‘งานศิลปะที่สร้างด้วย AI’ ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์

‘งานศิลปะที่สร้างด้วย AI’ ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์

ศาลสหรัฐฯ สั่งตัดสิน “งานศิลปะที่สร้างด้วย AI” ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ หลังบริษัท AI เรียกร้องการยอมรับ AI ในฐานะผู้เขียน แต่ผู้พิพากษายืนยัน “ลิขสิทธิ์จะมอบให้แก่การสร้างสรรค์ที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์เท่านั้น”

ในการตัดสินของศาลเมื่อเร็วๆ นี้ Beryl Howell  ผู้พิพากษาเขตของสหรัฐ ได้ยึดถือจุดยืนของสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาว่า งานศิลปะที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

‘งานศิลปะที่สร้างด้วย AI’ ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์

คำตัดสินนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ generative AI จะเข้ามาแทนที่ศิลปินและนักเขียนที่เป็นมนุษย์

เป็นเวลากว่ากว่า 100 วัน นับตั้งแต่การหยุดงานประท้วงของนักเขียนในฮอลลีวูด กับความกังวลที่เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับการที่ AI จะเข้ามาแทนที่การเขียนบท  

อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้ยึดถือมาโดยตลอดว่า "ลิขสิทธิ์จะมอบให้แก่การสร้างสรรค์ที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์เท่านั้น"

คำตัดสินของ Howell เป็นการพิจารณาในข้อพิพาททางกฎหมายของ Stephen Thaler ต่อการที่รัฐบาลปฏิเสธการลงทะเบียนสำหรับงานที่ผลิตโดย AI 

โดย Thaler ซีอีโอของ Imagination Engines โต้แย้งว่าควรยอมรับ AI ในฐานะผู้เขียน ดังนั้นความเป็นเจ้าของงานควรเป็นของเจ้าของระบบ AI

แต่ผู้พิพากษา”ไม่เห็นด้วย” ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของมนุษย์ในฐานะ “ผู้สร้างสรรค์” ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์  

และกล่าวถึงกรณีก่อนหน้านี้ เช่น Burrow-Giles Lithographic Company v. Sarony ซึ่งสนับสนุนการปกป้องความคิดที่มนุษย์สร้างขึ้น  และอีกกรณีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ภาพถ่ายของสัตว์ก็ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้

Howell กล่าวถึงลิขสิทธิ์ที่กระตุ้นให้มนุษย์พยายามอย่างสร้างสรรค์  โดยตั้งข้อสังเกตว่าลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรได้รับการออกแบบให้เป็นทรัพย์สินที่ได้รับการปกป้อง , ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และศิลปะโดยส่งเสริมการสร้างสรรค์และนวัตกรรม

คำตัดสินนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการหารือทางกฎหมายเกี่ยวกับบริษัท AI ที่ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ โดยมีการฟ้องร้องหลายคดีในแคลิฟอร์เนียโดยศิลปินที่อ้างว่าถูกละเมิดลิขสิทธิ์

อ้างอิง cointelegraph