เครื่อง ECMO “ปอดเทียม - หัวใจเทียม” ตัวช่วยแพทย์ในภาวะวิกฤติ

เครื่อง ECMO “ปอดเทียม - หัวใจเทียม” ตัวช่วยแพทย์ในภาวะวิกฤติ

เครื่องเอคโม่ (ECMO) หรือที่หลายคนเรียกว่า ปอดเทียม หรือ "หัวใจเทียม” นับเป็นเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการทำงานทำให้การรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ และถูกนำมาใช้ในช่วง "โควิด-19" เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอาการหนัก

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการทำงานทำให้การรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ มีโอกาสรอดชีวิตรวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในสภาวะฉุกเฉิน เทคโนโลยีทางการแพทย์มักถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยอย่างทันท่วงที เพื่อแข่งกับนาทีชีวิต ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ เครื่องเอคโม่ (ECMO) หรือที่หลายคนเรียกว่า “ปอดเทียม หรือหัวใจเทียม” 

 

นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ อธิบายว่า เครื่องเอคโม่ ECMO (Extracorporeal Membrane Oxygenation) เป็นเครื่องที่ใช้พยุงปอดและหัวใจ ด้วยการดึงเลือดออกจากตัวผู้ป่วยแล้วนำมาฟอกผ่านเครื่องโดยจะมีการควบคุมอุณหภูมิและออกซิเจน ซึ่งตัวเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกับปั๊มน้ำส่งคืนเลือดกลับเข้าไปในร่างกาย สามารถทำงานทดแทนปอดและหัวใจได้ ในกรณีที่ปอดและหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

 

หลักการทำงานของเครื่อง 

 

  • เครื่องจะดึงเลือดออกจากตัวคนไข้ ด้วยการใส่ท่อพลาสติกที่มีขนาดใหญ่เท่าหัวแม่มือผ่านหลอดเลือดตามแขน คอ หรือขา
  • ในบางกรณีอาจใส่ตรงเข้าไปในหัวใจก็ได้โดยการเปิดหน้าอกเข้าไป แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใส่จากที่ขาหนีบขึ้นไปถึงหัวใจ 
  • ซึ่งการใส่จะต้องไม่ทำอันตรายกับหลอดเลือดและไม่ไปทะลุเข้าหัวใจ 
  • ท่อที่ใส่นี้จะใส่อย่างน้อย 2 ท่อ ท่อหนึ่งจะเป็นการเอาเลือดออกจากร่างกาย ส่วนอีกท่อหนึ่งจะเอาเลือดกลับเข้าร่างกาย
  • เมื่อเอาเลือดออกจากร่างกายเข้ามาในตัวเครื่องแล้ว ตัวเครื่องจะเติมออกซิเจนแล้วมีการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ในการปรับอุณหภูมิ 
  • อย่างในกรณีที่คนไข้มีไข้ หรือในกรณีที่คนไข้หัวใจหยุดเต้นมาเป็นเวลานาน ต้องการให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำเพื่อที่จะรักษาเซลล์ในสมอง ก็จะใช้การควบคุมอุณหภูมิจากตัวเครื่อง ส่วนการเติมออกซิเจน

 

เครื่อง ECMO “ปอดเทียม - หัวใจเทียม” ตัวช่วยแพทย์ในภาวะวิกฤติ

ตัวช่วย ปอดถูกทำลาย ทดแทนการทำงานหัวใจ

 

ในบางกรณีเจอคนไข้โรคปอดที่ทำให้ปอดไม่ยอมทำงาน เช่น การติดเชื้อโควิด-19 โดยคนไข้โควิด-19 บางส่วน มีเชื้อโรคเข้าไปทำลายปอดทำให้ปอดหยุดทำงานไปชั่วขณะหนึ่ง อาจจะเป็นอาทิตย์ๆ การใช้เครื่องตัวนี้ก็จะช่วยได้ โดยมีการเติมออกซิเจนเข้าไปทดแทนปอด ก็คือ ดึงเอาเลือดออกมาแล้วเติมออกซิเจนข้างนอกด้วยการผ่านตัวปั๊มแล้วส่งกลับคืนเข้าสู่ร่างกายอีกทีหนึ่ง

 

ซึ่งจะพบได้ในคนไข้โรคปอด ไม่ว่าจะเป็นปอดติดเชื้อ ปอดเกิดการอักเสบจากสาเหตุต่างๆ ก็สามารถใช้เครื่องตัวนี้ช่วยชีวิตคนไข้ได้เมื่อเติมออกซิเจนเสร็จก็ต้องผ่านตัวปั๊ม โดยตัวปั๊มจะมีหน้าตาเหมือนกรวยจะทำการปั่นเลือดแล้วคืนกลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้ ซึ่งตัวปั๊มนี้สามารถใช้ทดแทนการทำงานของหัวใจได้ ฉะนั้น ในกรณีหัวใจไม่ยอมเต้น เช่น หัวใจวาย หรือคนไข้ที่หลอดเลือดหัวใจตีบที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วไม่ยอมทำงาน ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ทดแทนการทำงานของหัวใจได้เช่นกัน

 

“ในระหว่างที่นำคนไข้มาปั๊มหัวใจ หรือสวนหัวใจ รวมทั้ง ทำการรักษา เตรียมการผ่าตัด สามารถใช้เครื่องมือนี้ซื้อเวลาให้คนไข้มีความดันอยู่ในหลอดเลือดในปริมาณที่พอจะเลี้ยงสมองและอวัยวะต่างๆ ได้ก่อน” สำหรับประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องนี้ว่า “หากไส้กรอง หรือ Membrane นี้มีการทำงานที่ยืนยาวมากขึ้น จะสามารถใช้ทดแทนปอดในคนไข้ที่มีความจำเป็นที่จะใช้ปอดเทียมในระยะยาวๆ ได้"

 

"เช่น โรคถุงลมโป่งพองชนิดที่ว่าไม่สามารถฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง หรือปอดเป็นพังผืดชนิดที่ไม่กลับมาแล้ว บางรายต้องอาศัยการผ่าตัดเปลี่ยนปอดแต่ก็หาผู้บริจาคได้ยาก ซึ่งถ้าท่อตัวนี้สามารถใช้ได้ยาวนานขึ้น หลายๆ เดือน หรือเป็นปี ก็จะช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้”

 

เครื่อง ECMO “ปอดเทียม - หัวใจเทียม” ตัวช่วยแพทย์ในภาวะวิกฤติ

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีปริมาณของบุคลากรที่จะเข้ามาร่วมดูแลคนไข้ที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก และมีความพร้อมเพรียงกันทุกแผนก ทั้งสาขาที่หายากในหลายๆ สาขา บางครั้งเจอปัญหายากในคนไข้บางราย แต่ได้ที่ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเรื่องนั้นมาช่วยดูแลก็ทำให้ผ่านพ้นปัญหายากๆ ไปได้

 

รางวัล ทีมเอคโม่ ช่วยเหลือ ผู้ป่วย 

 

การนำเครื่องเอคโม่มาใช้ในการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วย ส่งผลให้ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้รับรางวัล ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support ในปี 2022 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับทีมเอคโม่ จากสถาบันที่มี ECMO service ทั่วโลก ซึ่งมี 7 ด้าน เริ่มจาก

  • Systems Focus คือ ลักษณะของศูนย์บริการ การดูแลคนไข้ จัดระบบเป็นอย่างไร มีจำนวนบุคลากรจำนวนเพียงพอหรือไม่
  • Environmental Focus เรื่องของจำนวนห้องไอซียู อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
  • Workforce Focus จะเป็นเรื่องของจำนวนบุคลากร
  • Knowledge Management เรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้ในโรงพยาบาล การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแพทย์และบุคลากรต่างๆ เช่น มีการประชุม มีการปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่อง
  • Quality Focus จะเป็นเรื่องผลสัมฤทธิ์ในการดูแลคนไข้ มีการลงข้อมูลว่าคนไข้รายนี้ใส่เครื่องเอคโม่เมื่อไร การใส่เป็นอย่างไร รวมทั้ง มีการลงฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะต้องเอาผลไปเทียบกับผลของ ECMO service อื่นๆ ทั่วโลกด้วย เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในคะแนนที่จะนำมาพิจารณา
  • Process Optimization ดูว่าการทำงานของทีมสอดคล้องกับคำแนะนำที่ให้มาหรือไม่ โดยทางการแพทย์จะมีงานวิจัยออกมาใหม่ๆ ทุกปี ทางทีมเอคโม่ของเราก็เอาความรู้พวกนี้มาปรับการทำงานของทีม ไม่ใช่ว่า 5 ปีก่อนทำอย่างไรปัจจุบันก็ทำอย่างเดิม แต่จะต้องมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ
  • Patient & Family Focus ไม่ใช่ดูแลแต่คนไข้แต่ต้องดูแลไปถึงครอบครัวของคนไข้ด้วย บางครั้งต้องมีการเอานักจิตวิทยา จิตแพทย์เข้ามาอยู่ในทีม ในบางเคส เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าทั้งตัวผู้ป่วยและญาติสามารถร่วมไปกับการรักษาของทางทีมแพทย์ได้ โดยจะต้องมองภาพใหญ่ ภาพรวมทั้งหมด

 

ในแถบเอเชียตะวันออก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ นับเป็นแห่งที่ 3 ถัดจาก National Taiwan University Hospital และ Chonnam National University Hospital ที่ได้รางวัลนี้

 

เครื่อง ECMO “ปอดเทียม - หัวใจเทียม” ตัวช่วยแพทย์ในภาวะวิกฤติ