"การแพทย์" และ "ความงาม" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

"การแพทย์" และ "ความงาม" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

แม้ "โควิด-19" จะทำให้หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมการแพทย์และความงาม ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ธุรกิจที่คาดว่าจะเติบโตในปีนี้ ช่วงกลางปีที่ผ่านมา พบว่า เครื่องมือแพทย์และสุขภาพยังเติบโต รวมถึงอุตสาหกรรมความงาม ซึ่งไทยส่งออกเครื่องสำอางอันดับ 2 อาเซียน

ที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุธุรกิจน่าจับตามองในปี 2564 ยุค New Normal 12 ธุรกิจ มูลค่าตลาดรวมกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ทั้งสิ้น 65,738 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 812,213.46 ล้านบาท

 

ในจำนวนนี้ เป็น “ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม” จำนวน 4,380 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 25,510.57 ล้านบาท “ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์” จำนวน 809 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 11,308.12 ล้านบาท และ “ธุรกิจเวชภัณฑ์ยาและธุรกิจขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์” จำนวน 10,001 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 76,628.46 ล้านบาท

 

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยในครึ่งปี 2564 มีศักยภาพที่จะเติบโตต่อเนื่อง  สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ ของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการทางด้านการแพทย์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่เพิ่มขึ้น 

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

 

"อดิศร อาภาสุทธิรัตน์”กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวาเมดิค จำกัด และ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ เช่น ถุงมือการแพทย์ เลนส์แว่นตา ไซริงค์ ชุดสายน้ำเกลือ เป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตมากกว่า 800 ราย ในขณะที่กลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

 

ทั้งนี้จากการส่งเสริมของภาครัฐ ที่ได้ผลักดันผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมทางการแพทย์และการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ (Startup) ของไทยให้นำผลงานเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น ประกอบกับการมีจุดแข็งจากพื้นฐานอุตสาหกรรมเชื่อมโยงทั้งการผลิตรถยนต์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบออโตเมชั่นต่างๆ ซึ่งคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพของไทยจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

ด้าน “ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน” ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกนี้ สามารถคลี่คลายได้ภายในสิ้นปี 2564 (ตัวเลขการติดเชื้อไม่เกิน 1,000 คนต่อวัน และไม่มีการระบาดในกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่) มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) จะเริ่มทยอยกลับมาเข้าใช้บริการทางการแพทย์ และคาดว่า จำนวน Medical Tourism ในปี 2565 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 130,000-180,000 คน โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นกลุ่มคนไข้เดิมที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือดูแลสุขภาพผ่านโรงพยาบาลเอกชนของไทยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกกลาง เมียนมา จีน เป็นต้น

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

 

“ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญ” ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน มองว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมการแพทย์ในอนาคต คาดว่าเติบโต ความเจ็บป่วยหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนต้องเข้า รพ.ตลอด อยู่ที่ว่าการเติบโตจะไปในแนวโน้มทางไหน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเร็วมาก ดังนั้น เทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบัน จะต้องถูกนำมาใช้ใน รพ. ทั้งเรื่องของกระบวนการวินิจฉัยโรค กระบวนการรักษา ฟื้นฟู และติดตามผู้ป่วย การดูแลต้องดูแลแบบครอบครัวและองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม รักษาเฉพาะบุคคล เทคโนโลยีการผ่าตัดที่เล็ก และตรงจุด นี่คือการเติบโตด้านการแพทย์ที่จะต้องเข้ามา อย่างไรก็ตาม ต้องไปพร้อมกันกับความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

ขณะเดียวกัน ในตลาดความงาม เครื่องสำอางไทย ซึ่งได้รับความนิยมในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง และจีน ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศส่งออกเครื่องสำอางอันดับ 2 อาเซียน รองจากสิงคโปร์ และอันดับ 10 ของโลก ข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 ไทยส่งออก 18 ประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่า 388 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 2% จากช่วงเดียวกันของปี 2563

 

ปี 2564 นี้ ประมาณการว่า มูลค่า อุตสาหกรรมความงาม ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 4.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15 ล้านล้านบาท ในปี 2563 ไปเป็น 5.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15.9 ล้านล้านบาท  

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

 

“กวิดา เหร็นเส็บ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กวิดา จำกัด ธุรกิจสกินแคร์ D’ Secret เผยว่า ตลาดเครื่องสำอาง สกินแคร์ในประเทศไทยเติบโตดีมาตลอด แต่มาสะดุดจากผลกระทบจากโควิดเกือบ 2 ปี แต่ถือว่ายังมีกลุ่มลูกค้า เนื่องจากกลุ่มผู้หญิงยังดูแลสุขภาพความงาม ทำให้ตลาดแม้จะลดลงแต่ก็ยังทรงตัว และคิดว่าเมื่อไหร่ที่โควิดเริ่มคลี่คลาย จะกลับมาได้รับความนิยมเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม เพราะโรคระบาดทำให้คนเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพและความงามมากขึ้น

 

ทั้งนี้ บริษัทเน้นการส่งออกกว่า 80% ไปยังประเทศเวียดนาม ลาว บาเรน จีน ซึ่งได้ผลตอบรับค่อนข้างดี แม้จะเจอโควิดรอบที่ 3 นิ่งไปสักพัก และมีข้อจำกัดด้านการขนส่ง แต่ขณะนี้สถานการณ์โลกเริ่มคลี่คลายโดยเฉพาะตลาดในต่างประเทศ เริ่มดีขึ้น และมีแผนที่จะส่งไป ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ช่วงปลายปี และเล็งส่งออกไปยังกัมพูชา เนปาลอีกด้วย

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19

 

“เนื่องจากประเทศเหล่านี้นิยมสินค้าไทย โดยเฉพาะจีน ขณะที่ดูไบ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของตะวันออกกลาง ถือเป็นการเปิดตลาดและทำให้ต่างชาติรู้จักสินค้าไทยมากขึ้น ต่างประเทศกำลังซื้อเยอะและไว ขณะเดียวกัน เราโชคดีที่ กระทรวงพานิชย์ ก็ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยอีกด้วย”

 

“สำหรับ ความท้าทายของตลาดสกินแคร์ในยุคโควิด คือการสร้างความต่างในผลิตภัณฑ์ ต้องเน้นเพื่อสุขภาพด้วย และไม่ทิ้งสารตกค้าง เป็นออแกนิค คาดว่าหลังโควิดน่าจะไปได้ดี หากธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาฟื้น เงินสะพัดในประเทศมากขึ้น ภาคธุรกิจก็จะเติบโตตามไป” กวิดา กล่าว

 

\"การแพทย์\" และ \"ความงาม\" คาดเติบโตหลังวิกฤติโควิด-19