ศบค. เผย "โอมิครอน" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

ศบค. เผย "โอมิครอน" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

ศบค. เผยไทยยังเป็นสายพันธุ์เดลตา 78.91% ส่วน "โอมิครอน" 20.92% มีผู้ป่วย 2,338 ราย กระจาย 55 จังหวัด ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ย้ำเร่งฉีดวัคซีนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ไม่ควรปล่อยสร้างภูมิฯ ตามธรรมชาติ เตรียมประชุมศบค. ชุดใหญ่ "ปรับมาตรการ" ศุกร์นี้

วันนี้ (5 ม.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล “พญ.สุมนี วัชรสินธุ์” ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค รายงาน สถานการณ์โควิด-19 ตามสายพันธุ์ ตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 – 4 ม.ค. 65 พบว่าเป็น

  • สายพันธุ์เดลตา 78.91%
  • สายพันธุ์โอมิครอน 20.92%

มีผู้ป่วย 2,338 ราย ขณะนี้ สายพันธุ์โอมิครอน กระจาย 55 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีการติดเชื้อ แพร่ระบาด ในจังหวัด คือ

  • กทม.
  • กาฬสินธุ์
  • ชลบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • ภูเก็ต
  • สมุทรปราการ

 

ศบค. เผย \"โอมิครอน\" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

 

จากรายงาน ผู้ป่วย "โอมิครอน" 2,338 ราย ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ และครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ คือ ติดเชื้อจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเคสที่ได้รับการตรวจหาเชื้อ ตอนนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม คนไข้ที่เข้ามาระบบการรักษา ส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา

 

ดังนั้น กลุ่มเสี่ยงหลักไม่ว่าจะ สายพันธุ์เดลตา หรือ โอมิครอน ก็ยังเป็นกลุ่มไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่เคยได้รับวัคซีน เพราะฉะนั้น จังหวัดที่ฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงได้น้อย อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป หรือ มีโรคประจำตัว จังหวดเหล่านี้ต้องมีการรองรับการรักษาให้พร้อม

 

ศบค. เผย \"โอมิครอน\" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

 

  • 10 จังหวัดฉีด 608 เข็ม 2 ยังต่ำ

 

โดย 10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีน เข็ม 2 ให้กับกลุ่มเสี่ยง 608 ยังต่ำ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส แม่ฮ่องสอน ยะลา นครนายก ขอนแก่น ตาก ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ซึ่งการเตรียมระบบการรักษา ต้องมีการเตรียมทั้งใน รพ. และการทำการรักษาที่บ้าน รักษาในชุมชน ให้พร้อม เนื่องจากอาการสำหรับผู้ป่วยในช่วงนี้จะเป็นวัยทำงาน หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ อาการจะไม่รุนแรง แต่ต้องมีการกักตัวรักษาเพื่อไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น

 

ศบค. เผย \"โอมิครอน\" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

 

"ทั้งนี้ จากที่ประชุมได้มีการพูดคุยถึงการรองรับด้านสาธารณสุขกรณีมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก อาการน้อย อาการไม่รุนแรง โดยจัดทำแนวทางดูแลที่บ้าน Home isolation และมีระบบการติดตามอาการต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังว่าหากมีอาการหนัก จะได้ส่งต่อรักษาอย่างทันท้วงที" พญ.สุมนี กล่าว 

 

  • ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 104 ล้านโดส

 

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 4 ม.ค. 2565) รวม 104,544,852 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น 

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 51,312,938 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 46,180,074 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 7,051,840 ราย

 

  • ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 4 มกราคม 2565

 

ยอดฉีดทั่วประเทศ 20,281 โดส

เข็มที่ 1 : 2,826 ราย

เข็มที่ 2 : 7,411 ราย

เข็มที่ 3 : 10,044 ราย

 

ศบค. เผย \"โอมิครอน\" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

 

  • ผู้เสียชีวิตในไทย 84% ไม่ได้ฉีดวัคซีน/ฉีดไม่ครบ

 

สำหรับ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ มีผู้ติดเชื้อ 3,899 ราย ติดเชื้อสะสม 2,239,475 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 19 ราย เสียชีวิตสะสม 21,769 ราย รักษาตัวอยู่ 34,877 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 541 ราย และใส่ท่อหายใจ 149 ราย

 

ศบค. เผย \"โอมิครอน\" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

 

สำหรับรายงาน ผู้เสียชีวิต 19 ราย ค่ากลางอายุราว 69 ปี โดยเป็นผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด 17 ปีและมากที่สุด 88 ปี โดยมีการรายงานจากเชียงราย 4 ราย รองลงมาคือ กทม. 3 ราย โดยกลุ่มเสียชีวิต ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง คือ สูงอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป 14 ราย (74%) และ โรคเรื้อรัง 3 ราย (16%) รวมทั้งสองกลุ่มคิดเป็น 90% ทั้งนี้ ในจำนวนผู้เสียชีวิต 19 ราย มีถึง 16 รายยังไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ คิดเป็น 84% ของผู้เสียชีวิต ตัวเลขติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มจากวานนี้ (3,091 ราย) ดังนั้น หลังวันหยุดเทศกาลปีใหม่ยังคงไว้วางใจไม่ได้

 

ศบค. เผย \"โอมิครอน\" กระจาย 55 จ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นเดลตา 78.91%

  • ไม่ควรสร้างภูมิฯ โดยติดเชื้อธรรมชาติ

 

จากประเด็นข้อคำถามว่า โอมิครอน แพร่ง่าย แต่ไม่รุนแรง จะปล่อยให้การติดเชื้อโดยธรรมชาติมากกว่าการฉีดวัคซีนได้หรือไม่ พญ.สุมนี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน ยังไงก็ดีกว่าการมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติแน่นอน ด้วยเหตุผล คือ

 

1.หากมีการแพร่ระบาดติดเชื้อในวงกว้าง อย่างลืมว่าการติดเชื้อโอมิครอนมีการระบาดอย่างรวดเร็ว และหากมีการติดเชื้ออย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ระบบสาธารณสุข ในประเทศอาจจะรองรับไม่ทัน

 

2. ถึงแม้ว่าคนไทยจะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมากกว่า 60% แต่ก็ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงหากได้รับเชื้อจะทำให้มีอาการหนักและอัตราการเสียชีวิตสูง

 

3. ขณะนี้ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ ไม่รู้ว่าหลังติดเชื้อแม้จะไม่เสียชีวิต แต่ระยะยาวก็ไม่แน่ใจว่าจะมีภาวะ Long Covid หรือไม่ คือ มีระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติจากเดิมหรือไม่ หรือ ระบบการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติจากเดิมหรือไม่เป็นการผิดปกติระยะยาวหลังได้รับเชื้อ

 

4. หากปล่อยให้มีการแพร่ระบาดจำนวนมาก เหมือนเป็นการส่งเสริมให้เชื้อมีการกลายพันธุ์ได้มากขึ้น และเชื้อโรคจะมีความซับซ้อนและทำอันตรายเราได้มากขึ้น ดังนั้น ถึงจะมีโอมิครอนเข้ามาในไทย การได้รับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันก็จะมีความปลอดภัยต่อคนไทย มากกว่าการติดเชื้อและเพิ่มภูมิโดยธรรมชาติ

 

  • เตรียมประชุม “ปรับมาตรการ” ศุกร์นี้

 

ท้ายนี้ หลังจากที่มาตรการช่วงปีใหม่ และจากที่ได้เคยแจ้งก่อนหน้านี้ว่า จะมีการประเมินสถานการณ์หลังจากชะลอ การรับนักท่องเที่ยวแบบ Test & Go มีการประเมินสถานการณ์ตั้งแต่ 4 ม.ค. เป็นต้นมา มีการประชุม ศบค. ชุดเล็กเพื่อเตรียมสถานกาณ์ปีใหม่ที่ผ่านมา เข้าที่ประชม 7 ม.ค. 65 โดยศุกร์นี้จะมีการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ วาระสำคัญ คือ

 

1. การปรับพื้นที่สีตามสถานการณ์ สำคัญ ในการจำกัดจำนวนคน การรวมกลุ่ม การทำกิจกรรม ทั้งการอนุญาตดื่มสุราในร้านอาหาร

 

2.การปรับมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค จากเดิมที่มีแนวโน้มว่าจะพิจารณาเปิดสถานบันเทิง แต่ปีใหม่ที่ผ่านมาพบการติดเชื้อจำนวนมากในคลัสเตอร์ร้านอาหาร ที่เป็นกึ่งผับบาร์ และไม่ได้อยู่ภายใต้การจัดการมาตรการ COVID Free setting จะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจในวันที่ 7 ม.ค. นี้ ว่าจะมีการเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะหรือไม่

 

3. ปรับมาตรการ Test & Go ที่ได้ชะลอไปก่อนหน้านี้ รวมถึงวาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการโอมิครอนเพิ่มเติมขอให้ประชาชน สถานประกอบการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการดำเนินการตามมาตรการอย่างถูกต้อง เพื่อดำเนินการอย่างปลอดภัยทุกภาคส่วน