บุกอาณาจักร วิจัย ‘ธอมัส เจ วัตสัน’ ใน นิวยอร์ก เปิดโลกเอไอยักษ์ฟ้า ‘ไอบีเอ็ม’

บุกอาณาจักร วิจัย ‘ธอมัส เจ วัตสัน’ ใน นิวยอร์ก เปิดโลกเอไอยักษ์ฟ้า ‘ไอบีเอ็ม’

"กรุงเทพธุรกิจ" พาไปชม "เบื้องหลัง" เทคโนโลยีที่เข้ามาพลิกโฉมโลกธุรกิจ การใช้ชีวิต แหล่งกำเนิดของเทคโนโลยี "เอไอ" ระดับโลกของไอบีเอ็ม ที่ศูนย์วิจัย ‘ธอมัส เจ วัตสัน’ ในนิวยอร์ก !!!

หากพูดถึงยักษ์เทคโนโลยีระดับโลกอย่าง “ไอบีเอ็ม” คงไม่มีใครสงสัยในความสามารถหรือศักยภาพที่นำความสำเร็จมาสู่ธุรกิจ ทว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จนั้นยังอีกยาวไกล ระหว่างทางยังต้องใช้ความตั้งใจ ใส่ใจในทุกกระบวนการ...

เบื้องหลังเทคโนโลยีที่เข้ามาพลิกโฉมโลกธุรกิจ ศูนย์วิจัยธอมัส เจ วัตสัน (Thomas J. Watson Research Center) ที่ยอร์คทาวน์ รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ แหล่งกำเนิดของเทคโนโลยีเอไอระดับโลกของไอบีเอ็ม บุกอาณาจักร วิจัย ‘ธอมัส เจ วัตสัน’ ใน นิวยอร์ก เปิดโลกเอไอยักษ์ฟ้า ‘ไอบีเอ็ม’ นับตั้งแต่ IBM Deep Blue คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่เอาชนะแชมป์หมากรุกโลก IBM Watson ที่เป็นแชมป์ในรายการ Jeopardy! รวมถึง Project Debater ระบบเอไอแรกของโลกที่สามารถอภิปรายสดกับคนได้ ก้าวย่างสำคัญที่ผสานความสามารถหลายด้านของเอไอ ตั้งแต่การฟัง เข้าใจ การวิเคราะห์ประเด็นยาวๆ การสร้างและจัดระเบียบเนื้อหาในหัวข้อนั้นๆ ไปจนถึงการโต้ตอบเป็นภาษามนุษย์

วันนี้ IBM Watson คือเทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลังโซลูชันเอไอเกือบทั้งหมดของไอบีเอ็ม โดยเสธ​ ดอบริน Chief AI Officer ของไอบีเอ็ม เล่าให้ฟังว่า จากการศึกษา Global AI adoption ล่าสุด องค์กร 35% ทั่วโลกเริ่มนำเอไอมาใช้ในธุรกิจแล้ว  บุกอาณาจักร วิจัย ‘ธอมัส เจ วัตสัน’ ใน นิวยอร์ก เปิดโลกเอไอยักษ์ฟ้า ‘ไอบีเอ็ม’ ตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงกว่าผลสำรวจปีที่แล้วที่มีองค์กรเพียง 13% ที่คาดว่าจะนำเอไอมาใช้ มากกว่านั้นองค์กร 42% ยังระบุว่ากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอไอมาใช้

เปิดทางประมวลผลเรียลไทม์

เสธเล่าว่า เอไอของไอบีเอ็ม มีจุดยืนชัดเจนในการเป็นเอไอสำหรับธุรกิจ (AI for Business) ซึ่งองค์กรจำนวนมากเริ่มใช้เอไอในมุมออโตเมชัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการธุรกิจต่างๆ หรือใช้เอไอในการทำให้งานปฏิบัติการด้านไอทีเป็นไปโดยอัตโนมัติ

โดยเทคโนโลยี AIOps นี้ จะใช้เอไอในการเรียนรู้และตรวจสอบ-คาดการณ์เหตุผิดปกติจากข้อมูลอุปกรณ์และระบบทั้งหมด พร้อมแจ้งเตือนอัตโนมัติและแนะนำแนวทางแก้ปัญหาทีละขั้นตอน

เมื่อรู้ล่วงหน้าก็ย่อมลดโอกาสที่ระบบจะล่ม ที่ผ่านมา AIOps สามารถลดเวลาในการหาต้นตอของปัญหาลงได้ 60% และลดเวลาในการแก้ปัญหาลงได้ถึง 65%

นอกจากนี้ สามารถคาดหวังสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5จี ที่จะทำให้เอไอสามารถประมวลผลข้อมูลด้านการผลิต รวมไปถึงตรวจสอบข้อมูลการรั่วไหล ความเปลี่ยนแปลงบนซัพพลายเชนได้แบบเรียลไทม์ผ่านเอดจ์คอมพิวติง

'เอไอ’ กุญแจสู่ความยั่งยืน

ขณะที่ ในอีกด้านที่มีแนวโน้มการนำเอไอมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ “การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environment, Social, และ Governance : ESG)" เพราะวันนี้องค์กรต่างได้รับแรงกดดันทั้งจากหน่วยงานที่กำกับดูแล นักลงทุน และผู้บริโภค ในแง่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างจริงจัง โปร่งใส และตรวจสอบได้

ที่ผ่านมา การจัดทำรายงานเกี่ยวกับโครงการด้านความยั่งยืน มีข้อมูลจำนวนมากและหลายประเภทที่องค์กรจำเป็นต้องวิเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ยังกระจัดกระจาย และไม่เอื้อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าถึงได้ง่ายนัก ทั้งยังมีความท้าทายเรื่องมาตรฐานและกฏข้อบังคับหลากหลายที่ต้องปฏิบัติตาม

วันนี้ไอบีเอ็มได้นำพลังของเอไอ มาช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ บริหารจัดการ และรายงานเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

พร้อมวิเคราะห์โอกาสและประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ขณะเดียวกันให้มุมมองด้านความยั่งยืนที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถนำไปปรับเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร

อีกประเด็นที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างระบบเอไอที่เชื่อถือได้ (Trustworthy AI) โดย ศรีราม รากาวาน รองประธาน ศูนย์วิจัยเอไอของไอบีเอ็ม เล่าว่า วันนี้ไอบีเอ็มได้กำหนด Principles for Trust and Transparency สำหรับการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้

จุดสำคัญคือ ระบบเอไอต้องโปร่งใส ต้องอธิบายที่มาของการตัดสินใจของระบบได้ และต้องมีแนวทางการบรรเทาผลเสียอันอาจเกิดขึ้นจากอคติที่รุนแรงและไม่เหมาะสมของระบบ 

ยึดหลักจริยธรรม-ไม่มีอคติ

นักวิจัยของไอบีเอ็ม ได้พัฒนาแนวทางและเครื่องมือในการต่อกรกับปัญหาความน่าเชื่อถือของเอไอมาอย่างต่อเนื่อง ที่ให้ความสำคัญอย่างมากคือ โมเดลเอไอต้องดำเนินการตัดสินใจภายใต้หลักจริยธรรม โดยปราศจากการแทรกแซงจากมนุษย์

ขณะที่ ในมุมความเป็นส่วนตัวของข้อมูลต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลและมุมมองเชิงลึกที่ได้รับการวิเคราะห์จากข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นของผู้สร้างข้อมูลนั้นๆ ไม่ใช่เวนเดอร์ผู้ให้บริการเทคโนโลยี

ศรีรามบอกด้วยว่า สิ่งที่ไอบีเอ็มกำลังพยายามพัฒนาอยู่คือ การพัฒนาโมเดลพื้นฐานของเอไอที่จะสามารถออโตเมทเอไอหรือนำไปใช้ซ้ำกับภาระงานต่างๆ หรือแม้แต่ในมุมการวิเคราะห์โมเดลทางเคมีได้