"ปลูกต้นไม้" ลดการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับโลก

"ปลูกต้นไม้" ลดการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับโลก

ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนเป้าหมาย สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" มุ่งความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 20,000 ไร่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)

21 ตุลาคม ของทุกปี ตรงกับ  วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ  กระตุ้นเตือนให้คนไทยทุกคน เห็นความสำคัญของต้นไม้ การดูแล บำรุงรักษาต้นไม้ เรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว ที่ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศและโลกได้อย่างยั่งยืน 

 

เวทีประชุมสุดยอดผู้นำ GCNT Forum 2021 เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหารือถึงแนวทางรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate Change ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เชิญชวนคนไทยและภาคเอกชน ปลูกต้นไม้ 100 ล้านต้น ภายในปี 2565 พร้อมกันนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เดินหน้าขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศให้ได้ 40 % ของพื้นที่รวมประเทศ เป้าหมายเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจก

 

ในส่วนของภาคเอกชนอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  หรือ ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ผ่าน แนวคิดจากภูผาสู่ป่าชายเลน CPF 2030 Sustainability in Action ปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 20,000 ไร่

สานต่อ โครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง  อนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าเพิ่มเติม บริเวณเขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสัก แหล่งน้ำสำคัญสำหรับเกษตรและอุตสาหกรรมของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง  ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าชายเลน พื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย อาทิ สมุทรสาคร ระยอง ชุมพร สงขลา พังงา และตราด และโครงการ ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ส่งเสริมฟาร์มและโรงงานของบริษัททั่วประเทศมากกว่า 80 แห่ง ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ

 

ทั้ง 3 โครงการปลูกป่าและเพิ่มพื้่นที่สีเขียวไปแล้วรวมมากกว่า 10,000 ไร่ มีการติดตามการเติบโตของต้นไม้ เพื่อวัดการกักเก็บคาร์บอนอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. 

 

ซึ่งในช่วง 7 ปีที่เข้าร่วมโครงการรวมปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ที่ลดลงได้จากการปลูกต้นไม้และปลูกป่ากว่า 5 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มุ่งสู่องค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs )

นอกจากนี้ ยังสร้างโมเดลต้นแบบที่สามารถขยายผลความสำเร็จจากในองค์กรสู่การนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานในองค์กร มีบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายด้านความยั่งยืน ผ่านกิจกรรม “กล้าจากป่า พนาในเมือง” ในโครงการ “ Sustainability in Action ยั่งยืนได้ ด้วยมือเรา” สนับสนุนให้พนักงานปลูกไม้ยืนต้น ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และไม้กระถาง ช่วยดักฝุ่น PM2.5 ถ่ายทอดวิธีการปลูกต้นไม้อย่างถูกวิธี และการบันทึกการเติบโตของต้นไม้ เพื่อนำมาวัดการกักเก็บคาร์บอน จากการที่ต้นไม้ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ จำนวน 9.5 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ / ต้น / ปี 

 

โดยในปี 2564 มีเป้าหมายปลูกต้นไม้ 20,000 ต้น และภายใน 5 ปี (ปี 2564-2568) มีเป้าหมายปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น โดยที่พนักงานสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อรับกล้าไม้ไปปลูกที่บ้านของตัวเอง และโครงการนี้ ยังสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดการจ้างงานชุมชนในการดูแลและเพาะกล้าไม้รวมประมาณ 2 ล้านบาท