ข่าวปลอม! อย่าแชร์ การทดสอบPCR เป็นการสร้างความเสียหายต่อสมอง

ข่าวปลอม! อย่าแชร์ การทดสอบPCR เป็นการสร้างความเสียหายต่อสมอง

กรมการแพทย์ ยืนยันตรวจPCR ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อสมอง ระบุการ Swab ที่จะทำให้เกิดการทะลุไปยังสมองหรือส่วนอื่น ๆ ของสมองเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ ย้ำข่าวปลอม อย่าแชร์ การทดสอบ PCR สร้างความเสียหายต่อสมอง

ตามที่มีการส่งต่อข่าวสารในประเด็นเรื่อง การทดสอบ PCR เป็นการสร้างความเสียหายต่อสมอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลว่าในปี 2020 เด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่รอดพ้นการการทดสอบ PCR มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีอาการแสดงการติดเชื้อโควิดเลย กระทั่งปี 2021 เมื่อมีการทดสอบเชิงรุก พวกเขาก็เริ่มแสดงอาการที่เกิดจากโควิดทันที ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นการสร้างความเสียหายต่อสมองโดยจงใจ

 

  • ย้ำ PCR ไม่ส่งผลเสียทำลายสมอง

ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข้อมูลเท็จ เพราะการตรวจหาเชื้อไวรัสในโพรงจมูก (Swab Test) หากทำด้วยความระมัดระวังโอกาสจะเกิดอันตรายต่อผนังโพรงจมูก หรือแม้แต่ที่กล่าวถึงอันตรายต่อส่วนของเส้นประสาทรับกลิ่น (Olfactory Nerve) ซึ่งเชื่อมต่อกับสมองโดยตรง ก็เกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะเส้นประสาทไม่ได้งอกแล้วลอยอยู่บนโพรงจมูก แต่อยู่ภายในส่วนของเนื้อเยื่อที่มีกลไกปกติของร่างกายในการป้องกันอันตราย และภายในสมองก็มีกลไกในการป้องกันการติดเชื้อหรือกลไกในการป้องกันตนเองจากสิ่งอื่นนอกสมองส่วนกลาง ที่เรียกว่า Blood-Brain Barrier ดังนั้นการ Swab ที่จะทำให้เกิดการทะลุไปยังสมองหรือส่วนอื่น ๆ ของสมองจึงเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ

 

 

  • ฝากอย่าหลงเชื่อ ยันSwab ไม่ส่งผลเสียต่อสมอง

ส่วนที่อ้างถึงการบาดเจ็บของ Medula Oblongata ก็ไม่เป็นความจริง สมองส่วนนี้เรียกว่าก้านสมอง จะเป็นส่วนสุดท้ายของสมองที่ต่อกับไขสันหลังระดับคอ ทำหน้าที่ร่วมกับสมองส่วนอื่นในการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกาย และเป็นทางผ่านของเส้นใยประสาทจากสมองลงมาไขสันหลังด้วย ดังนั้นการ Swab หรือแม้แต่การบาดเจ็บรุนแรงต่อโพรงจมูก ก็มีโอกาสน้อยที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บต่อก้านสมองส่วนนี้ แต่โรคที่เกิดขึ้นเองของก้านสมองที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ Swab หรือไวรัสโควิด

ส่วนที่แชร์เนื้อหาเรื่องอาการแสดงในปี 2020 กับปี 2021 ดังที่เราทราบกันว่า ไวรัสโคโรน่า หรือโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมหรือการกลายพันธ์ตลอด ซึ่งทำให้คุณสมบัติในการติดเชื้อและการทำให้เกิดโรคก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา