กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19

กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19

กรมการแพทย์เปรียบเทียบ4 ตัวยารักษาโควิด19 ฟาวิพิราเวียร์-เรมเดซิเวียร์-โมลนูพิราเวียร์-แพกซ์โลวิด แต่ละตัวมีข้อดีข้อเสีย ขณะที่ราคาต่างกันกว่า 10 เท่า

เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงสถานการณ์โควิด19 ประเด็น

"ประโยชน์ของการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด19 "

นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้การรักษาโควิด19 มีการติดตามข้อมูล และมีการปรับแนวทางการรักษาเป็นระยะ สำหรับยาที่ใช้

ยาฟาวิพิราเวียร์

กรณียาฟาวิพิราเวียร์ มีการใช้มา 2 ปี ในช่วงแรกศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศ ซึ่งกลไลการออกฤทธิ์ เป็นการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ RNA ไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไป จากการทบทวนอย่างเป็นระบบ ข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ โดยเฉพาะใน 14 วันสัดส่วนอาการดีขึ้นอยู่ที่ 86.9%  

กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19

ยาเรมเดซิเวียร์

ยาเรมเดซิเวียร์ มีกลไกการออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับฟาวิพิราเวียร์ US FDA ได้ให้การรับรองใช้ยาตัวนี้สำหรับการรักษาในภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์กับคนไข้ที่ทานยาไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม และใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเมื่อศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น นอนรพ.ลดลง พบนอนรพ. 10 วัน ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอก นอนรพ. 15 วัน
กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19
ยาโมลนูพิราเวียร์

ยาโมลนูพิราเวียร์ นำเข้ามาถึงไทยแล้ว อยู่ในกระบวนการเตรียมพร้อมกระจาย หลังได้รับการอนุมัติจากอีโอซี กระทรวงสาธารณสุข และศบค. ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์จุดเดียวกัน และลดความเสี่ยงจะเกิดอาการรุนแรง ขนาดยารับประทานสำหรับผู้ใหญ่ 800 มิลลิกรัม หรือ 4 แคปซูล โดยให้รับประทานทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน รวม 40 แคปซูลต่อคน ซึ่งยาตัวนี้ต้องให้ภายใน 5 วันหลังได้รับการวินิจฉัยเริ่มมีอาการ
กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19
ยาแพกซ์โลวิด

ยาแพกซ์โลวิด กลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน จะออกที่เอนไซม์ ทำให้เชื้อลดจำนวนลง ไม่สามารถเกิดโรคได้ ทำให้ลดความเสี่ยง 88% กรณีให้ภายใน 5 วันหลังมีอาการ พบว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด ประเทศไทยจึงได้มีการสำรองยาตัวนี้ โดยกลางเดือนเม.ย.จะนำเข้า และกระจายในลำดับถัดไป

กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19

 จากการติดตามการใช้ยามาระยะหนึ่ง จุดสำคัญพบว่า ยาแต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น เรมเดซิเวียร์ เป็นยาช่วยในกลุ่มที่มีอาการปานกลาง สามารถให้ได้ทางหลอดเลือดดำ และหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งกลุ่มมีปัญหาการดูดซึมหรือการทาน ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ ยังมีประโยชน์ และให้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ส่วนยา โมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิดเป็นยารับประทาน เป็นยาใหม่ ไม่ให้ในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
กรมการแพทย์ เปรียบเทียบ 4 ตัวยารักษาโควิด19
อย่างไรก็ตาม นอกจากประสิทธิภาพและความปลอดภัย จุดสำคัญคือ ความพร้อมในการใช้ยา หรือการจัดหายา และราคายาต้องคำนึงภาพรวมด้วย ซึ่งมีคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการรักษา โดยมีการติดตามค่าใช้จ่ายในแต่ละราย ยกตัวอย่าง

  • ยาฟาวิพิราเวียร์ กระบวนการรักษา 1 คอร์สประมาณ 800 บาท
  • เรมเดซิเวียร์อยู่ที่ 1,512 บาท
  • ยาโมลนูพิเราวียร์
  • แพกซ์โลวิด ณ ปัจจุบันยังอยู่ที่คอร์สละประมาณ 10,000 บาท


นพ.มานัส กล่าวอีกว่า แนวทางการรักษา จะมีการปรับเปลี่ยนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีการประชุมของผู้เชี่ยวชาญตลอด ล่าสุดมีการปรับปรุงเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2565 แต่ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุม และอาจมีการปรับปรุงแนวทางการรักษา ซึ่งมีการจำแนกตามความรุนแรงของโรค ยาตัวเลือกที่มีให้ใช้ การรักษาตามอาการ รวมทั้ง ฟ้าทะลายโจร ทั้งนี้

ข้อมูลจากโครงการ "เจอ แจก จบ" ก็มีการใช้ยา 3 สูตร

  • การใช้รักษาตามอาการ สัดส่วน 52%
  • การใช้ยาฟ้าทะลายโจร 24%
  • การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ 26%

จะเห็นว่าอาการผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถให้ยาตามอาการได้ และมีการให้ยาฟ้าทะลายโจรในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับยาฟาวิพิราเวียร์