซื้อจัดจ้าง การสรรหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคประชาชน แนวทางการแก้ปัญหาวิกฤติมลพิษ 

161262064019

ไม่ว่าจะเป็น ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาไฟป่า ปัญหาอุทกภัย ปัญหาพายุหิมะและความหนาวเย็นในวิกฤติโควิด-19 รวมถึงการจัดการและสร้างมูลค่าขยะภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต ซึ่งเป็นการสรรหารูปแบบนวัตกรรมเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ ทั้งการผสมผสานระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ผ่านการทำงานร่วมกับของอุปกรณ์ แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนและการทำงาน และการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ AI ให้เป็นประโยชน์ เป็นต้น