เช็คที่นี่ "วัคซีนเข็มกระตุ้น" เข็มที่ 4 ใครควรฉีดบ้าง ?

เช็คที่นี่ "วัคซีนเข็มกระตุ้น" เข็มที่ 4 ใครควรฉีดบ้าง ?

สธ. แผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 เดือนมกราคม 2565 "วัคซีนเข็มกระตุ้น" เข็มที่ 4 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง 

วันนี้ (13 ม.ค. 65) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงาน จำนวนการได้รับ "วัคซีนโควิด-19" สะสม (28 ก.พ. - 12 ม.ค. 2565) รวม 107,771,259 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 51,642,575 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 47,172,252 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 8,956,432 ราย

 

  • ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 12 มกราคม 2565

 

ยอดฉีดทั่วประเทศ 499,355 โดส

เข็มที่ 1 : 49,703 ราย

เข็มที่ 2 : 116,093 ราย

เข็มที่ 3 : 333,559 ราย

 

เช็คที่นี่ \"วัคซีนเข็มกระตุ้น\" เข็มที่ 4 ใครควรฉีดบ้าง ?

  • สูตรฉีดวัคซีนเข็ม 4 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 65 ได้เปิดแผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 เดือนมกราคม 2565 แนวทางการฉีด "วัคซีนเข็มกระตุ้น" เข็มที่ 4 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง 

 

โดยตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 10/2564 วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 ระบุว่า 

 

ผู้ที่รับวัคซีนเข็ม 1-2 ซิโนแวค - ซิโนแวค เข็ม 3 แอสตร้าเซนเนก้า 

กระตุ้นเข็ม 4 : แอสตร้าเซนเนก้า / ไฟเซอร์ / โมเดอร์นา

ระยะห่าง : 3 เดือนขึ้นไปหลังเข็มที่ 3

 

ผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็ม 1-2 ซิโนแวค - ซิโนแวค เข็ม 3 ไฟเซอร์ 

กระตุ้นเข็ม 4 : ไฟเซอร์ / โมเดอร์นา

ระยะห่าง : 3 เดือนขึ้นไปหลังเข็มที่ 3

 

สำหรับ ส่วนกลุ่ม "ประชาชนทั่วไป" ที่แข็งแรงดีและได้รับวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ไปแล้ว นพ.โอภาส กล่าวว่า ทางคณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาอีกครั้งว่าให้ไปรับเข็มที่ 4 อย่างเป็นทางการเมื่อใด ให้ประชาชนติดตามความคืบหน้าอีกครั้งเร็วๆ นี้

 

 

  • ฉีดครึ่งโดส ฉีดในผิวหนังได้หรือไม่ 

 

ทั้งนี้ สำหรับการฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" เข็มกระตุ้น เข็มที่ 4 แนะนำให้ฉีดโดสตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ประสงค์จะฉีดครึ่งโดส หรือฉีดเข้าในผิวหนังให้เป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ และความสมัครใจ ของผู้รับวัคซีน 

 

การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็มที่ 4 ในกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนสูตรอื่นๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ และความสมัครใจของผู้รับวัคซีน 

 

 

  • แผนฉีดวัคซีนโควิด ม.ค. 65 เข็ม 1-4 

 

วัคซีนเข็ม1 

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

จำนวน : 1 ล้านคน

สูตรวัคซีน

  • แอสตร้าเซนเนก้า + แอสตร้าเซนเนก้า
  • แอสตร้าเซนเนก้า + ไฟเซอร์ 
  • ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า

ไฟเซอร์ + ไฟเซอร์ (ให้สำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปีเป็นหลัก)

 

วัคซีนเข็ม 2

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่มีกำหนดการรับวัคซีนตามนัด

จำนวน : 2.1 ล้านคน

สูตรวัคซีน

  • แอสตร้าเซนเนก้า + แอสตร้าเซนเนก้า
  • แอสตร้าเซนเนก้า + ไฟเซอร์
  • ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า 

**ไฟเซอร์ + ไฟเซอร์ (ให้สำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปีเป็นหลัก)

 

วัคซีนเข็ม 3

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และผู้ที่เคยติดเชื้อ

จำนวน : 5.5 ล้านคน

สูตรวัคซีน

  • แอสตร้าเซนเนก้า หรือ ไฟเซอร์

**ไฟเซอร์ (สำหรับผู้ได้รับเข็ม 1-2 คือ Az+Az เป็นหลัก)

 

วัคซีนเข็ม 4

กลุ่มเป้าหมาย : แพทย์/ด่านหน้า/กลุ่มเสี่ยง

จำนวน : 0.7 ล้านคน

สูตรวัคซีน 

  • แอสตร้าเซนเนก้า หรือ ไฟเซอร์

รวมทั้งสิ้น 9.3 ล้านคน 

 

เช็คที่นี่ \"วัคซีนเข็มกระตุ้น\" เข็มที่ 4 ใครควรฉีดบ้าง ?

 

  • กทม.ฉีดวัคซีน อัตราเสียชีวิตต่ำ 

 

ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 เขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร  ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่า 939 ราย เสียชีวิต  3 รายในวันนี้ (13 ม.ค. 65) นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง(สปคม.) กรมควบคุมโรค (คร.) เผยว่า ประวัติการได้รับวัคซีนของผู้เสียชีวิต ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.2564 – 6 ม.ค.2565 จำนวน 6,905 คน  พบว่า เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบ 4,266 คน คิดเป็น 61.8% ได้รับวัคซีนครบโดส 940 คน คิดเป็น 13.6 % ซึ่งค่อนข้างต่ำ และไม่ระบุ  1,699  คนคิดเป็น 24.8% 

 

ผลการสอบสวนการระบาดในกรุงเทพฯ  ที่พบมาก คือ 1.กลุ่มร้านอาหารกึ่งปิดที่ปรับจากร้านอาหารประเภทผับ บาร์ โดยแต่ละกลุ่มพบมากกว่า 5 รายขึ้นไป  ซึ่งได้มีการหารืออยู่ว่าหากพบการระบาด อาจจะมีการถอนการรับรองมาตรฐานการเปิดบริการ  ทั้งนี้ ประชาชนที่พบร้านเหล่านี้ที่มีความเสี่ยงสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานเขตและสปคม. 2.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อจากชุมชนหรือบุคคลที่ใกล้ชิด ยังไม่ใช่การรับเชื้อจากการเข้ารับบริการของผู้ป่วย

 

ข้อมูลตั้งแต่ปลาย ธ.ค. 2564 พบจำนวน 47 ราย ใน รพ.รัฐ 32 ราย และ รพ.เอกชน 15 ราย  ทั้งหมดฉีดเข็ม 3 แล้ว และบางคนฉีดเข็ม 4 แล้ว จึงอยากขอย้ำว่าแม้ว่าฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อได้ แต่ป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต ซึ่งทั้ง 47 รายไม่มีอาการรุนแรง