สยามพิวรรธน์ ส่งเสริมหลัก "เศรษฐกิจหมุนเวียน" เพื่อโลกที่ยั่งยืน

สยามพิวรรธน์ ส่งเสริมหลัก "เศรษฐกิจหมุนเวียน" เพื่อโลกที่ยั่งยืน

"สยามพิวรรธน์" เดินหน้า โครงการ "รักษ์โลก" ร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำพันธกิจ ส่งเสริมหลัก "เศรษฐกิจหมุนเวียน" เพื่อโลกที่ยั่งยืน เนื่องใน "วันสิ่งแวดล้อมโลก" 5 มิถุนายน ของทุกปี

วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีถือว่าเป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” เพื่อให้เราได้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายล้อมรอบตัว ทั้งสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ และไม่มีชีวิต ที่จำเป็นต้องอาศัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเป็นวัฏจักรที่แยกออกจากกันไม่ได้ หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดสมดุลก็ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกไปเรื่อยๆ

 

ในฐานะปัจเจกบุคคลเรามีวิธีแสดงออกและร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายๆ เริ่มตั้งแต่ที่บ้าน เช่น การแยกขยะ ลดการใช้พลังงาน หันมาใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน ส่วนในระดับองค์กรธุรกิจย่อมต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนและประเทศที่เข้มข้นมากขึ้น

 

อีกทั้งหากสามารถริเริ่มหรือต่อยอดโครงการที่มีประโยชน์ สร้างจิตสำนึก หรือแรงบัลดาลใจให้คนในสังคมรวมถึงองค์กรต่างๆ นำไปเป็นแบบอย่างก็นับเป็นเรื่องที่ดี ที่ทุกภาคส่วนจะได้ร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของทุกคน

 

กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวคิด การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนยกระดับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินโครงการต้นแบบในการใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สนับสนุนให้คนใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ให้สมดุลและร่วมกันดูแลรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ผ่านโครงการหลากหลาย และเป็นต้นแบบให้กับองค์กร หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนทุกคนได้ศึกษาเป็นแนวทางและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลกได้ผ่านทางโครงการต่างๆ

 

สยามพิวรรธน์ ส่งเสริมหลัก \"เศรษฐกิจหมุนเวียน\" เพื่อโลกที่ยั่งยืน

“Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ระบบจัดการขยะทั้งห่วงโซ่

 

โครงการที่ปลุกกระแส รักษ์โลก ด้วยการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการใช้ซ้ำ (reuse) หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (recycle) จนนำไปสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง (Upcycling) นำขยะมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เต็ดตราแพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

 

สร้างจุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้ว เปิดให้ลูกค้าและประชาชนสามารถนำขยะที่ทำความสะอาดและคัดแยกแล้วมาทิ้งที่จุดดรอปออฟ Recycle Collection Center ที่ตั้งอยู่ที่สยามพารากอน จุดที่ 1 บริเวณจุดจอดรถทัวร์ ชั้น G ฝั่ง North และ จุดที่ 2 บริเวณทางออก 4 ชั้น G (ฝั่งธนาคารกรุงเทพ)

 

ตั้งแต่มิถุนายน 2564 จนถึงปัจุบัน ซึ่งมีคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของสยามพิวรรธน์นำขยะที่คัดแยกดังกล่าวมาตรวจสอบประเภทขยะอย่างละเอียด พร้อมทำความสะอาดในส่วนขยะพลาสติกที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดก่อนนำมาทิ้ง

 

ในปีที่ผ่านมามีปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการมากกว่า 4.7 ตัน ประกอบด้วย กระดาษ /นิตยสารใบปลิว 1,489 กก. ขวดพลาสติกใส 776 กก. พลาสติกแข็ง 233 กก. อลูมิเนียม 121 กก. พลาสติกแบบยืด 209 กก. พลาสติกแบบซอง Multilayer 351 กก. กล่องนม / น้ำผลไม้ / กะทิ 418 กก. และขวดแก้ว 1,193 กก.

