“Long COVID” กับการ "มีบุตรยาก" ในศาสตร์แพทย์แผนจีน

“Long COVID” กับการ "มีบุตรยาก" ในศาสตร์แพทย์แผนจีน

อาการ “Long COVID” ซึ่งมักเกิดภายหลังจากผู้ป่วยโควิด-19 รักษาตัวจนหาย แต่ยังหลงเหลืออาการ ซึ่งมากน้อยแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล ขณะเดียวกัน ในศาสตร์ของ แพทย์แผนจีน ยังพบว่า อาการ “Long COVID” อาจส่งผลต่อการ "มีบุตรยาก" อีกด้วย

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้น มีผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวทั้งในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และอื่นๆ ต่ำกว่าหลักแสนราย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 บางรายยังคงหลงเหลืออาการ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม เพราะมีอาการ โควิดระยะยาว (Long COVID) ขณะเดียวกันในมุมของ แพทย์แผนจีน Long COVID อาจส่งผลต่อการ มีบุตรยาก

 

จากผลการศึกษาของ The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ประเทศอังกฤษ อ้างอิง ณ วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ 2563 มีการแบ่งกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่

 

ระยะที่ 1 Acute COVID-19 : ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อและมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ประมาณ 4 สัปดาห์

 

ระยะที่ 2 Ongoing symptomatic COVID-19 : ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องไปอีก 4-12 สัปดาห์

 

ระยะที่ 3 Post-acute COVID-19 : ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ในช่วงระหว่างที่พบเชื้อ หรือหลังจากการพบเชื้อ โดยยังคงมีอาการต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์

 

ขณะเดียวกัน ในมุมของแพทย์แผนจีน ยังพบว่าผลกระทบของโควิด-19 ยังอาจมีส่วนทำให้มีบุตรยาก “แพทย์จีนเชน ปรีชาวณิชวงศ์” แพทย์แผนจีนประจำหยินหยางคลินิก อธิบายว่า ขณะนี้มีการศึกษาวิจัย เนื่องจากโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีไข้สูง โดยเฉพาะในผู้ชาย จะส่งผลเสียกับตัวอสุจิ ทำให้อสุจิคุณภาพแย่ลง อีกส่วนหนึ่ง พบว่า เมื่อเชื้อ โควิด-19 เข้าไปในร่างกายอาจจะไปจับกับโปรตีนในร่างกาย ซึ่งโปรตีนกระจายเยอะในระบบสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิง มดลูก รังไข่ ซึ่งก็อาจจะส่งผลเสียกับระบบสืบพันธุ์ ขณะนี้มีแนวโน้มและรองานวิจัยใหม่ๆ

 

“Long COVID” กับการ \"มีบุตรยาก\" ในศาสตร์แพทย์แผนจีน

ในทางแพทย์แผนจีน เราพบว่า โควิด-19 จะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องปอด ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับลมปราณ และ ม้าม ซึ่งในทางการแพทย์แผนจีนครอบคลุมไปถึงการย่อย ถือเป็นสารจำเป็นของร่างกายหลังเกิด ได้แก่ อาหาร และ อากาศ เพราะฉะนั้น โควิด-19 ทำให้เกิดอาการ Long COVID ซึ่งกระทบกับปอดและม้าม ทำให้สารจำเป็นไม่เพียงพอ ส่งผลต่อร่างกาย สำหรับ “ผู้หญิง” ทำให้อาจจะมีอาการเลือดน้อยลง (แต่ไม่ใช่โลหิตจาง) ประจำเดือนมาน้อยลง หรือมาช้ากว่าเดิม ผนังมดลูกที่มีเลือดเป็นส่วนประกอบบางลง ตัวอ่อนเกาะไม่ค่อยดี สุดท้ายอาจส่งผลให้เกิดการ มีบุตรยาก

 

ในส่วนของ “ฝ่ายชาย” หากสารจำเป็นไม่พอ จะส่งผลกระทบต่อน้ำเชื้อได้ หากจะรักษาต้องดูว่า ถ้ามีสาเหตุจากปอด และ ม้าม ในทางแพทย์แผนจีน ลมปราณ สารอาหารไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแก้ไข โดยการใช้ยาสมุนไพรจีน หรือ ฝังเข็ม พอปรับแล้วอาการต่างๆ ลดลง จะทำให้มีความพร้อมในการมีบุตรมากขึ้น

 

แพทย์จีนเชน กล่าวต่อไปว่า คลินิก เคยมีการเก็บข้อมูลพบว่าในช่วงแรก 9 ปีที่แล้ว อายุของผู้หญิงที่มาปรึกษาการมีบุตรยากจะอยู่ที่ราว 36 ปี แต่ทุกวันนี้พบคนไข้อายุน้อยลง 32-33 ปี หรือ บางรายอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งรังไข่เริ่มเสื่อม หรือเจอเนื้อคู่ช้า หรือพยายามมาเยอะแล้ว แต่ไม่สำเร็จจึงลองมาหาแพทย์แผนจีนดูบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าพออายุมากขึ้น ความสำเร็จก็จะต่ำลง เป็นไปตามอายุ

 

“Long COVID” กับการ \"มีบุตรยาก\" ในศาสตร์แพทย์แผนจีน

  • แพทย์ผสมผสาน“ปัจจุบัน-จีน”

 

การวินิจฉัยสาเหตุของการมีบุตรยาก จะต้องดูทั้งในแบบแผนปัจจุบันและแผนจีนควบคู่กันไป สาเหตุของการมีบุตรยากในแผนปัจจุบัน เบื้องต้น คือ ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่ส่วนใหญ่คนมักจะคิดว่าฝ่ายหญิงเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก แต่ความจริงไม่เสมอไป สำหรับฝ่ายหญิง จะมีในเรื่องของรังไข่ที่ผลิตไข่ไม่ดี น้อยไป หรือ ผลิตเยอะไปแต่ไข่ไม่มีคุณภาพ ถัดมา คือ ท่อนำไข่ หากท่อนำไข่ตัน มีปัญหา อสุจิก็จะไม่เจอกับไข่ และไม่เกิดการปฏิสนธิ หรือ มดลูกมีปัญหา ขณะที่ผู้ชาย เป็นเรื่องของน้ำเชื้อคุณภาพน้อยลง ด้อยคุณภาพ ด้วยสาเหตุจากการทำงาน สิ่งแวดล้อม ความเครียด แม้ทุกวันนี้คนจะอายุยืนขึ้น แต่ช่วงหลังมักจะเจอเคสคนไข้อายุ 30 กว่าแต่มีปัญหารังไข่เสื่อม เข้าวัยทอง ทั้งๆ ที่ไม่เคยผ่าตัด

 

แพทย์แผนปัจจุบัน เริ่มมีการทำงานร่วมกันกับแพทย์แผนจีน มีบางท่านที่ส่งคนไข้มาช่วยปรับร่างกายให้ก่อน แสดงให้เห็นว่าแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเปิดใจ และร่วมกันรักษา การแพทย์แผนจีน เราจะอิงกับสาเหตุจากแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เช่น รังไข่มีปัญหาเสื่อม ก็ต้องมานั่งหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร พลังงานไตไม่แข็งแรงหรือไม่ จำเป็นต้องบำรุงเพิ่มเติมหรือไม่

 

หรือมีก้อนซีสต์ อาจจะขัดขวางคุณภาพของไข่ ทำให้ไข่คุณภาพไม่ดี มดลูกมีการอักเสบไม่เหมาะสมต่อการมีบุตร ก็จะใช้ยาจีน หรือฝังเข็ม รวมถึง บำรุงน้ำเชื้อของฝ่ายชาย พอเรารู้แล้วว่าปัญหาการมีบุตรยากของเขาอยู่ตรงไหนก็ใช้ วิธีวิเคราะห์ทางแพทย์แผนจีนมาดูว่า เขาต้องปรับสมดุลอย่างไรเพื่อให้ปัญหาของเขาหายไป

 

“Long COVID” กับการ \"มีบุตรยาก\" ในศาสตร์แพทย์แผนจีน

 

  • เลือกคลินิกแพทย์แผนจีน ที่เชื่อถือได้ 

 

แพทย์จีนเชน กล่าวต่อไปว่า สำหรับการรักษา เวลารักษาโรคกลุ่มนี้จะใช้ยาจีนและการฝังเข็ม ปัจจุบัน ยาจีนมีวิวัฒนาการ หลากหลายมากกว่าเดิม สมัยก่อนเมื่อคิดถึงยาจีนอาจจะนึกถึงรสชาติขม กลิ่นแรง ทำให้คลินิกสถานพยาบาลหลายแห่งต้มยาให้โดยมีหม้อต้มอัตโนมัติ บรรจุซอง ถึงเวลาเอาเข้าตู้เย็น อุ่น สะดวกในการกินยามากขึ้น รวมถึงการใช้ยาผงชงน้ำร้อน ทำให้คนไข้สะดวก หรือยาเม็ด ยาลูกกลอน แคปซูลในลักษณะต่างๆ

 

 “หลายคนยังมีความกังวลเรื่องสเตียรอยด์ แต่ทุกวันนี้แพทย์แผนจีนต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์ จะเปิดคลินิกต้องมีใบอนุญาตประกอบสถานพยาบาลแพทย์แผนจีน ทุกอย่างขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุข มีคณะกรรมการวิชาชีพแพทย์แผนจีนคอยกำกับดูแล ดังนั้น ความเป็นมาตรฐานมากกว่าสมัยก่อน แนะนำว่า ควรพบแพทย์แผนจีนที่มีการลงทะเบียนไว้ เปิดคลินิกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่ใช้ไม่มีสเตียรอยด์ ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รักษาตรงโรคมากกว่า”

 

  • ไทยมีแพทย์แผนจีนราว 1,000 คน

 

นอกจากนี้ ยังพบว่าแพทย์แผนจีนเริ่มกระจายไปตามโรงพยาบาลต่างๆ เยอะขึ้น ปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษา สอนแพทย์แผนจีน 9 แห่ง ในประเทศไทย มีแพทย์จีนที่ขึ้นทะเบียนแล้วราว 1,000 คน และเริ่มเข้าไปทำงานในโรงพยาบาลต่างๆ ขณะที่เรื่องของยาจีน จะเป็นส่วนที่ต้องผลักดันต่อไป แพทย์ก็จะมีการเรียนต่อเฉพาะทางมากขึ้น เช่น นรีเวช ด้านเด็ก อายุรกรรมภายใน ภายนอก ผิวหนัง เป็นต้น

 

“ปัจจุบัน การเข้าถึงแพทย์แผนจีนง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อน หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข ทำงานร่วมกับสมาคมแพทย์แผนจีน ทำให้มีการเรียนการสอนที่ชัดเจน ถูกต้อง หลักสูตรเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การเข้าหาแพทย์แผนจีนง่ายขึ้น เป็นตัวเลือกให้ผู้ป่วย ได้เลือกการรักษาที่เหมาะสม นับเป็นทางเลือกในการรักษาเสริมกันได้” แพทย์จีนเชน กล่าว

 

“Long COVID” กับการ \"มีบุตรยาก\" ในศาสตร์แพทย์แผนจีน