ศบค. ห่วง 8 "จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

ศบค. ห่วง 8 "จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

ศบค. เผยยังไม่มีผู้เสียชีวิตจาก "โอมิครอน" ผู้ป่วยเพิ่มแต่ความรุนแรงลดลง ทิศทางเป็นโรคประจำถิ่น ห่วง 8 "จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย กทม.พบ "คลัสเตอร์" โรงพยาบาล 5 แห่ง แนะบุคากรการแพทย์ ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 4

วันนี้ (12 ม.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล “พญ.สุมนี วัชรสินธุ์” ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค รายงาน สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,671 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,292,290 ราย เสียชีวิต 19 ราย เสียชีวิตสะสม 21,869 ราย ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ 66,286 ราย อาการหนักปอดอักเสบ 480 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 108 ราย หากเทียบผู้ป่วยที่เข้า รพ. 1,000 คน จะมีผู้ที่ปอดอักเสบ 7 คน และ ใส่ท่อช่วยหายใจ 1 คน

 

ศบค. ห่วง 8 \"จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว\" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

 

"สถานการณ์ในวันจันทร์ก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยพุ่งขึ้นแต่หลังจากนั้นผู้ติดเชื้อทิศทางทรงๆ และลดลงอย่างช้าๆ น่าจะเป็นผลจากการที่พยายามใช้มาตรการต่างๆ ชะลอ ควบคุมการระบาด คิดเป็นอัตราการติดเชื้อต่อแสนประชากรในช่วง ม.ค. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 100 ต่อแสนประชากร" 

 

สำหรับการเสียชีวิต ระลอก ม.ค. 65 พบว่าการรุนแรงน้อยกว่าระลอก เม.ย. 64 ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับวัคซีนเพิ่ม และในวันนี้ตัวเลขที่เป็นสัดส่วนของคนที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 1 ต่อพันคนที่รักษาในรพ. ดังนั้น ถึงแม้ผู้ติดเชื้อเพิ่ม แต่ความรุนแรงลดลง

 

"โควิดมีทิศทางเป็นโรคประจำถิ่น แต่ถึงแม้ว่าจะอยู่กับโรคก็ต้องอยู่วิถีใหม่ ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน อยู่ห่าง ล้างมือ บ้านเรายังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโอมิครอน ดังนั้น ความรุนแรงน้อยกว่าเดลตามาก"

 

ศบค. ห่วง 8 \"จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว\" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

  • กทม. อันดับ 1 ติดเชื้อเพิ่มเกือบ 2 เท่า

 

สำหรับรายงาน 10 อันดับติดเชื้อรายวัน พญ.สุมนี กล่าวว่า กทม.กลับมาเป็นอันดับ 1 อีกครั้ง คือ 892 ราย โดย กทม. มีการรายงานคลัสเตอร์พบใหม่ คือ คลัสเตอร์จากศูนย์ดูแลผู้สุงอายุในเขตธนบุรี ยอด 892 ราย เพิ่มจากเมื่อวานเกือบสองเท่า แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากที่คนกลับจากต่างจังหวัดมากขึ้น

 

ศบค. ห่วง 8 \"จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว\" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

 

  • ปัจจัยเสี่ยงกินข้าวกลางวัน - สังสรรค์หลังเลิกงาน

 

ปัจจัยเสี่ยงที่พบมาก คือ ช่วงพักทานข้าวเที่ยง หรือเลิกงาน มีการกินดื่ม ถอดหน้ากาก เวลานานทำให้มีการแพร่เชื้อในกลุ่มดังกล่าวโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือ โรงงาน โดยมาตรการหลังจากกลับมาปีใหม่ เรายังให้ยืด WFH ไปจนถึง 31 ม.ค. นี้ เพราะฉะนั้น หากป้องกันควบคุมไม่ให้แพร่ระบาด คือ WFH และหากต้องกลับมาทำงานก็ให้แยกกันรับประทานอาหาร

 

นอกจากนี้ อันดับ 2 ได้แก่ ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต ขอนแก่น อุบลราชธานี นนทบุรี เชียงใหม่ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ตามลำดับ

 

  • พื้นที่สีฟ้าแนวโน้มติดเชื้อ สูงขึ้น

 

ทั้งนี้ จาก 10 อันดับ ในวันนี้ ที่ประชุมมีความเป็นห่วงโดยเฉพาะจังหวัดนำร่องท่องเที่ยวสีฟ้า ซึ่งมียอดจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างมาก ได้แก่ นนทบุรี และ ปทุมธานี เมื่อ 3-4 วันก่อน ยังอยู่ที่หลักสิบ และกระโดดมาอยู่สามหลัก และทิศทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขอเน้นย้ำในมาตรการต่างๆ ด้านสาธารณสุข และรายงานติดเชื้อน้อยที่สุดวันนี้ คือ นราธิวาส 1 ราย

  • 8 จ.นำร่อง ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

 

อย่างที่แจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมมีความเป็นห่วงจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว 8 จังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดที่มียอดเพิ่มขึ้น ใน 8 จังหวัด ถ้าเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อวานนี้ ในวันนี้เพิ่มขึ้นมากว่า 507 ราย ซึ่งเป็นจำนวนมากขึ้น ขอเน้นย้ำให้จังหวัด 8 จังหวัดถึงแม้จะมีการเปิดกิจการกิจกรรมต่างๆ ได้ แต่ยังต้องกำกับติดตามให้อยู่ภายใต้มาตรการความปลอดภัยจากโรคทั้ง COVID Free Setting และเน้นย้ำให้ประชาชนทั้ง 8 จังหวัด ยังคงเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคลให้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน

 

  • คลัสเตอร์ รพ. 5 แห่ง

 

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า คลัสเตอร์สถานพยาบาล พบที่ กทม. 5 โรงพยาบาล ซึ่งถึงแม้ในแต่ละที่ จะพบผู้ติดเชื้อจำนวนน้อย 2-3 ราย แต่เนื่องจากเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญ ดังนั้น หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นขอให้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด และสุดท้าย คือ สถานศึกษา ได้แก่ จันทบุรี 6 ราย กทม. 5 ราย นนทบุรี 2 ราย

 

  • ความรุนแรงโรค ลดลง

 

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ลักษณะของโรคลดความรุนแรง ประชาชนมีภูมิต้านทานจากวัคซีน ระบบการดูแลรักษาในบ้านเรามีความพร้อม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากข้อมูลอัตราป่วยหนัก เสียชีวิตต่ำ และด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย สถานประกอบการ องค์กร พี่น้องประชาชน หากยังเคร่งครัดมาตรการ เราก้จะมีความหวงัว่าปีนี้โรคนี้จะเปลี่ยนจากโรคระบาดเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งในระยะนี้ยังต้องเน้นการคัดกรอง ATK เป็นหลัก

 

"หากไปร่วมกิจกรรมที่มีคนมาก ให้คัดกรอง ATK ก่อน ต้องใช้ประจำ และหากผลการตรวจเป็นบวก เกินครึ่งไม่มีอาการ อาการน้อย ดังนั้น ต้องรีบโทรไป 1330 เพื่อเข้าระบบกักตัวที่บ้านซึ่งเป็นการจัดการหลักในช่วงนี้ และจะต้องกระตุ้นให้คนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มให้ได้รับเข็มที่ 3 เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยุทธศาสตร์ในการจัดการจัดการโควิดในปีนี้ คือ ชะลอการระบาดให้ได้มากที่สุด"

 

  • ผู้เสียชีวิต 15 รายได้รับวัคซีนไม่ครบ

 

สำหรับผู้เสียชีวิต 19 รายในวันนี้ ค่ากลางของอายุอยู่ที่ 68 ปี อายุน้อยที่สุด 19 ปี และมากที่สุด 92 ปี โดยเป็นกลุ่มเสีย่ง 60 ปีขึ้นไปและโรคเรื้อรังกว่า 89% มีผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบกว่า 15 รายจา 19 ราย คิดเป็น 79% เช้านี้มีการพูดคุยในที่ประชุม EOC ด้วยมีความเป็นห่วงกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่เสียชีวิตอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว

 

ศบค. ห่วง 8 \"จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว\" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

 

เมื่อดูผลการฉีดวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวพบว่า ผู้สูงอายุฉีดเข็มที่ 1 แล้ว 75.8% กลุ่มโรคประจำตัว 78.1% ซึ่งพยายามให้กลุ่มดังกล่าวมาฉีดเพิ่มขึ้นเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เสียชีวิตมาก และมีนโยบายให้กลุ่มที่ฉีดครบโดสแล้ว มารับวัคซีนกระตุ้นเข็มสามให้มากขึ้น เพราะคนที่ฉีดครบก่อนหน้านี้จำนวนมาก ภูมิคุ้มกันจะตกลง ดังนั้น ตอนนี้การระบาดที่เพิ่มขึ้นควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด

 

ศบค. ห่วง 8 \"จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว\" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

 

  • ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 107 ล้านโดส

 

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 11 ม.ค. 2565) รวม 107,271,904 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 51,592,872 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 47,056,159 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 8,622,873 ราย

 

  • ภาพรวมยอดฉีดวัคซีนวันที่ 11 มกราคม 2565

 

ยอดฉีดทั่วประเทศ 513,208 โดส แบ่งเป็น

เข็มที่ 1 : 49,784 ราย

เข็มที่ 2 : 133,047 ราย

เข็มที่ 3 : 330,377 ราย

 

ศบค. ห่วง 8 \"จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว\" ติดเชื้อเพิ่ม 507 ราย

 

  • แนะบุคลากรการแพทย์ฉีดเข็ม 4

 

รายงานการฉีดวัคซีนวันนี้ เห็นว่าเป็นเข็มกระตุ้นกว่า 333,377 ราย ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากผู้ที่ฉีดเข็มกระตุ้นแล้ว กลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มที่ต้องฉีดเข็ม 4 คือ บุคลากรทางการแพทย์เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการ ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ จะได้มีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคขณะทำงาน โดยล่าสุด มีรายงานพบคลัสเตอร์บุคลากรทางการแพทย์ ในกทม. และก่อนหน้านี้มีการรายงานเป็นระยะ