วัคซีนใบยาเดินหน้ารุ่นสอง สร้างความมั่นคง"ยา-วัคซีน"

วัคซีนใบยาเดินหน้ารุ่นสอง  สร้างความมั่นคง"ยา-วัคซีน"

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เปิดกว้างในเรื่องเพศสภาพ อาชีพ ศาสนา และอาชีพ จากอดีตที่บทบาทของผู้หญิงมักจะโดนตีกรอบ ให้ทำงานแค่ในออฟฟิศและถูกประเมินว่าไม่สามารถทำงานบางอย่างได้ ทำงานแล้วไม่ปลอดภัย

ในขณะที่ผู้หญิงยังไม่ได้แสดงศักยภาพให้ได้เห็น แต่ปัจจุบันโลกเปิดกว้างมากขึ้น ผู้หญิงทำงานตามความสามารถมากได้มากกว่าขึ้น และสามารถทำงานได้ที่ต้องใช้ความแข็งแรงได้เท่าผู้ชาย

  • "นักวิจัยหญิงไทย"ผลิตวัคซีนโควิดจากพืชใบยาสูบ

หนึ่งในนักวิจัยวัคซีนโปรตีนจากพืชใบยาสูบ เพื่อป้องกันโควิด-19 โรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ที่นอกจากจะเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยแล้ว ยังเป็น “นักธุรกิจสตาร์ทอัพ

วัคซีนใบยาเดินหน้ารุ่นสอง  สร้างความมั่นคง\"ยา-วัคซีน\"
 

อ.แป้ง- รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ใช้เงินลงทุนของตนเอง ร่วมกับ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ทำงานแบบสตาร์ทอัพ โดยอยู่ในความดูแลของ CU Enterprise

"รศ.ดร.วรัญญู" เป็นอาจารย์มาแล้ว 10 ปีสอนเด็กทำวิจัยมา 5 ปีเมื่อจุฬาฯ เปิดให้อาจารย์ นักวิจัยก้าวสู่สตาร์ทอัพ จึงได้เริ่มโมเดลทำวิจัยผลิตยามากขึ้น ต่อมาได้มาเปิดบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เพื่อจะทำให้ผู้ที่อยากทำงานวิจัยพัฒนายาได้มีพื้นที่ในการนำงานวิจัยสู่ผลงานจริงๆ จึงชวนนักศึกษามาทำวิจัยที่สามารถใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ซึ่ง“วัคซีนใบยา”เมื่อผลิตสำเร็จรช่วยให้คนไทยได้มียา วัคซีนของตนเอง เพราะตอนนี้วัคซีน ยาเกือบทุกชนิดล้วนมาจากต่างประเทศ

 

  • วัคซีนใบยา จุฬาฯ รุ่นแรกเสร็จแล้ว เดินหน้าต่อรุ่น 2 

ขณะนี้การผลิตวัคซีนโปรตีนจากพืชใบยาสูบเป็นผลงานวิจัยของ "รศ.ดร.วรัญญู"ในเฟสแรกได้มีการเสนอข้อมูลทั้งหมดไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้วส่วนการทดลองในมนุษย์ระยะแรกนั้น พบว่าผลการทดสอบทุกเป็นไปตามเป้าหมาย มีความปลอดภัยสูง ซึ่งคาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300 – 500 บาท

ขณะเดียวกัน ได้มีการพัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2 เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 คาดว่าจะพร้อมทดสอบกับอาสาสมัครในเร็วๆ นี้ โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย ซึ่งได้มีการนำเสนอข้อมูลไปยัง อย.เรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำมาทดสอบกับอาสาสมัครต่อไป

วัคซีนใบยาเดินหน้ารุ่นสอง  สร้างความมั่นคง\"ยา-วัคซีน\"

“วัคซีนโควิด-19 จากพืชใบยาสูบ ถือเป็นงานวิจัยที่ได้ผลิตวัคซีนโปรตีนจากพืชครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในประเทศ และตอนแรกที่ทำก็มีหลายคนไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ แต่อาจารย์ ไม่ยอมแพ้ เดินหน้าศึกษาวิจัยมาโดยตลอด และให้นิสิตเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้นิสิตได้มีพื้นที่ทำงานวิจัย” คำบอกเล่าของรศ.ดร.วรัญญูในการพัฒนาวัคซีนโปรตีน จากพืชใบยาสูบ เพื่อป้องกันโควิด-19

