กินลูกชิ้นให้ปลอดภัย ไกลมะเร็ง

กินลูกชิ้นให้ปลอดภัย ไกลมะเร็ง

ลูกชิ้นของฉัน ของรักของหวง เมนูสุดแสนจะหาทานได้ง่ายและเป็นอาหารโปรดของหลายคน วันนี้ Tian Xian มีวิธีเลือกกินลูกชิ้นอย่างปลอดภัยมาฝากกัน

ลูกชิ้นของฉัน ของรักของหวง เมนูสุดแสนจะหาทานได้ง่ายและเป็นอาหารโปรดของหลายๆ ท่าน คุณรู้หรือไม่ว่าลูกชิ้น ลูกกลม เด้ง ละมุนลิ้น ที่เราซื้อรับประทานกันนั้น มีส่วนประกอบหลักคือ แป้ง เนื้อสัตว์ และไขมัน แต่นอกจากส่วนประกอบหลักทั้ง 3 อย่างที่กล่าวไปแล้ว ลูกชิ้นยังมีของแถมที่เรียกว่า สารบอแรกซ์ สารกันบูด และเครื่องปรุงรสที่อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราอีกด้วย แต่..อย่าเพิ่งตกใจจนกลัวลูกชิ้นไป วันนี้เรามีวิธีเลือกกินลูกชิ้นอย่างปลอดภัยมาฝากกัน

มาทำความเข้าใจกับสารอันตรายที่แฝงมาในลูกชิ้นรสเด็ด
              สารบอแรกซ์ สารบอแรกซ์เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลง สารฆ่าแมลง ผู้ค้ามักนำสารบอแรกซ์มาผสมในลูกชิ้น เพื่อทำให้กรอบ หยุ่น เด้ง คงตัวได้นานและไม่บูดง่าย การสังเกตลูกชิ้นที่อาจมีสารบอแรกซ์ปนเปื้อนให้สังเกตดูว่า ลูกชิ้นมีลักษณะเด้ง กรุบกรอบผิดปกติหรือไม่ หากมีลักษณะดังกล่าวควรหยุดบริโภคทันที เพื่อความปลอดภัย เพราะสารบอแรกซ์หากเข้าสู่ร่างกายและสะสมเป็นเวลานานอาจมีโอกาสทำให้เกิดอาการเรื้อรัง เช่น อาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตับและไตอักเสบ แต่หากได้รับสารบอแรกซ์ในปริมาณมากอาจมีผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระรุนแรง ในบางรายถึงขั้นเสียชีวิต
              สารกันบูด สารกันบูดหรือกรดเบนโซอิก ถือว่ามีความปลอดภัย หากใช้ตามที่กฎหมายควบคุม แต่หากกินเข้าไปบ่อยๆ อาจทำให้เกิดการสะสม และมีผลต่อร่างกายได้ อาทิ ส่งผลการทำงานต่อไต เพราะไตต้องทำงานหนักในการขับสารกันบูดออกจากร่างกาย ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้หากกินอาหารที่มีสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกผสมกับวิตามินซี เช่นน้ำส้ม หรือการนำลูกชิ้นมายำ สารดังกล่าวจะกลายเป็นสาร เบนซีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และมีความเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อีกด้วย

วิธีการปรุงลูกชิ้น ปิ้ง-ย่าง-ทอด อาจนำมาซึ่งมะเร็ง
                      นอกจากสารอันตรายที่มีในลูกชิ้น วิธีการนำมาปรุงก็เป็นอีกทางที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย พบว่าน้ำมันที่ผ่านการทอด โดยมีการทอดที่ซ้ำหลายครั้ง จนเกิดสีที่คล้ำ กลิ่นเหม็นหืน จะก่อให้เกิดสาร “สารประกอบโพลาร์” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หากบริโภคเข้าสารดังกล่าวจะเข้าไปสะสมในร่างกายและอาจนำมาซึ่งโรคมะเร็งได้
                       นอกจากนี้การปิ้ง-ย่าง ลูกชิ้น หรือเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะเป็นไขมัน หากปิ้ง-ย่างจนไหม้เกรียม ก็เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน


วิธีการเลือกลูกชิ้นที่ปลอดภัย
                 ลูกชิ้นที่เป็นวัตถุดิบ หากเป็นลูกชิ้นตามรถเข็น ให้สังเกตสุขลักษณะของร้านที่ขาย และสุขลักษณะของผู้ขาย ร้านค้ามีการใส่ตู้หรือปิดมิดชิดหรือไม่ แม่ค้าพ่อค้าใส่ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ที่คลุมผมหรือไม่
                    ลูกชิ้นที่ปรุงสุกแล้ว หากเป็นลูกชิ้นตามรถเข็น ให้สังเกตสุขลักษณะของร้านที่ขาย และสุขลักษณะของผู้ขาย ร้านค้ามีการใส่ตู้หรือปิดมิดชิดหรือไม่ แม่ค้าพ่อค้าใส่ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ที่คลุมผมหรือไม่
                         สังเกตการปรุงปรุงลูกชิ้นหากเป็นลูกชิ้นที่ปิ้งให้สังเกตว่ามีลักษณะไหม้เกรียมหรือไม่ เตาที่ใช้ย่างมีลักษณะสะอาด ไม่เกราะคราบดำ ลูกชิ้นทอดให้สังเกตที่น้ำมัน หากน้ำมันมีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีดำ ควรหลีกเลี่ยง
                     สำหรับใครที่ชอบกินลูกชิ้นก็ควรที่จะสังเกตตั้งแต่ การเลือกซื้อ ร้านค้า วิธีการปรุง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เช่น ทานผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และไม่ควรทานลูกชิ้นบ่อยครั้งเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมของสารพิษ สารก่อมะเร็ง และเกิดโรคอ้วนด้วยข้อมูลจาก

ข้อมูลจาก : สำนักงานคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
เรียบเรียงโดย : ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง