ตั้งเป้าเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบ 100 โดสภายใน พ.ย.นี้

ตั้งเป้าเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบ 100 โดสภายใน พ.ย.นี้

สธ.เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบ 100 ล้านโดส ภายในเดือนพ.ย.นี้ พร้อมชวนทุกคนฉีดวัคซีนโควิด เชื่อ 4 มาตรการหลักเปิดประเทศ V-U-C-A ทำให้การติดเชื้อในประเทศยอดไม่พุ่ง พร้อมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้

วันนี้ (15 พ.ย.2564 )นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวประเด็น สถานการณ์โควิด/วัคซีนและมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขรองรับการเปิดประเทศ  ว่าประเทศไทยมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564  ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นบ้างเล็กน้อย ดังนั้น ประเทศไทยต้องอยู่ในความระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากมี 4 กิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดรับนักท่องเที่ยว การเปิดโรงเรียน  เปิดสถานบริการสามารถทาน ร้านอาหารและดื่มแอลกฮออล์ภายในร้านได้ และให้มีการรวมคนได้จำนวนหนึ่ง  ฉะนั้น ทุกคนต้องช่วยกันควบคุมป้องกันโรค และพยายามสวมใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่าสำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนในประเทศไทยนั้น ขณะนี้ไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 85,012,905 ล้านโดส แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 45,374,194 หรือ 63.0% เข็ม 2 จำนวน 36,855,732 หรือ 51.2% และเข็ม 3 จำนวน 2,782,979 หรือ 3.9%  

โดยความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำแนกตามจังหวัดและการได้รับวัคซีนตามเป้าหมาย วันที่ 15 พ.ย.2564 (ผลการดำเนินงานถึง14 พ.ย.2564) ความครอบคลุมประชากรทั้งหมด พบว่า มี 39 จังหวัด ที่มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรทั้งหมดร้อยละ 50-69 และมี  11 จังหวัดที่ได้มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรทั้งหมดร้อยละ 70

ขณะที่ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง พบว่า มี 47 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรทั้งหมดร้อยละ 60-79  และมี 5 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรทั้งหมดตั้งแต่ร้อยละ 80

 

  • ฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดสสิ้นเดือน พ.ย.นี้

“สิ่งที่จะทำต่อจากนี้ คือ การเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ 100 ล้านโดสภายในเดือนพ.ย.นี้ และให้ได้มากกว่า 120 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งขณะนี้ได้มีมาตรการเร่งรัดการฉีดวัคซีน โดยจะฉีดวัคซีนเชิงรุก ขยายไปยังทุกกลุ่มประชาชนที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว แม้จะไม่ใช่คนไทยก็ต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาด และอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันผู้อื่น”นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

นอกจากมาตรการเร่งรัดการฉีดวัคซีนของสธ. ยังมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย จะค้นหาเชิงรุกกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่วนกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มหาวิทยาลัย และโรงเรียนแพทย์จะพยายามสื่อสาร ทำความเข้าใจ ข้อมูลด้านวัคซีนให้ประชาชนได้รับทราบ ขณะที่ภาคเอกชน จะมีการจัดมาตรการต่างๆ ในการฉีดวัคซีนให้แก่พนักงาน  เช่น จัดฉีดวัคซีนให้แก่พนักงายทุกคน ลดค่าโดยสารสาธารณะ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า  และศบค.ได้มีการสั่งการและหามาตรการจูงใจให้ประชาชนฉีดวัคซีนระดับพื้นที่ และระดับประเทศ รวมถึงออกประกาศการไปสถานที่สาธารณต้องแสดงผลการฉีดวัคซีน  

 

 

  • “เชียงใหม่” น่าห่วง ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงวัคซีน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อไปว่าหลังเปิดประเทศมีมาตรการต่างๆ พบผู้ที่เดินทางเข้ามามีการติดเชื้อที่ต่ำมาก แยกเป็นThailand Test & Go 0.07% Sandbox 0.17 Quarantine 0.39 สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการติดเชื้อต่ำมาก สามารถจัดการได้ ขณะนี้อัตรการติดเชื้อภายในสูงกว่า แสดงถึงการเปิดประเทศเราสามารถควบคุมได้ดี แนวโน้มการติดเชื้อ กทม.มีการฉีดวัคซีนเกือบ 100 % สถานการณ์เป็นไปด้วยดี

จังหวัดอื่นๆ ก็มีแนวโน้มที่ดี ชายแดนใต้ปัจจุบัน สธ.และพื้นที่มีการตั้งศบค.ส่วนหน้าควบคุม อยู่ในทิศทางขาลง โดย 4 จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หลังควบคุมโรค 1 เดือน ขณะนี้เลยจุดสูงสุดแล้ว ทิศทางอยู่ในขาลง จ.ต่างๆ ที่ยังจับตาที่ยังติดเชื้อเป็นระยะ 6 จังหวัด นครศรีธรรมราช  เชียงใหม่ ตาก ตรัง พัทลุง และขอนแก่น เมื่อติดตามการควบคุมโรคระยะหนึ่งอยู่ในแนวโน้มขาลง ยกเว้นเชียงใหม่ ยังไม่อยู่ในขาลง ต้องติดตามอีกระยะว่าจะสูงกว่านี้หรือไม่ ส่วนตากก็ทรงตัวกำลังลดลง  ภาพรวมหลังมีนโยบายเปิดประเทศ เปิดกิจการกิจรรม เปิดโรงเรียน เปิดให้ดื่มสุราในบางพื้นที่

ขณะนี้ได้ใช้มาตรการเต็มที่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนและทุกฝ่าย สถานการณ์การติดเชื้อยังเป็นไปทิศทางเส้นสีเขียว เช่นเดียวกับอัตราการเสียชีวิต ต่ำกว่าเส้นที่คาดการณ์ ส่วนหนึ่งมาจากผลการฉีดวัคซีน จึงต้องเร่งฉีดให้ครอบค สำหรับ 6 จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ ตาก ขอนแก่น ตรัง และพัทลุงนั้น ตอนนี้ 5 จังหวัดสถานการณ์ดีขึ้น พบผู้ติดเชื้อน้อยลง ยกเว้นจังหวัดเชียงใหม่ ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้ภาพรวมยอดผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มอยู่ ไม่ได้ลดลงเหมือนจังหวัดอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ฉากทัศน์ กรณีการระบาด ค่า (R )ลดลงประมาณ 25% เทียบก่อนล็อกดาวน์ ทุกภาคส่วนร่วมมือกับ 4 มาตรการหลักต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล Universal Prevention มาตรการ COVID-Free Area, Zone ,Setting  มาตรการคัดกรองด้วย ATK เฝ้าระวังกลุ่มแรงงานต่างด้าว และฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ตามเป้าหมายเดือนต.ค.-ธ.ค.2564 

  • 4 มาตรการหลักเปิดประเทศ ลดติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ในตอนนี้ มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตลดลง และต่อให้มีการเปิดประเทศก็พบอัตราการติดเชื้อต่ำ และยังไม่พบการระบาด เพราะ 4 มาตรการหลักเปิดประเทศ คือ V - Vaccine ฉีดครบ ลดป่วยหนัก ,U - Universal Prevention ป้องกันตัวเองตลอดเวลา ห่างไกลจากโควิด ,C - COVID Free Setting สถานที่บริการพร้อม ผู้ให้บริการฉีดวัคซีนครบ ตรวจ ATK ทุกสัปดาห์  และ A - ATK (Antigen test kit) พร้อมตรวจเสมอเมื่อใกล้ชิดคนติดเชื้อ หรือมีอาการทางเดินหายใจ

 

 

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสภาวะฉุกเฉิน กล่าวว่าตอนนี้แม้ภาพรวมของสถานการณ์โควิด-19 แนวนโน้มจะดีขึ้น  แต่สถานการณ์ความเสี่ยงยังเกิดขึ้นได้แสดง เพราะความเสี่ยงมาจากชีวิตประจำวันของทุกคน ปัจจุบันยังพบผู้ติดเชื้อ ในคลัสเตอร์เรือนจำ แรงงานประมง แคมป์ก่อสร้าง ค่าย/ค่ายฝึกทหาร-ตำรวจ โรงงาน /สถานประกอบการ ตลาด พิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานทอดกฐิน งานศพ สถานศึกษา ชุมชน และโรงพยาบาล 

"ขอความร่วมมือ แม้ในชุมชนจะติดเชื้อลดลง ก็ขอให้มาฉีดวัคซีน หากไม่สะดวกในการเดินทาง ขอให้แจ้ง อสม. เจ้าหน้าที่รพ.ชุมชน รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล  เพื่อจัดหาบริการให้เข้าถึง เร่งฉีดให้ได้เป้าหมาย 100 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้  พื้นที่ต่างๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนสี ฝากให้หน่วยงาน สถานประกอบการศึกษามาตรการอย่างเคร่งครัด สถานการณ์ลดในภาพรวม แต่ความเสี่ยงยังอยู่ใกล้ตัว ขอย้ำชักชวนกันมาฉีดวัคซีน" นพ.เฉวตสรร กล่าว