อย่างไรก็ตาม นอกจากวัคซีนโควิดที่มีการพัฒนาแล้วบริษัทใบยา ฯ ได้มีการผลิตยา และศึกษาวิจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะขณะนี้ยาที่ใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามา ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนายาเพื่อสร้างความมั่นคงให้ได้ หากเกิดการระบาดของโรคอื่นๆ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของไวรัส ต้องพร้อมในการผลิตยา หรือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้

 

  • อยู่ที่ความสามารถ “ชาย-หญิง”สิทธิเท่าเทียม

ขณะนี้ผู้หญิงไทยได้รับสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายในหลายเรื่อง โดยในแวดวงการศึกษาและวิทยาศาสตร์ มีอาจารย์ นักวิจัยผู้หญิงจำนวนมาก อย่าง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คณบดี อาจารย์ นักวิจัยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และได้มีการทำงานหลากหลายนอกจากสอนหนังสือ

ตอนนี้ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงได้รับการยอมรับมากขึ้น เรื่องสิทธิเสรีภาพ การแสดงออก ความเป็นผู้นำมีการเปิดกว้างให้ผู้หญิงมากขึ้น  

ความฝัน "รศ.ดร.วรัญญู" สมัยเด็กๆคืออยากท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ อยากทำงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว  ส่วนการเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ สตาร์ทอัพ ล้วนไม่ใช่ แต่หลังจากการได้ไปเข้าร่วมโครงการเรียนแพทย์ ชอบเรียนชีววิทยากับเคมี จึงเลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ แต่กลับสอบติดคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ตัดสินใจเรียน แม้ไม่ได้เรียนในสิ่งที่ฝัน แต่การได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และตั้งใจว่าจะทำให้ดี ก็ทำให้เรามีความสุขได้

วัคซีนใบยาเดินหน้ารุ่นสอง  สร้างความมั่นคง\"ยา-วัคซีน\"

รศ.ดร.วรัญญู กล่าวว่า ปัจจุบันถือว่ามีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือชีวิตส่วนตัว รอบตัวมีแต่ผู้หญิงที่เป็นผู้นำ หลายคนมีรู้ความสามารถหลากหลายด้าน เป็นทั้งอาจารย์ผู้สอนหนังสือ หรือ CEO ในบริษัทสตาร์ทอัพ ทำได้หลายบทบาท

“ผู้หญิง” เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนในหลายเรื่อง ซึ่งในทุกแวดวง ทุกองค์กร หน่วยงาน จะเห็นผู้หญิงทำงาน แสดงความสามารถในบทบาทต่างๆ ฉะนั้น ยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย หญิงไทย ไม่จำเป็นต้องอยู่บ้าน เลี้ยงลูกเพียงอย่างเดียว แต่มีพื้นที่ให้ทุกคนได้เป็นตัวของตัวเอง และมีสิทธิเท่าเทียบกับผู้ชายในทุกเรื่อง

  • “ผู้หญิง”กับบทบาทผู้นำ ยอมรับความต่าง อย่างไร้อคติ

 ปัจจุบัน เราพบว่า “ผู้หญิง” มีบทบาทในการทำงาน และขึ้นเป็นผู้นำมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐ ยุโรป มีการแบ่งสัดส่วนผู้นำที่มีตำแหน่งรองจาก CEO จากเดิมเป็นผู้ชาย 100% มาเป็นผู้ชาย 70% และหญิง 30% ตามแนวคิด Diversity and Inclusion (D&I) การบริหารที่สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของพนักงานในองค์กร ทั้งในด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ความบกพร่องทางร่างกาย เพศสภาพ และประสบการณ์ เป็นต้น

ในปัจจุบัน มีการเพิ่ม “Equity” เป็น Diversity, Equity & Inclusion เพิ่มความไม่อคติเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดการยอมรับในความหลากหลายอย่างแท้จริง “นภัส ศิริวรางกูร” พาร์ทเนอร์ บริษัท คินเซนทริค ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล เผยว่า คินเซนทริค ได้มีการศึกษาด้าน Diversity, Equity & Inclusion อย่างเข้มข้น พบว่า ผู้หญิงและผู้ชายในตอนนี้ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ประเทศไทย รวมถึงเอเชียแปซิฟิก ผู้หญิงมีบทบาทขึ้นมาเป็นผู้นำเป็นสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเปิดโอกาสให้กับความหลากหลายเห็นชัดเจน

วัคซีนใบยาเดินหน้ารุ่นสอง  สร้างความมั่นคง\"ยา-วัคซีน\"

ขณะเดียวกัน เมื่อพูดถึงองค์กรที่เป็น Best Employer จะมีนโยบายชัดเจน อาทิ ระดับรองจาก CEO ลงมาจะต้องมีการกำหนดสัดส่วนว่าผู้หญิงต้องมีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้โอกาสผู้หญิงและผู้ชายอย่างเท่าเทียมกัน เช่น คินเซนทริค เพิ่งประกาศ CEO คนใหม่ ซึ่งเป็นผู้หญิง และเรามีความภูมิใจที่มีผู้นำเป็นผู้หญิงและเก่ง รวมถึงมีแนวทางการวางทิศทางที่ชัดเจน

ในบริษัทข้ามชาติทั้งหลาย ค่อนข้างมีการวางสัดส่วน จากการศึกษาในปี 2014 ก็เริ่มมีการวางสัดส่วนผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงไว้ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ทางสหรัฐอเมริกา ยุโรป ขณะที่ในประเทศไทย จะเห็นนโยบายดังกล่าวอยู่ในบริษัทข้ามชาติที่เป็นบริษัทลูกจากต่างประเทศ มีสาขาในเมืองไทยจะรับนโยบายมาด้วย

การกำหนดสัดส่วน เช่น ในตำแหน่งที่รองจาก CEO จากเดิมผู้ชายอาจจะ 100% จะเป็นผู้ชาย 70% และผู้หญิง 30% ขึ้นอยู่กับการวางเป้าหมายด้วยเช่นกัน โดยการค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนตามความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะอยู่ในความไม่อคติ (Equity) มีความเท่าเทียมกันในโอกาสจริงๆ ในผู้หญิงและผู้ชาย

“ในอดีตจะเป็น Diversity and Inclusion (D&I) แต่ตอนนี้จะเป็น Diversity, Equity & Inclusion (DE&I) มีเรื่องของความไม่อคติเพิ่มเข้ามาด้วย ดังนั้น ในอนาคตจะเป็นการเพิ่มโอกาส เป็นสิ่งที่สำคัญ เราจะมองแค่หลากหลายแล้วเอามารวมกันไม่ได้ ต้องมีความไม่อคติด้วยเป็นแกนสำคัญ รวมถึงกลุ่ม LGBTด้วย ก็จะมีการดูแลและให้ความสำคัญ เช่น หลายองค์กรจะมีการให้สวัสดิการกลุ่ม LGBT ในการผ่าตัดแปลงเพศได้ ให้ลาหยุดได้ เป็นการเติมเต็มความรู้สึกของคนๆ นั้น” นภัส กล่าว

ยกตัวอย่าง กรุงไทย-แอกซ่า ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ฝรั่งเศส ก็จะใช้นโยบายต่างประเทศด้วย โดยมีผู้นำเป็นผู้หญิง คือ “แซลลี่ โอฮาร่า” เรียกว่ามีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กรไปพร้อมๆ กับผู้นำคนอื่นๆ ขณะเดียวกัน ก็มีตัวอย่าง “ศุภจี สุธรรมพันธุ์” จาก ดุสิตกรุ๊ป และ ผู้นำอีกหลายคน เช่น อดีต CEO ของ DHL “ชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์” เป็นผู้นำองค์กรหญิงที่พา DLH ผ่านวิกฤติที่สนามบินถูกปิด ให้รอดและกลายเป็นองค์กรที่เติบโตได้