รับมืออย่างไร เมื่อประสบภัยทาง "ไซเบอร์"

รับมืออย่างไร เมื่อประสบภัยทาง "ไซเบอร์"

"กรมสุขภาพจิต" จับมือ "การีนา" เดินหน้าสร้าง "สังคมออนไลน์" สีขาว ที่ปลอดภัยต่อเด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการ Game On : Digitally Safe and Sound ใช้เกมและบอร์ดเกม สื่อสารเยาวชน ลดปัญหา "ไซเบอร์บูลลี่" รับมือภัย "ไซเบอร์"

การเข้าถึงโซเชียลมีเดียในปัจจุบันที่ง่ายขึ้น ทำให้เด็ก และเยาวชน ตกเป็นเหยื่อภัย "ไซเบอร์" เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโดน บูลลี่ (Bully) การโดนหลอกลวง ล้อเลียน และบางครั้งนำไปสู่การสูญเสีย การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนในยุคนี้ จึงถือเป็นเกราะป้องกัน ไม่ว่าจะสร้างความรู้ ความเข้าใจทั้งผลดีและผลเสีย ในการใช้อินเทอร์เน็ต เสริมพลังบวกสานสัมพันธ์ครอบครัว พร้อมรับมือ ผลกระทบบนโลกออนไลน์

 

วันนี้ (8 ก.พ. 2565) กรมสุขภาพจิต และ บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ประสานความร่วมมือเปิดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สานสัมพันธ์ครอบครัวพร้อมรับมือผลกระทบบนโลกออนไลน์ Game On: Digitally Safe and ณ ห้องประชุม Sapphire 201 อาคาร Impact Forum โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้ และความเข้าใจกับเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ในการสร้างสังคมออนไลน์สีขาว โดยใช้เกมและ บอร์ดเกม เป็นสื่อกลางการสื่อสารไปสู่เยาวชน

 

รวมถึงเป็นตัวกลางสร้างพื้นที่แห่งการสนทนาในครอบครัว เน้นให้ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  • อินเทอร์เน็ต ทำให้การ "บูลลี่" ชัดเจนขึ้น

 

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และโฆษกกรมสุขภาพจิต เผยว่า ปัญหาบูลลี่ ซึ่งมีมาก่อนหน้านี้เป็นเวลานาน แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ ทำให้ปัญหาที่มีอยู่เดิมชัดเจนมากขึ้น แต่เดิมการบูลลี่มักจะอยู่ในโรงเรียน เกิดขึ้นต่อหน้า เกิดขึ้นแค่เวลากลางวัน ในพื้นที่ที่เราอยู่

 

แต่อินเทอร์เนตทำลายกำแพง ทำให้การบูลลี่เกิดขึ้นลับหลัง แม้แต่เวลาเราหลับ เกิดขึ้นข้ามโลกก็ได้ ทำให้ขอบเขตการบูลลี่ขยายไม่มีลิมิต ส่งผลให้ปัญหามากขึ้น คนส่วนหนึ่งไม่สามารถตามทันเทคโนโลยี เขาไม่รูว่าผลกระทบย้อนกลับมาอย่างไร ทำให้เกิดปัญหากฎหมายตามมา จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม

"ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก็สามารถถูกบูลลี่ได้ เราไม่สามารถควบคุมความคิด หรือคำพูดของคนได้ สิ่งที่จะบอกเสมอว่า สุดท้ายหากทนไม่ไหว ต้อง "ปิดจอ" สิ่งเริ่มแรก จะต้องรู้ตัวก่อนว่าเรากำลังถูกทำอะไรอยู่ บางคนเมื่อโดนบ่อยๆ แผลที่เกิดจากการบูลลี่จะซ้ำเติมเรา ต้องเตือนสติตัวเอง จากการเริ่มบอกคนที่บูลลี่ว่าให้หยุด แต่หากหยุดไม่ได้ ก็คือ เก็บข้อมูล และ สอง คือ เดินหนีไป บางคนบอกว่าต้องตาต่อตาฟันต่อฟัน ความจริงมันได้แต่เราก็จะกลายเป็นผู้กระทำ แนะนำว่าสุดท้ายหากได้รับผลกระทบ การคุยกับคนรอบข้างสำคัญ จะช่วยให้เราผ่านสถานการณ์ไป"

 

  • ควรสอนเด็กตั้งแต่เริ่มใช้

 

ดร.นพ.วรตม์ กล่าวต่อไปว่า การเริ่มสอนเด็ก ควรเริ่มสอนตั้งแต่เขาเริ่มใช้อินเทอร์เน็ต ต้องเริ่มให้รู้ว่ามีประโยชน์และโทษแฝง สอนตั้งแต่เนื้อหาเบื้องต้นว่าสิ่งนี้คืออะไร มีหน้าที่อะไรสามารถใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น มีเพื่อน มีการแสดงตัวตน อ่านเนื้อหาข้อมูล

 

"ในขณะเดียวกัน เราต้องโชว์อีกด้านหนึ่ง ว่าภายใต้ข้อมูลยังมีเนื้อหาข่าวปลอม อินเทอร์เน็ตสร้างเพื่อนแต่ก็สามารถเสียเพื่อนได้ การสร้างตัวตนของเรา อาจจะมีคนเอาตัวตนของเราไปหลอกลวงหรือบูลลี่สิ่งที่เราเป็น ทุกอย่างมีเหรียญสองด้าน ดังนั้น หากเราจะสอนต้องสอนทั้งสองด้านของเหรียญด้วย"

  • บูลลี่ ปัญหาเชิงระบบ

 

สำหรับ การแก้ปัญหาบูลลี่ ดร.นพ.วรตม์ ให้ความเห็นว่า การบูลลี่ เป็นปัญหาเชิงระบบ การกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ คือ มีรากมาจากการไม่สามรรถยอมรับความแตกต่างได้ กลายเป็นรากของความรู้สึกของคนไทย เรื่องธรรมดาที่ส่วนใหญ่มักจะทำกัน คือ การที่ทักทายกันว่า อ้วน ผอม ความจริงเป็นจุดเริ่มต้นของการบูลลี่โดยไม่รู้ตัว

 

"คำเหล่านี้ไม่ใช่การทักทายปกติ ต้องมองว่าทุกคนมีความเท่าเทียม เป็นคน ปัญหาการบูลลี่จะลดลง แต่ต้องทำร่วมกัน อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็ก โซเชียลเป็นชีวิตของคนยุคนี้ ต้องทำความเข้าใจ ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เจอ เชื่อว่าทุกคนมีโอกาสเรียนรู้และหากร่วมมือกันจะช่วยแก้ปัญหาได้ เราหยุดเขาไม่ได้ แต่ปัญหาจะเบาบางลง"  

 

  • รู้เท่าทันความเสี่ยง 3C

 

นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนมาโดยตลอด โดยเราต้องการให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้เติบโตทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ และเด็ก ๆ สามารถรู้เท่าทันความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ได้ ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าว คือ  “3C” ได้แก่

 

Content – เยาวชนรับรู้เนื้อหาอันตราย ข้อความรุนแรง เกลียดชัง

Contact - เยาวชนเสี่ยงจากการเชื่อมต่อบุคคลที่ปฏิบัติต่อเราไม่ดี หาผลประโยชน์ หรือหลอกลวงเรา

Conduct – เยาวชนเองอาจเผลอใช้ช่องทางนี้ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือเผลอโพสท์ไม่ดีต่อคนอื่นอย่างไม่ตั้งใจ

 

รับมืออย่างไร เมื่อประสบภัยทาง \"ไซเบอร์\"

 

การที่กรมสุขภาพจิตร่วมมือกับ บริษัท การีนา ออนไลน์ ในครั้งนี้ จึงเป็นความร่วมมือสำคัญระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างสังคมออนไลน์ กระทรวงสาธารณสุขจึงยินดีที่จะดำเนินการสนับสนุนโครงการหรือแนวทาง เพื่อพัฒนาส่งเสริมขีดความสามารถให้เด็กและเยาวชน

 

รวมไปถึงส่งเสริมการกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้พร้อมรับมือผลกระทบ บนโลกออนไลน์ทุกรูปแบบเพราะเยาวชนไทยคือบุคคลสำคัญ พวกเขาคืออนาคตข้างหน้าของประเทศไทย พวกเขาคือผู้ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตต่อไป 

 

  • เร่งสร้าง พื้นที่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ 

 

ด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยว่า เด็กและเยาวชน คือตัวแปรที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทยและประเทศชาติ ในอนาคตการพัฒนาพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนให้พวกเขาสามารถเติบโตได้อย่างมีความสุขและสามารถพัฒนาศักยภาพได้สูงสุดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

 

พื้นที่ปลอดภัยบนสังคมออนไลน์ จึงกลายเป็นภารกิจเร่งด่วนของทุกคนที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นเนื่องจากเด็กและเยาวชนในปัจจุบันสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลาและใช้ชีวิตส่วนมากอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้น การผลักดันให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยขึ้นบนสังคมออนไลน์

 

รับมืออย่างไร เมื่อประสบภัยทาง \"ไซเบอร์\"

 

  • ส่งเสริมแนวคิด 3 ป.

 

ขณะที่การส่งเสริมแนวคิดการสร้างและแบ่งปันพลังบวกสู่คนรอบข้างและคนในสังคม เช่น 

 

“เปิดใจ เปลี่ยนแปลง

 

"ปิดจอ หรือ การ “คิดดี พูดดี ทำดี” ที่กรมสุขภาพจิต และ บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) ร่วมกันนำเสนอ จะสร้างเสริมให้เกิดสังคมที่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นในประเทศไทยตรงกับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข เสริมสร้างภูมิคุ้มกันสานสัมพันธ์ครอบครัวพร้อมรับมือผลกระทบบนโลกออนไลน์ สร้างความตระหนักเรื่องนี้ในสังคมผ่านทุกครอบครัว เพราะผู้ปกครองเองก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนเยาวชนเช่นกัน การจะเชื่อมโยงสมาชิกในครอบครัวที่ต่างวัย ให้รู้จัก

 

“เปิดใจ ศึกษา และขยับเข้าหา” จะเป็นรากฐานสำคัญของครอบครัวในการเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างปลอดภัย

 

  • Game On สร้างสังคมออนไลน์ สีขาว

 

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า การปลูกฝังให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันและเข้าใจการใช้สื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในครอบครัว ควรช่วยกันปลูกฝังในเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วยกันป้องกันและลดปัญหาหรือภัยออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยของเรา

 

โครงการ Game On: Digitally Safe and Sound เพื่อให้ความรู้ และความเข้าใจกับเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ในการสร้างสังคมออนไลน์สีขาว โดยใช้เกมเป็นสื่อกลางการสื่อสารไปสู่เยาวชน รวมถึงเป็นตัวกลางสร้างพื้นที่แห่งการสนทนาในครอบครัว เพราะเราเชื่อว่าครอบครัวเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รับมืออย่างไร เมื่อประสบภัยทาง \"ไซเบอร์\"

 

  • หนังสั้น สร้างความตระหนักเยาวชน ผู้ปกครอง

 

นอกจากนี้ยังมี ชุดหนังสั้น Be Strong, Be Kind, Be There ที่เริ่มทยอยปล่อยออกไปให้รับชมกันแล้ว โดยหนังสั้นชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักทั้งในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองในวงกว้างถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมพลังบวก และสานสัมพันธ์เยาวชนและครอบครัวพร้อมรับมือกับการใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ของเด็ก ๆ ได้อย่างถูกต้อง

 

  • บอร์ดเกม รับมือภัยไซเบอร์

 

ขณะเดียวกัน กรมสุขภาพจิต และ บริษัท การีนา ออนไลน์ ได้ร่วมพัฒนาบอร์ดเกมที่มีชื่อว่า “The.Net Threat  เกมกลโลกไซเบอร์” ซึ่งมีการจัดงาน Play Test ไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ และแผนการดำเนินการถัดไปนั้น บริษัท การีนา ออนไลน์ จะดำเนินการผลิตบอร์ดเกมเพื่อส่งต่อให้กรมสุขภาพจิตเพื่อนำไปเผยแพร่ให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยกระจายสู่เด็กและเยาวชนต่อไป

 

"เพราะอินเทอร์เน็ตนั้นมีประโยชน์ถ้าเราเข้าใจและใช้มันอย่างถูกต้อง และเราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสังคมออนไลน์ให้เป็นสังคมสีขาวที่ปลอดภัย ภายใต้การทำธุรกิจของบริษัท การีนา ออนไลน์ และพันธกิจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ต่อไปในอนาคต"

 

รับมืออย่างไร เมื่อประสบภัยทาง \"ไซเบอร์\"