23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน เน้นความปลอดภัยของคนไทยควบคู่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมขอความร่วมมือประชาชนงดเข้าสถานที่เสี่ยง ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด ขณะที่ยอดผู้เดินทางเข้าไทยเดือนก.พ. ติดเชื้อกว่า 3 พันคน

วันนี้ ( 22 ก.พ. 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จะเป็นประธานการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ในวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ. 2565)

  • 23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งพิจารณาปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ

โดยที่ประชุม ศบค. จะพิจารณาการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร แผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยของคนไทยควบคู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 เป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ ฉะนั้น ขอความร่วมมือประชาชนงดเข้าสถานที่เสี่ยง เลี่ยงการรวมกลุ่ม ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด หากมีความเสี่ยงขอให้กักตัวเอง และมาตรการในการควบคุมโรคยังมีความสำคัญ

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังยืนยันถึงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ประชาชนสามารถใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง สิทธิ์ประกันสังคมและสิทธิ์สวัสดิการข้าราชการ 

 

 

  • ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีแดง รักษาสิทธิ์ยูเซ็ปได้

แต่หากผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการปอดบวม มีไข้สูง อยู่ในเกณฑ์สีแดงหรือภาวะการเข้าข่าย ฉุกเฉิน ก็ยังสามารถเข้ารักษายังหน่วยบริการนอกระบบตามหลักเดิมของ UCEP ที่มีอยู่เดิมได้ แต่หากไม่มีอาการก็เข้ารักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิ์ 

สำหรับสิทธิ์การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือ ยูเซ็ป คือ สิทธิ์การรักษาตามนโยบายรัฐเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤติและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ส่วนประกาศยกเลิกการกำหนดให้ผู้ติดโควิด-19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน แล้วให้ไปใช้สิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล จะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.นี้

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

 

  • โอมิครอน 2 เดือนยอดผู้ติดเชื้อพุ่งกว่า 5 แสนราย

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 22 ก.พ.2565 ว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ 18,363 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่จากในประเทศ 18,363 ราย ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 127 รายและผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 31ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่ม.ค.2565 จำนวน  526,126 ราย

 

 

  • ผู้ป่วยโควิดรักษาในรพ. กว่า 1.6 แสนราย

ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 35 คน ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 993 คน ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม  22,691 คน

ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่  169,074 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 827ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 214 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 15,651 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่เดือนม.ค.2565 จำนวน  389,302  ราย

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

รายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 35 ราย พบว่า เป็นเพศชาย 25 ราย หญิง 10 ราย เป็นชาวไทย 35 ราย โดยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 30 ราย คิดเป็น 86% และโรคเรื้อรัง 3 ราย คิดเป็น 11 % และเด็กไทย อายุ 14 ปี  1 ราย คิดเป็น 3%  รวม 100 %

  • พบผู้เดินทางเข้าประเทศติดเชื้อ 3 พันกว่าราย

ส่วน 10 อันดับจังหวัด ผู้ติดเชื้อสูงสุด มีดังนี้ กทม. 2,638 ราย  ชลบุรี 929  ราย สมุทรปราการ 887 ราย นนทบุรี 792 ราย นครศรีธรรมราช 741 ราย นครราชสีมา  716 ราย  ภูเก็ต 660 ราย สมุทรสาคร 593 ราย นครปฐม 479 ราย และสุรินทร์ 425  ราย

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

ทั้งนี้ หลังจากประเทศไทยเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ สามารถเข้าทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้ 1- 21 ก.พ.2565 สะสม  144,610 คน  ติดเชื้อ 3,619 ราย อัตราการติดเชื้อ 2.50%  แบ่งเป็น Test&Go  เดินทางเข้าไทย  88,755 คน ติดเชื้อ 933 ราย 1.05 % Sandbox  48,156คน ติดเชื้อ  2,454 ราย 5.10 %  และ Quarantine  7,699 คน ติดเชื้อ 232  ราย 3.01 %

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

  • ยอดฉีดวัคซีนเข็ม 3 จำนวนกว่า 19 ล้านคน

ยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564-21 ก.พ.2565 สะสมทั้งหมด 121,915,999 โดส  แบ่งเป็น เข็มที่ 1 สะสม 53,163,555ราย คิดเป็น 76.4 % ของประชากร เข็มที่ 2 สะสม 49,496,871 คิดเป็น 71.2%ของประชากร เข็มที่3 สะสม 19,255,573 ราย คิดเป็น 27.7% ของประชากร  

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

ทั้งนี้ สำหรับผลการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายหลัก พบว่า ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ.2565 มี ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 12,711,943 ราย ฉีดเข็มที่1  จำนวน 10,508,486 โดส ครอบคลุม 82.7% เข็มที่ 2 จำนวน 9,903,638 โดส ครอบคลุม 78.0% และเข็มที่ 3 จำนวน 3,518,378 โดส ครอบคลุม 27.7%

23 ก.พ.นี้ ศบค.เล็งปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศ-แผนบริการวัคซีน

ขณะที่ กลุ่มผู้ที่มีอายุ 5-11 ปี ข้อมูล ณ วันที่ 21 ก.พ.2565 พบว่า มีจำนวนเป้าหมาย 5,150,082 คน ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 417,179 โดส ครอบคลุม 8.1% เข็มที่ 2 จำนวน 13,807 โดส ครอบคลุม 0.3%