ไขข้อสงสัย "ภาวะใหลตาย" ภัยเงียบทางพันธุกรรม

ไขข้อสงสัย "ภาวะใหลตาย" ภัยเงียบทางพันธุกรรม

แพทย์ รพ.จุฬาภรณ์ ไขข้อสงสัย "ภาวะใหลตาย" ภัยเงียบทาง "พันธุกรรม" เผย เกิดขึ้นได้ในผู้ชายมากกกว่าผู้หญิง 8-10 เท่า

จากเหตุการณ์ที่วงการบันเทิงสูญเสีย "บีม-ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์" พระเอกซีรีส์เรื่อง "เคว้ง" ซึ่งเสียชีวิตกะทันหันในขณะที่นอนหลับ ในวัยเพียง 25 ปี โดยคาดว่าสาเหตุการเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่มน่าจะมาจาก "ภาวะใหลตาย"

 

บทความ นายแพทย์วิโรจน์ เมืองศิลปศาสตร์ อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เผยแพร่ผ่าน เฟซบุ๊ค โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อธิบายเกี่ยวกับ "ภาวะใหลตาย" โดยระบุว่า ภาวะใหลตาย เป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ป่วยเป็นมาตั้งแต่กำเนิด แต่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนเอเชียมากกว่าในยุโรป ในคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคทาง พันธุกรรม

 

พบในคนอายุน้อยกว่า 35 ปี

 

อันดับหนึ่ง พบได้ในคนไข้ที่อายุไม่มากในกลุ่มของคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี นับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ที่เกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดรุนแรง คล้ายๆ หัวใจจะหยุดเต้น โดยจะต้องให้การรักษาด้วยการช็อคหัวใจด้วยระบบไฟฟ้า เพียงแต่ว่าในขณะที่เกิดขึ้นคนไข้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และคนไข้ก็จะนอนจนเสียชีวิตไป

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคใหลตาย

  • การออกกำลังกายอย่างหนัก และเยอะเกินไป
  • การพักผ่อนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น
  • เคยมีประวัติเสี่ยงของคนในครอบครัว

 

อาการของโรค

  • ในหลายราย ไม่มีอาการแสดง
  • ในบางรายอาจมีอาการหน้ามือ เป็ยลม โดยไม่ทราบสาเหตุ

การป้องกันภาวะใหลตาย

  • ตรวจเช็กประวัติเสี่ยงจากบุคคลครอบครัว
  • ตรวจร่างกายประจำปี โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG
  • อาจมีการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจหรือ ECHOCARDIOGRAM เพิ่มเติม

 

การตรวจสุขภาพหัวใจสม่ำเสมอจะทำให้แพทย์สามารถตรวจเจอภาวะในกลุ่มโรคใหลตายได้ และหาวิธีการป้องกัน แนะนำคนไข้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงในอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

ไขข้อสงสัย \"ภาวะใหลตาย\" ภัยเงียบทางพันธุกรรม