สรุปสถิติจัดเก็บ "กระทง" ประจำปี 64 พบ 7 เขตใช้วัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์

สรุปสถิติจัดเก็บ "กระทง" ประจำปี 64 พบ 7 เขตใช้วัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์

กทม.สรุปสถิติยอดจัดเก็บ "กระทง" ปี 64 "จตุจักร" พบปริมาณกระทงมากสุด อีก 7 เขตร่วมกันใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 100 %

วันที่ 20 พ.ย. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการระบายน้ำ และสำนักงานเขต ได้จัดเก็บกระทงที่ประชาชนนำมาลอยเนื่องในเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2564 เมื่อคืนวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยสำนักสิ่งแวดล้อม จัดเก็บกระทงในแม่น้ำเจ้าพระยา และสวนสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนได้ลอยกระทง ส่วนสำนักการระบายน้ำ จัดเก็บในคลองและบึงรับน้ำที่รับผิดชอบ และ 50 สำนักงานเขต จัดเก็บในบริเวณพื้นที่ที่มีการจัดงานลอยกระทง โดยเริ่มจัดเก็บกระทงตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 19 พ.ย. แล้วเสร็จก่อนเวลา 05.00 น. ของวันนี้ (20 พ.ย.64) รวมจัดเก็บกระทงได้จำนวนทั้งสิ้น 403,235 ใบ แบ่งเป็น

กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย 388,954 ใบ คิดเป็นร้อยละ 96.46

กระทงที่ทำจากโฟมอีก 14,281 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.54

สรุปสถิติจัดเก็บ "กระทง" ประจำปี 64 พบ 7 เขตใช้วัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ สรุปสถิติจัดเก็บ "กระทง" ประจำปี 64 พบ 7 เขตใช้วัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวต่อว่า สำหรับในเทศกาลลอยกระทง ปี 2564 จัดเก็บกระทงได้ลดลงกว่าปี 2563 จำนวน 89,302 ใบ (ปี 2563 จัดเก็บกระทงได้จำนวน 492,537 ใบ) หรือคิดเป็นร้อยละ 18.13 โดยเป็นกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่ายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 96.40 เป็น 96.46 เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่วนกระทงโฟมลดลงจากร้อยละ 3.60 เป็น 3.54 เมื่อเทียบกับปี 2563

สรุปสถิติจัดเก็บ "กระทง" ประจำปี 64 พบ 7 เขตใช้วัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์

สำหรับพื้นที่เขตที่มีปริมาณกระทงมากที่สุด คือ เขตจตุจักร จำนวน 12,595 ใบ

เขตที่มีปริมาณกระทงน้อยที่สุด คือ เขตบางซื่อจำนวน 99 ใบ

เขตที่มีจำนวนกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติมากที่สุด คือ เขตจตุจักร จำนวน 12,240 ใบ

เขตที่จำนวนกระทงโฟมมากที่สุด คือ เขตคลองสามวา จำนวน 470 ใบ

เขตที่ใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 100 % จำนวน 7 เขต ประกอบด้วย

1 เขตพระนคร

2 เขตบางกอกใหญ่

3 เขตบางแค

4 เขตมีนบุรี

5 เขตประเวศ

6 เขตทวีวัฒนา

7 เขตสาทร  

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวด้วยว่า หลังจากดำเนินการคัดแยกกระทงแล้ว กรุงเทพมหานครจะนำกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติส่งเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ส่วนกระทงโฟมจะนำไปกำจัดโดยการฝังกลบอย่างถูกวิธีที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช สายไหม และหนองแขม หรือเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ต่อไป

สรุปสถิติจัดเก็บ "กระทง" ประจำปี 64 พบ 7 เขตใช้วัสดุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์