มอ. ชู 5 นวัตกรรม "ธนาคารเลือด" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย

มอ. ชู 5 นวัตกรรม "ธนาคารเลือด" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย

"มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" ชูเทคโนโลยี 5 "นวัตกรรม" ธนาคารเลือด เพิ่มศักยภาพการทำงาน จัดเตรียม ส่งต่อเลือดไปยังผู้ป่วยและจัดการสต็อคอย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.นพ.คณุตม์ จารุธรรมโสภณ หัวหน้าหน่วยคลังเลือด และเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยว่า หน่วยงาน ธนาคารเลือด เป็นหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สาขาวิชาพยาธิวิทยา รพ.สงขลานครินทร์ โดยมีหน้าที่รับบริจาคเลือดทั้งจากในและนอกโรงพยาบาล นำมาเตรียมส่วนประกอบเลือดชนิดต่าง ๆ โดยทำการตรวคัดกรองและทดสอบความเขากันได้กับผู้ป่วย ตามมาตรฐานของสภากาชาดไทยเพื่อให้แพทย์ สามารถใช้ในการรักษาคนไข้ได้อย่างลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

ซึ่งปัจจุบัน ด้วยปริมาณคนไข้ที่มีเพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการในการใช้บริการของงานธนาคารเลือด เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้เกิดปัญหาในการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์เลือด ที่อาจเกิดความล่าช้าในการเตรียม หรือจัดการงานที่มีปริมาณมากอาจส่งผลต่อคุณภาพในการนา เลือดไปใช้ นอกจากนี้ยังมีการเกิดภาวะ ขาดแคลนเลือด ในการรับบริจาค หรือไม่สามารถหาเลือดชนิดที่หายากมาให้ได้

 

ส่งผลต่อการรักษาของผู้ป่วยทำให้ต้องรอเลือดเป็นเวลานาน หรือในบางกรณีอาจ เกิดภาวะเลือดล้นทำให้ไม่สามารถใช้เลือดได้ทันวันหมดอายุ จึงมีความพยายามยามนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์เลือดและจัดการสต็อค

 

มอ. ชู 5 นวัตกรรม \"ธนาคารเลือด\" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย

ทั้งนี้ มีการพัฒนาตั้งแต่ การจัดหาเลือด การคัดกรองเลือด ขั้นตอนการเตรียมเลือด และขั้นตอนการนำเลือดไปใชกับผู้ป่วย โดยมีการใช้นวัตกรรม ดังนี้

 

1. โปรแกรมเก็บข้อมูล Minor blood group

2. ระบบห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ (Total Lab Automation) ในการตรวจคดักรองโรคติดชื้อของ เลือด ทั้งงานการตรวจภูมิคุ้มกัน และแอนติเจนในเลือด (serology) และการตรวจสารพันธุกรรม ของตัวเชื้อไวรัส (NAT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพ และความปลอดภัยในการเตรียมเลือด พร้อมทั้งลดภาระงานของเจ้าหน้าที่

3. กระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะเพื่อการควบคุณคุณภาพของผลิตภัณฑ์เลือดขณะขนส่งห้าอดคล้องตามข้อกำหนดในระบบคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วย

4. การทำนายการใช้เกล็ดเลือดโดย Machine Learning

5. การจัดการสต็อคโดยระบบ AI

 

มอ. ชู 5 นวัตกรรม \"ธนาคารเลือด\" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย

 

Minor blood group ระบบหมู่เลือดรอง

 

ด้าน นายวรากร เพชรเกลี้ยง หัวหน้างานคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สำหรับนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรมเก็บข้อมูล Minor blood group ระบบหมู่เลือดรอง ซึ่งต้องใช้น้ำยาพิเศษในการตรวจ บางชนิดแพงมากและเพิ่มขั้นตอนการทำงาน

 

"ซึ่งเดิมหลายโรงพยาบาลต้องขอจากสภากาชาดไทย แต่สำหรับหน่วยคลังเลือด รพ.สงขลานครินทร์ มีการตรวจหมู่เลือดรองที่สำคัญให้กับผู้บริจาคประจำตั้งแต่ 10 ครั้งขึ้นไป โดยเก็บข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้บริจาคมาบริจาคในคร้ังถัดไป สามารถทราบหมู่เลือดรองได้ทันที ทำให้มีเลือดเพียงพอให้ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาลได้

 

มอ. ชู 5 นวัตกรรม \"ธนาคารเลือด\" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย

“ระบบสืบค้นหมู่เลือดรอง ที่ทางหน่วยจัดทำขึ้นสามารถแบ่งปันให้โรงพยาบาลอื่นมาใช้แพลตฟอร์มเดียวกันได้ เพื่อใช้สืบค้นหมู่เลือดรองของผู้บริจาคโดยที่ไม่ต้องตรวจซ้ำ ลดระยะเวลาการรอคอยในกรณีที่ผูป่วยต้องรับหมู่เลือดพิเศษ ช่วยลดค่าใช้จ่าย และขั้นตอนในการทดสอบซ้ำได้ มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยระบบล็อคอิน ที่เข้าถึงได้เฉพาะเจ้าหน้าที่คลังเลือดและผู้บริจาครายนั้น เพื่อตรวจสอบข้อมูลตนเองเท่านั้น"

 

จึงอยากเชิญชวนหน่วยคลังเลือดอื่น ๆ มาร่วมกันแชร์ข้อมูลระบบหมู่เลือดรองในแพลตฟอร์มเดียวกันเพื่อขยายฐานข้อมูลผู้บริจาคในเขต ซึ่งปัจจุบันมีฐานข้อมูลผู้บริจาคอยู่ประมาณ 30,000 ราย และมี โรงพยาบาลข้างเคียงมาร่วมใช้โปรแกรมนี้แล้ว

 

Machine learning ทำนายการใช้เกล็ดเลือด

 

"นอกจากนั้น ยังมีการนำระบบ Machine learning ทำนายการใช้เกล็ดเลือด เพื่อประมวลผลข้อ มูลการใช้เกล็ดเลือดในอดีตมาวางแผน และดูแนวโน้มการใช้เกล็ดเลือดของผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากเกล็ดเลือดมีอายุเพียงแค่ 5 วัน เท่านั้น ที่ผ่านมาจึงต้องทิ้งเกล็ดเลือดที่หมดอายุเป็นจำนวนมาก ระบบ Machine learning จึงเป็นระโยชน์มากในการช่วยวิเคราะห์ ทำให้สามารถสำรองเกล็ดเลือดได้เหมาะสมกับการใช้จริง และยังช่วยลดต้นทุนจากการทิ้งลงได้กว่า 50 %” นายวรากร อธิบาย

 

นวัตกรรมกระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะ

 

สำหรับ นวัตกรรมกระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะ ยังถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการควบคุมการขนส่งโลหิต เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิที่มีขายอยู่ในตลาด ไม่ตอบโจทย์การควบคุมคุณภาพตามที่หน่วยงานต้องการ จึงพัฒนากระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะขึ้นมาเอง ซึ่งนอกจากจะควบคุมอุณภูมิได้แล้วยังสามารถตรวจสอบข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลังโดยแสดงเป็นกราฟ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจจารณาได้ง่ายว่าอุณหภูมิอยู่ในช่วงที่กำหนดหรือไม่

 

และพิจารณารับโลหิตที่ขนส่งอยู่ในอุณภูมิที่กำหนดเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการรับโลหิตที่เก็บในอุณหภูมิไม่เหมาะสม และยังสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Wi-Fi ได้ ทำให้สามารถติดตาม และตรวจสอบสถานะของกระติกทั้งหมดได้

 

มอ. ชู 5 นวัตกรรม \"ธนาคารเลือด\" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย

 

ทั้งนี้ นวัตกรรมกระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะ ได้รับรางวัล ถึง 2 รางวัลคือ เหรียญทองแดง จาก Thailand Kaizen award ปี 2563 และรางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระดับเหรียญทอง จากงานเวทีคุณภาพ ภายใต้โครงการ “เรื่องของเลือด ขาดเหลือ ต้องเกื้อกูล” และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และยังได้ไปนำเสนอในงานประชุม Thailand Quality Conference ปี 2564 อีกด้วย

 

ระบบห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ

 

ด้าน ทนพญ. สุวมิล บุญทองขาว นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการ หน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สำหรับระบบห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ หรือ Total lab automation ช่วยแก้ปัญหาในการลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ตั้งแต่ขั้นตอน การเตรียมตัวอย่าง และการแบ่งสิ่งส่งตรวจ (Aliquot) เพื่อการตรวจสอบภายหลัง

 

โดยเครื่องจะเตรียมตัวอย่างและเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องตรวจวิเคราะห์ ทั้งการตรวจภูมิคุ้มกัน และแอนติเจนในเลือด (serology) และการตรวจสารพันธุกรรมของตัวเชื้อไวรัส (NAT) เข้าด้วยกัน เป็นระบบเดียวรวมถึงการเชื่อมต่อกับระบบ LIS ของโรงพยาบาล เพื่อลดการทำงานแบบ manual และ human error ทำให้ห้องปฏิบัติการ สามารถใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ลดการทำงานเจ้าหน้าที่ 

 

“จากเดิมการตรวจคดักรองเลือดเคยใช้เจ้าหน้าที่ 2 คน ก็สามารถลดเหลือ 1คน ทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยลดการสัมผสักับสิ่งส่งตรวจอีกทั้งการทำงานด้วย automation จะช่วยบันทึกการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อประโยชน์ในการทวนสอบ และปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ตาม LEAN concept ซึ่งช่วยเพิ่ม คุณภาพของผลตรวจวิเคราะห์ จากระบบการทำงานของเครื่องตรวจเช่น การใช้ tip แบบใช้ครั้งเดียวใน การดูดตัวอย่างไปวิเคราะห์ ที่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากการรายงานผลผิดพลาดที่เกิดจากปัญหาของสิ่งส่งตรวจที่ติดเชื้อ (sample contaminations)

 

"ใช้ระยะเวลาในการตรวจภูมิคุ้มกันและแอนติเจนในเลือด (serology) 18 นาที และความเร็วของเครื่องตรวจ สารพันธุกรรมของตัวเชื้อไวรัส (NAT) ที่สามารถรองรับงานได้ 1,440 ตัวอย่างต่อวัน ทำให้ระยะเวลาในการรายงานผลของห้องปฏิบัติการสั้นลง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้แล้วเสร็จตามเวลาและสามารถแบ่งเวลา ไปดูแลงานด้านคุณภาพและอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม” ทนพญ. สุวมิล กล่าวปิดท้าย

 

มอ. ชู 5 นวัตกรรม \"ธนาคารเลือด\" เพิ่มศักยภาพการจัดการใช้เลือดกับผู้ป่วย