ไฟเขียว! ก.แรงงาน พบแรงงานต่างไม่มีใบอนุญาตทำงานจับขึ้นทะเบียนทันที

ไฟเขียว! ก.แรงงาน พบแรงงานต่างไม่มีใบอนุญาตทำงานจับขึ้นทะเบียนทันที

“ครม.” ไฟเขียว กระทรวงแรงงาน ตรวจแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ พบไม่มีใบอนุญาตทำงานจับขึ้นทะเบียนทันที หวังควบคุมการระบาดโควิด-19

วันที่ 28 กันยายน 2564 ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ เพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิดตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ   
 
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันยังตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ มีโอกาสกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศเป็นอย่างมาก

จากการลงพื้นที่ของหน่วยงานควบคุมโรค พบ แรงงานข้ามชาติ ทำงานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างหนาแน่น ทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานควบคุมโรคจึงจำเป็นต้องเข้าตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทำงาน

 

  • เสนอแนวทางจัดการแรงงานต่างด้าว 3สัญชาติ

ถ้าพบแรงงานข้ามชาติที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจะได้ให้นายจ้างดำเนินการขออนุญาตทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเพื่อจะได้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับสิทธิ์การคุ้มครองและดูแล ช่วยเหลือตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะส่งผลให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กระทรวงแรงงาน จึงเสนอแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ
 
 

 

  • ก.แรงงาน เตรียมแนวทางช่วยแรงงานต่างด้าว

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยสถานการณ์การแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานอย่างยิ่ง ท่านกำชับกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการร่วมกันควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้การระบาดแพร่กระจายเป็นวงกว้างสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินให้คลี่คลายลงโดยเร็วที่สุด" รมว.แรงงาน กล่าว   

กระทรวงแรงงานจึงมอบหมายกรมการจัดหางานเตรียมแนวทางดำเนินการ ดังนี้ 
1.เข้าตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทำงาน เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานข้ามชาติ เป็นระยะเวลา 30 วัน 
2. หากตรวจพบแรงงานข้ามชาติ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย