ประเมินความเสี่ยง "ฝีดาษลิงในไทย" เพิ่มเฝ้าระวังกลุ่มชายรักชาย

ประเมินความเสี่ยง "ฝีดาษลิงในไทย" เพิ่มเฝ้าระวังกลุ่มชายรักชาย

“ฝีดาษลิงในไทย” ยังไม่พบผู้ป่วย กรมควบคุมโรคประเมินความเสี่ยงล่าสุด 28 พ.ค.2565 ควรเพิ่มการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะชายรักชาย องค์การอนามัยโลก ระบุยังไม่มีเหตุผลต้องฉีด “วัคซีนป้องกันฝีดาษลิง”ขนานใหญ่  สถานการณ์ของโรคขณะนี้ ยังสามารถควบคุมได้

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิงในไทยว่า  ขณะนี้ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ยังไม่พบผู้ป่วย มีเพียงผู้เข้าข่ายสงสัยแต่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยืนยันว่าไม่ใช่โรคฝีดาษลิง โดยเป็นการติดเชื้อเริม ขณะนี้อยู่ระหว่างพักรักษาอาการผื่นที่สถาบันบำราศนราดูร คาดว่าจะกลับบ้านได้ใน 1-2 วัน
        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ วันที่ 28 พ.ค.2565 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร(ฝีดาษลิง) ฉบับที่ 4   สาระสำคัญระบุว่า

 ฝีดาษลิงสถานการณ์ทั่วโลก
     สถานการณ์ทั่วโลกของโรคฝีดาษวานร(ฝีดาษลิง)ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2565 ที่มีการรายงานผู้ป่วยรายแรกใน ประเทศที่ไม่ใช่พื้นที่โรคประจำถิ่นของโรคนี้ถึงวันที่ 28 พ.ค. 2565 มี

การรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 484 ราย (เพิ่มขึ้น 53 ราย) ใน 27 ประเทศทั่วโลก (เพิ่มขึ้น 1 ประเทศ) เป็น 

  • ผู้ป่วยยืนยัน 401 ราย (เพิ่มขึ้น 69 ราย)
  • ผู้ป่วยสงสัย 83 ราย (ลดลง 16 ราย)

ประเทศที่มีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่

  1. สเปน 139 ราย (ร้อยละ 29)
  2. อังกฤษ 101 ราย (ร้อยละ 21)
  3. โปรตุเกส 74 ราย (ร้อยละ 15)
  4. แคนาดา 63 ราย (ร้อยละ 13)
  5. เยอรมัน 21 ราย (ร้อยละ 4)

         ประเทศใหม่ที่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง ได้แก่ อิหร่าน ข้อมูลทางระบาดวิทยาของสถานการณ์ทั่วโลก จากรายงานทั้งหมด มี 195 ราย ที่มีการรายงานข้อมูลปัจจัย เพศ พบว่าส่วนใหญ่เป็น

  • เพศชาย (ร้อยละ 97)
  • เพศหญิง (ร้อยละ 3)

สำหรับอายุ จากรายงาน 71 ราย ที่มีข้อมูล ทั้งหมดเป็นกลุ่มอายุ 20-59 ปี

จากรายงานที่มีข้อมูลอาการ 92 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99) มีผื่น โดยผื่นที่พบ ได้แก่

  • ลักษณะแผลหรือ ulcerative lesion (ร้อยละ 80)
  • ไม่ระบุลักษณะ (ร้อยละ 10)
  • ตุ่มน้ำใส (ร้อยละ 8)
  • ผื่นนูน และตุ่ม หนอง (ร้อยละ 1)

ตำแหน่งของผื่น ได้แก่

  • ไม่ระบุตำแหน่ง (ร้อยละ 60)
  • บริเวณอวัยวะเพศ (ร้อยละ 57)
  • บริเวณปาก (ร้อยละ 19)
  • บริเวณรอบทวารหนัก (ร้อยละ 1)

อาการอื่นที่พบ ได้แก่

  • ไข้ (ร้อยละ 27)
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ไอ กลืนลำบากเล็กน้อย และปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 1)

จากรายงานที่มีข้อมูลสายพันธุ์ 9 ราย ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ West African จากรายงานทั้งหมด มี 84 ราย ระบุว่า

- มีประวัติเดินทาง 49 ราย (ร้อยละ 58) โดยมีข้อมูลระบุมี ประเทศต้นทาง 20 ราย (ร้อยละ 54) ได้แก่

  • สเปน (ร้อยละ 45)
  • อังกฤษ (ร้อยละ 10)
  • โปรตุเกส เบลเยียม แคนาดา ประเทศในแอฟริกาแต่ไม่ระบุชื่อ (ร้อยละ 7)
  • ไนจีเรียและเยอรมัน (ร้อยละ 3)


สถานการณ์ฝีดาษลิงในไทย

สถานการณ์โรคฝีดาษในประเทศไทย ณ วันที่ 28 พ.ค. 2565ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการติดต่อโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย(ฝีดาษลิงในไทย) มีโอกาสพบผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศที่มีการรายงาน ผู้ป่วย เช่น ประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก สหราชอาณาจักรอังกฤษ สเปน โปรตุเกสและแคนาดา


ฝีดาษลิงประเด็นที่น่าสนใจจากต่างประเทศ
องค์การอนามัยโลก ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ยังไม่มีเหตุผลที่จะต้องเร่งฉีด วัคซีนขนานใหญ่เพื่อป้องกันโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) หรือฝีดาษลิง เนื่องจากสถานการณ์ของโรคดังกล่าวในขณะนี้ ยังสามารถควบคุมได้ แต่เตือนให้ตระหนัก เพื่อรับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อที่เราจะสามารถใช้มาตรการที่เพียงพอ ในเวลาที่เหมาะสม

 อังกฤษ สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) ออกคำแนะนำใหม่เกี่ยวกับผู้ ติดเชื้อฝีดาษวานรโดยระบุว่า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงของตนเองเป็นเวลา 21 วัน โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงที่เป็นหนูเจอร์บิลหรือหนูทะเลทราย หนูแฮมเตอร์ส และสัตว์ตระกูลฟันแทะ เพราะอาจมีความไวต่อโรค นี้เป็นพิเศษ และกังวลว่าเชื้อไวรัสฝีดาษวานรอาจแพร่ระบาดไปยังประชากรสัตว์ประเภทดังกล่าว


ข้อเสนอแนะฝีดาษลิงในไทย
ข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย ควรเพิ่มการเฝ้าระวังและให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อการป้องกันโรคในสถานบริการที่มีความเสี่ยง เน้น ย้ำประชาชนให้มีการปฏิบัติตามมาตรการ UP