เกาะติดน้ำท่วม เปิดแผน กทม.จับตาระดับน้ำ "เขื่อนหลัก" พร้อมรับมือน้ำท่วม

เกาะติดน้ำท่วม เปิดแผน กทม.จับตาระดับน้ำ "เขื่อนหลัก" พร้อมรับมือน้ำท่วม

"อัศวิน" สั่ง กทม.เตรียมแผนรับมือ สถานการณ์น้ำเจ้าพระยา หลังเขื่อนหลักระบายน้ำ ระดมกระสอบทราย-เรือผลักดันน้ำ เฝ้าระวังน้ำท่วมกรุง

วันที่ 15 ต.ค. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และการเฝ้าระวังผลกระทบน้ำทะเลหนุน ว่า กทม.ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เขื่อนพระรามหก จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงจุดวัดปริมาณน้ำ อ.บางไทร ของกรมชลประทาน ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันพบว่ามีการระบายน้ำที่จะไหลผ่านลงมาพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง  โดยเช้าวันนี้(15 ต.ค.64) บางไทรปริมาณน้ำผ่าน 2,560 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งเคยมีการระบายสูงสุดถึง 3,104 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อวันที่ 6 ต.ค.64 

ในส่วนของ กทม. ได้ตรวจวัดระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำปากคลองตลาดพบว่า น้ำขึ้นสูงสุดวันที่ 14 ต.ค.64 อยู่ที่ระดับ +1.90 ม.รทก. แต่ยังอยู่กว่าระดับของแนวป้องกันน้ำท่วมฯ +1.10 ม.รทก. จากระดับความสูงของแนวป้องกันบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงสะพานพุทธฯ ความสูง +3.00 ม.(รทก.) ทำให้สถานการณ์แนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ ยังอยู่ในภาวะปกติ

เกาะติดน้ำท่วม เปิดแผน กทม.จับตาระดับน้ำ "เขื่อนหลัก" พร้อมรับมือน้ำท่วม

พล.ต.อ.อัศวิน ระบุว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ กทม.ได้ช่วยระบายน้ำในแนวคลองหกวาสายล่าง โดยเปิดประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้ ประตูระบายน้ำคลองสามวา และประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ (ตอนหนองใหญ่) เพื่อช่วยระบายน้ำจากจังหวัดปทุมธานีผ่านเข้ามายังพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนทางด้านตะวันออกรับน้ำด้านนอกคันผ่านทางคลองแสนแสบ โดยใช้ประตูระบายน้ำแสนแสบ(มีนบุรี) และประตูระบายน้ำแสนแสบ(บางชัน) คลองประเวศบุรีรมย์ใช้ประตูระบายน้ำคลองประเวศน์(ลาดกระบัง) และประตูระบายน้ำประเวศน์(กระทุ่มเสือปลา) เพื่อเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน จากนั้นจะใช้อาคารบังคับน้ำที่มีได้แก่ ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำในการทำหน้าที่เร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งได้มีการเดินเครื่องสูบน้ำตลอดเวลา และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ รวมไปถึงการควบคุมระดับการ เปิด-ปิด ประตูระบายน้ำให้มีความสัมพันธ์กับการเดินเครื่องสูบน้ำและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่

เกาะติดน้ำท่วม เปิดแผน กทม.จับตาระดับน้ำ "เขื่อนหลัก" พร้อมรับมือน้ำท่วม

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า สำหรับแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ความยาวประมาณ87.93 กิโลเมตร ซึ่งรวมแนวป้องกันตนเองของเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ประมาณ 8.30 กิโลเมตร มีค่าระดับความสูงของแนวป้องกันน้ำท่วม ดังนี้

1.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานพระราม 7 ถึงสะพานกรุงธนบุรี ความสูง +3.50 ม.(รทก.)

2.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานกรุงธนบุรี ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ความสูง +3.25 ม.(รทก.)

3.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงสะพานพุทธฯ ความสูง +3.00 ม.(รทก.)

4.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานพุทธฯ ถึงบางนา ความสูง +2.80 ม.(รทก.)

5.ริมคลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ ความสูง +3.00 ม.(รทก.)

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้เรียงกระสอบทรายริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันถาวร และบริเวณที่แนวป้องกันมีระดับต่ำ จำนวน 76 จุด ครอบคลุม 17 เขต ความยาว 2,918 เมตร ความสูงประมาณ+2.30 ถึง +2.40 ม.รทก. ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จใช้กระสอบไปทั้งสิ้น 92,400 ใบ และมีกระสอบที่บรรจุคงเหลือ 11,000 ใบ รวมถึงความพร้อมกระสอบเปล่า 1,040,000 ใบ 

พล.ต.อ.กล่างว่า ขณะเดียวกัน สำนักการระบายน้ำได้เตรียม Big Bag 200 ใบ ตะกร้าใส่ทรายสำหรับเรียงกระสอบ 5,150 ใบ และพนังกั้นน้ำฉุกเฉิน 9 เส้น (1 เส้นมีความยาว 15 เมตร) พร้อมตรวจสอบความพร้อมและความมั่นคงแข็งแรงแนวคันกั้นน้ำ 24 ชั่วโมง ส่วนชุมชนที่อยู่นอกแนวคันป้องกันน้ำท่วมที่ไม่สามารถเรียงประสอบทรายได้ สำนักการระบายน้ำ ได้ประสานกรมเจ้าท่าในการใช้มาตรการเรื่องการเดินเรือ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับบ้านเรือนของประชาชน

เกาะติดน้ำท่วม เปิดแผน กทม.จับตาระดับน้ำ "เขื่อนหลัก" พร้อมรับมือน้ำท่วม

"เพื่อให้น้ำเหนือหลากและเมื่อน้ำทะเลที่ขึ้นหนุนสูงได้ไหลลงอ่าวไทยได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น กทม.ได้ประสานงานกองทัพเรือขอสนับสนุนเรือผลักดันน้ำ จำนวน 12 ลำ ติดตั้งในคลองลัดโพธิ์ โดยเรือผลักดันน้ำเรือ 1 ลำ มีประสิทธิภาพระบายน้ำ 100,000 ลบ.ม./วัน มีประสิทธิภาพระบายน้ำได้ 1,200,000 ลบ.ม./วัน"ผู้ว่าฯ กทม.ระบุ

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวด้วยว่า หากมีฝนตกหนักทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น กองทัพเรือจะสนับสนุนเรือผลักดันน้ำติดตั้งเพิ่มเติมโดยประสานงานร่วมกันระหว่าง กทม. กรมอุทกศาสตร์ และกรมชลประทาน ในการติดตามสถานการณ์น้ำขึ้น น้ำลง และการเดินเครื่องเรือผลักดันน้ำให้สัมพันธ์กับการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ จนกว่าสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะคลี่คลาย

เกาะติดน้ำท่วม เปิดแผน กทม.จับตาระดับน้ำ "เขื่อนหลัก" พร้อมรับมือน้ำท่วม