 

โดยขยะทั้งหมดได้นำเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง และส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” ที่สยามดิสคัฟเวอรี่

 

สยามพิวรรธน์ ส่งเสริมหลัก \"เศรษฐกิจหมุนเวียน\" เพื่อโลกที่ยั่งยืน

และยังเปิดพื้นที่ให้สามารถนำขยะกำพร้าหรือขยะพลาสติกไร้ค่าที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบได้เพื่อส่งต่อให้กับวงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมินำไปทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน (RDF) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกไร้ค่าแล้ว ยังเป็นการสร้างระบบจัดการขยะเป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง

 

นวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อป ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

 

แม้ว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจศูนย์การค้า ส่วนใหญ่จะเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน แต่สยามพิวรรธน์ก็ยังให้ความสำคัญและส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่างๆ อาทิ

  • โครงการติดตั้งระบบประตูอัตโนมัติเพื่อลดภาระการทำงานของระบบทำความเย็น
  • โครงการปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศ (chiller) ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น
  • โครงการปรับเปลี่ยนระบบแสงสว่างมาใช้หลอด LED
  • โครงการลดการส่งของเสียไปกำจัดโดยการฝังกลบเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ

โดยสยามพิวรรธน์ทำงานร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (VGREEN) ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กรตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เทียบเท่ากับ มาตรฐานสากล ISO 14064-1 จนได้รับการรับรองค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

 

ที่ผ่านมา สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 14,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 858,800 ต้น ยิ่งไปกว่านั้น ไอคอนสยาม ได้นำเอานวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งไว้เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า

 

จากปี 2562 เป็นต้นมา ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 996 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 57,921 ต้น อีกทั้งยังเตรียมต่อยอดโครงการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อปบนพื้นที่สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

 

สยามพิวรรธน์ ส่งเสริมหลัก \"เศรษฐกิจหมุนเวียน\" เพื่อโลกที่ยั่งยืน

 

ต้นแบบของธุรกิจค้าปลีก บริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร

 

โครงการ “CE Model Pathumwan” (1 มีนาคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2565) ร่วมกับสถาบันพลาสติกและ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวิจัยและพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) โดยมุ่งหวังให้สยามพิวรรธน์เป็นต้นแบบของธุรกิจค้าปลีกในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และกำหนดให้สยามพิวรรธน์เป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญสำหรับใช้ศึกษาข้อมูลของผู้บริโภค วงจรการใช้ชีวิต พฤติกรรมการบริโภค การคัดแยกและทิ้งขยะ และนำผลวิจัยไปวิเคราะห์เตรียมจัดทำเป็นแนวคิดพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) การบริหารจัดการขยะพลาสติกในสังคมเมือง

 

ในปี 2564 ได้จัดกิจกรรมมากมาย อาทิ จัดเสวนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “Siam Piwat สู่เส้นทางการจัดการขยะพลาสติกใช้แล้วครบวงจร” จัดกิจกรรม From Pieces to Business: Let’s Close the Loop เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวดนำเสนอไอเดียเพื่อนำไปสู่ Business Model นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และออกบูธให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติกของหน่วยงานบริษัทต่างๆ และในอนาคตยังมีแผนการจัดทำ Digital platform พัฒนาระบบเชื่อมโยงเข้ากับโครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” เพื่อเชิญชวนลูกค้านำขยะที่คัดแยกแล้วมาแลกสะสม points รับเป็นของรางวัลต่างๆ อีกด้วย

 

สยามพิวรรธน์รวมใจ สู้ภัยโควิด

 

สำหรับโครงการที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงโควิด-19  ผ่าน “สยามพิวรรธน์รวมใจ สู้ภัยโควิด” อาทิ โครงการ "แยกขวดช่วยหมอ” ที่ร่วมกับ Less Plastic เชิญชวนลูกค้าและประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนขวดพลาสติกใส (PET) ที่ใช้งานแล้ว โดยมีขวดพลาสติกที่ได้รับจำนวนทั้งสิ้น 1,442 กิโลกรัม สามารถนำไปผลิตเป็นชุด PPE ได้ประมาณ 2,884 ชุด รวมถึงเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งไปยังผู้รับบริจาคทั่วประเทศรวมกว่า 230 เตียง

 

เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคนบนโลกใบนี้ สยามพิวรรธน์จึงเดินหน้าดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างความสมดุลให้กับโลก ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจในทุกมิติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป