สำนักจุฬาราชมนตรีแนะข้อปฏิบัติเดือนรอมฎอน ป้องกันโควิด19

สำนักจุฬาราชมนตรีแนะข้อปฏิบัติเดือนรอมฎอน ป้องกันโควิด19

สำนักจุฬาราชมนตรีแนะข้อปฏิบัติเดือนรอมฎอน ป้องกันโควิด19  ย้ำมัสยิดต้องเข้ทมาตรการป้องกันโรค คนกลับจากต่างพื้นที่ไม่ทานอาหารร่วมกับครอบครัว แยกภาชนะ  เด็ก-ผู้สูงอายุไม่ควรเข้าร่วมละหมาดที่มัสยิด

  เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด19 ประเด็น “บ้านสะอาดปลอดเชื้อ ชุมชนสะอาดปลอดโควิด เตรียมให้พร้อม(ก่อน)เดือนรอมฎอน” นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า  ช่วงถือศีลอดเดือนรอมฎอน การประกอบพิธีกรรมหลายอย่างอาจจะมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโควิด19 อันเนื่องจากการรวมกลุ่มคนและมีกิจกรรมร่วมกัน 
ดังนั้น การเตรียมชุนชน มัสยิดให้ปลอดภัยช่วงเดือนรอมฎอน  ทั้งก่อน ระหว่างและหลังเป็นสิ่งสำคัญ โดยมาตรการป้องกันโรคโควิด19 ในการปฏิบัติศาสนกิจช่วงการถือศีลอดเดือนรอมฎอน  ทั้งช่วงก่อน ระหว่างและหลังปฏิบัติศาสนกิจ โดยต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ควรได้รับถึงเข็มกระตุ้นเข็ม 3  ตรวจATKเมื่อมีอาการหรือประเมินตนเองแล้วเสี่ยงสูงทั้ง 3 ช่วง มาตรการป้องกันส่วนบุคคลแบบทุกที่ทุกเวลาทั้ง 3 ช่วง  ใช้เวลาในการร่วมกลุ่มให้น้อยที่สุดทั้งช่วงระหว่างและหลังปฏิบัติศาสนกิจ

นายสุธรรม บุญมาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาราชมนตรี กล่าวว่า การถือศีลอดต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและสังคม ซึ่งปัจจุบันโรคระบาดแพร่กระจายอยู่ ดังนั้น สิ่งต้องทำและหวนคำนึงให้มากที่สุด คือ ปฏิบัติตามที่สาธารณสุขและสำนักจุฬาราชมนตรีออกประกาศ ให้ชาวไทยมุสลิมปฏิบัติ  โดยในช่วงเดือนรอมฎอน จะมีความเสี่ยงจากโควิด19 ในช่วงที่มีการรวมตัวกันทั้งที่บ้านและมัสยิด การรวมตัวของครอบครัว รับประทานอาหารร่วมกันก่อนพระอาทิตย์ขึ้นและหลังพระอาทิตย์ตกดิน กิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ การจ่ายทานข้าวสาร การกลับมาเยี่ยมบุพการีและครอบครัวที่บ้านเกิด และการรวมตัวเยี่ยมบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ทำความสะอาดกุโบร์หลังถือศีลอด

สิ่งเหล่านี้ต้องทำตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ในส่วนการทานอาหารร่วมกัน ถ้าบ้านเดียวกันคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นผู้ที่ทำงานต่างจังหวัดและร่วมละศีลอดกับพ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่าตายยาที่บ้าน ต้องรักษามาตรการอย่างมาก ต้องแยกอาหารทานเป็นสัดส่วน ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน  
       ส่วนการละหมาดที่มัสยิดถือว่าเป็นการทำกุศลกิจแต่ สามารถทำที่บ้านได้ ถ้าความจำเป็นเรียกร้องให้ทำที่บ้าน แต่ถ้ามัสยิดมีความพร้อมและผู้ไปปฏิบัติศาสนกิจมีความพร้อมสามารถทำที่มัสยิดได้ โดยมัสยิสตระเตรียมสถานที่ กำหนดจุดให้ยืนตามที่กำหนด มีแอลกอฮอล์ล้างมือ มีเครื่องฆ่าเชื้อถ้าทำได้  และหากมัสยิดมีสถานที่นอกบริเวณสามาถรปฏิบัติศาสนกิจได้ ขอให้ทำข้างนอกมัสยิด แต่ถ้าทำในมัสยิดไม่สามาถเปิดแอร์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อกรณีหากมีผู้ติดเชื้อเข้าร่วม  เหล่านี้เป็นสิ่งที่มัสยิดต้องดำเนินการ

สำนักจุฬาราชมนตรีแนะข้อปฏิบัติเดือนรอมฎอน ป้องกันโควิด19

      สำหรับการรวมตัวทานอาหารเลี้ยงละศีลอด โดยปกติจะเกิดที่มัสยิด หากจัดเลี้ยง ขอให้จัดเป็นอาหารเฉพาะบุคคล ไม่ใช้ภาชนะปะปนกัน และหากเป็นไปได้ ให้ปรุงอาหารและใส่ถุงนำไปแจกตามบ้านจะเป็นการดีที่สุด

        การละหมาดค่ำคืน  สามารถทำที่บ้านได้  ถ้าละหมาดที่มัสยิด จะต้องเป็นมัสยิดที่มีความพร้อมทางสาธารณสุข อย่างเช่น ให้มีเจลล้างมือก่อนเข้ามัสยิด สถานที่ละหมาดเหมาะสม ยืนห่างกันตามที่กำหนดไว้  แต่ถ้ามัสยิดจัดทำไม่ได้สามารรถละหมาดที่บ้าน ในครอบครัวให้พ่อเป็นอิหม่าม ภรรยา แม่ และลูกๆสามารถทำตามก็กระทำได้

       วันอีต  สามารถทำที่บ้านได้ หากจำเป็นต้องทำที่บ้าน ส่วนหากทำที่มัสยิดจะต้องทำการตระเตรียมความพร้อมอย่างชัดเจน เพราะจะมีคนจำนวนมาก สิ่งที่สำนักจุฬาฯ แนะนำคือถ้ามัสยิดมีสถานที่โล่งกว้างสามารถละหมาดได้ และใช้เวลาให้เหมาะสมที่สุด จะได้ปลอดภัยหากมีผู้ร่วมละหมาดติดเชื้อ ส่วน ผู้สูงอายุและเด็กไม่ควรมาละหมดร่วมกันที่มัสยิด