อว. ลุยพลิก "ทุ่งกุลาฯ” ใช้ "BCG" เพิ่มมูลค่า "ข้าวอินทรีย์"

อว. ลุยพลิก "ทุ่งกุลาฯ” ใช้ "BCG" เพิ่มมูลค่า "ข้าวอินทรีย์"

"อว." ลุยพลิก “ทุ่งกุลาฯ” ให้เป็น “ดินแดนแห่งการอยู่ดีกินดี” เตรียมใช้ "BCG" เทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพ "ข้าวอินทรีย์" ให้ได้มาตรฐานพร้อมแปรรูปเพิ่มมูลค่า สั่งมหาวิทยาลัยภาคอีสานทำหลักสูตรเฉพาะพัฒนา "ทุ่งกุลาฯ" เน้นเกษตรและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 65 ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.อว.และโฆษก อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วย รมว.อว. ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษา รมว.อว. และผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มข้าวแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและรายได้ของ อว. ณ กลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ที่ 16 ต.หนองแค อ.ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ

 

ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก กล่าวว่า ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ครอบคลุม 13 อำเภอ 5 จังหวัด มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก รัฐบาลและ อว. มีความตั้งใจที่จะพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นดินแดนแห่งการอยู่ดีกินดี ซึ่งตนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมมือกันพลิกทุ่งกุลาฯ และอีสานให้กลายเป็นอีสานใหม่ที่เจริญและเป็นแหล่งรายได้สูง เพราะอีสานเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อประเทศ และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคม โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงที่จะมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

อว. ลุยพลิก \"ทุ่งกุลาฯ” ใช้ \"BCG\" เพิ่มมูลค่า \"ข้าวอินทรีย์\"

 

สร้างเศรษฐกิจใหม่ BCG

 

ทุ่งกุลา ฯ เป็นส่วนหนึ่งของภาคอีสาน การพัฒนาด้านเกษตรที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จึงไม่ได้มองแค่ตลาดในประเทศเท่านั้น โดยสูตรที่ อว.จะนำมาสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับที่นี่ ก็คือ  โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Model) ซึ่งมีทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เช่น การนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต ข้าวอินทรีย์ ให้ได้มาตรฐานและลดต้นทุนการผลิต

 

อว. ลุยพลิก \"ทุ่งกุลาฯ” ใช้ \"BCG\" เพิ่มมูลค่า \"ข้าวอินทรีย์\"

รวมทั้ง ยังส่งเสริมเรื่องการแปรรูปเพิ่มมูลค่าจากข้าว การลดระยะเวลา เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกสำหรับการผลิตข้าวฮางงอก ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้หลายเท่า

 

รมว.อว. กล่าวต่อว่า หนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ อว. นำมามอบให้ทุ่งกุลาฯ ในวันนี้ คือ ชุดอุปกรณ์เร่งการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้รับทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งปกติแล้วการแปรรูปข้าวเป็นข้าวกล้องงอกสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าการผลิตข้าวทั่วไป การแปรรูปข้าวเปลีอก 1 ตัน เป็นข้าวกล้องงอกจะให้กำไรสุทธิมากกว่าแปรรูปเป็นข้าวสารขาว 17.6 เท่า และชุดอุปกรณ์นี้จะช่วยลดระยะเวลาการผลิต ลดต้นทุนและแรงงานลงถึง 2 เท่า ก็จะยิ่งสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้มากขึ้น

 

อว. ลุยพลิก \"ทุ่งกุลาฯ” ใช้ \"BCG\" เพิ่มมูลค่า \"ข้าวอินทรีย์\"

“นอกจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยแล้ว ตนยังให้แนวคิดกับมหาวิทยาลัยของ อว.ในภาคอีสานให้จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ทั้งด้านการเกษตรและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อผลิตกำลังคนให้เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ สร้างจิตใจและดีเอ็นเอแบบทุ่งกุลาฯ ให้เกิดขึ้นกับลูกหลานคนอีสาน ซึ่งมีทั้งความเป็นนักสู้ ไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัด เอาความความขาดแคลนเป็นทุนในการที่จะก้าวต่อไป พัฒนาสิ่งใหม่ เพื่อยืนอยู่บนขาตนเองให้ได้” ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก กล่าว

 

อว. ลุยพลิก \"ทุ่งกุลาฯ” ใช้ \"BCG\" เพิ่มมูลค่า \"ข้าวอินทรีย์\"