“Young Health Programme” ปีที่ 3 จัด “วันงดสูบบุหรี่โลก"เสริมความรู้เยาวชน

“Young Health Programme” ปีที่ 3 จัด “วันงดสูบบุหรี่โลก"เสริมความรู้เยาวชน

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมกับ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สานต่อโครงการ “Young Health Programme” ปีที่ 3 จัดกิจกรรม “วันงดสูบบุหรี่โลก” เสริมความรู้เยาวชนป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมกับ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เดินหน้าโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในเด็กและเยาวชน หรือ Young Health Programme ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องใน “วันงดสูบบุหรี่โลก” หรือ “World No Tobacco Day 2022”

แก่นักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กว่า 1,500 คน จาก 12 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 7 มิถุนายน 2565 เพื่อสร้างความตระหนักรู้ พร้อมสร้างเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากการสูบบุหรี่

“Young Health Programme” ปีที่ 3 จัด “วันงดสูบบุหรี่โลก"เสริมความรู้เยาวชน

กิจกรรมประกอบด้วยการให้ความรู้เพื่อป้องกันและยับยั้งเยาวชนจากการสูบบุหรี่ สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพและการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ

โดยเจ้าหน้าที่องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตัวแทนพนักงานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และเพื่อนแกนนำนักเรียนสร้างเสริมสุขภาพที่ผ่านการอบรมในโครงการ YHP

 

  • สร้างแกนนำ สร้างเกราะป้องกันเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยง

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้แกนนำนักเรียนสร้างเสริมสุขภาพแบ่งปันข้อมูลสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของโครงการ YHP ประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับประชาชนทั่วไปอีกด้วย

กิจกรรมเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เป็นการสร้างความตระหนักรู้และเสริมความเข้าใจแก่เยาวชนถึงอันตรายของบุหรี่ที่กระทบสุขภาพต่อทั้งผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่

“Young Health Programme” ปีที่ 3 จัด “วันงดสูบบุหรี่โลก"เสริมความรู้เยาวชน

จากสถิติพบว่าคนส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่และเสพติดสารนิโคตินตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ผู้ปกครองหรือคนในครอบครัวสูบบุหรี่จะมีแนวโน้มในการสูบบุหรี่มากกว่าเด็กที่อาศัยในครอบครัวที่ปราศจากบุหรี่ถึง 3 เท่า อีกทั้งผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่วัยเด็กยังมีแนวโน้มที่จะมีอาการติดบุหรี่และเลิกได้ยากขึ้น

รายงานขององค์การอนามัยโลก(WHO) เผยว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่มากกว่า 8 ล้านคนทั่วโลก โดยในจำนวนนี้กว่า 7 ล้านรายเสียชีวิตจากผลของการสูบบุหรี่โดยตรง และอีกกว่า 1.2 ล้านรายเสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง1

 

  • คนไทยสูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน เป็นเยาวชนกว่า 3 ล้านคน

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติยังเผยว่า มีคนไทยที่สูบบุหรี่ถึง 10.7 ล้านคน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นเยาวชนกว่า 3 ล้านคน ในขณะที่คนไทยกว่า 17.3 ล้านคนได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มือสองจากคนในครอบครัว

การสูดดมหรือได้รับควันบุหรี่มือสองในระยะเวลาเพียง 30 นาที สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อเยื่อบุหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้2 และยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งปอด โรคเกี่ยวระบบทางเดินหายใจ อาทิ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงผลกระทบต่อระบบประสาท และการทำงานของอวัยวะในร่างกายที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

“Young Health Programme” ปีที่ 3 จัด “วันงดสูบบุหรี่โลก"เสริมความรู้เยาวชน

โครงการ Young Health Programme ในประเทศไทย เริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2562 ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี โดยมุ่งเน้นการสร้างเกราะความรู้ด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแก่เด็กและเยาวชนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังและผลักดันให้เกิดศักยภาพในการตัดสินใจด้านสุขภาพที่เหมาะสม ผ่านกิจกรรมสร้างเสริมความรู้ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับเด็กและเยาวชน

การอบรมพัฒนาแกนนำเยาวชนสร้างเสริมสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การทำแคมเปญประจำเดือนเพื่อสร้างความรู้ในวันสำคัญทางสุขภาพ การอบรมมาตรฐานบริการที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่นและเยาวชนแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไปจนถึงการจัดสัมมนาด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

“Young Health Programme” ปีที่ 3 จัด “วันงดสูบบุหรี่โลก"เสริมความรู้เยาวชน

การขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนผลักดันนโยบายด้านสุขภาพ โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างเสริมศักยภาพการดูแลและป้องกันสุขภาพให้แก่เด็กและเยาวชน และสมาชิกในชุมชนโดยตรง จำนวน 75,000 คน

ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและส่งเสริมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และผู้ได้รับประโยชน์ทางอ้อมในสังคมอีกจำนวน 500,000 คน ผ่านแคมเปญและกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่างๆ