เช็ก จุดรักษา Long COVID ฟรี ! ทั่วประเทศ

เช็ก จุดรักษา Long COVID ฟรี ! ทั่วประเทศ

สธ.ระบุลองโควิด Long COVID รักษาฟรีรพ.สังกัดสธ.ทั่วประเทศ เร่งสำรวจข้อมูลอัตราการป่วย ก่อนพิจารณาต้องตั้งคลินิกเฉพาะหรือไม่  จุฬาแนะวิธีฟื้นฟูด้วยตนเอง 

ลองโควิด Long COVID คือ 

    องค์การอนามัยโลก หรือ ฮู  ระบุว่า คนส่วนใหญ่จะฟื้นตัวจากโควิด19ได้ภายใน 3 เดือน ดังนั้น หากเวลาผ่านไปแล้ว 3 เดือน ตั้งแต่วันที่คุณได้รับการวินิจฉัยว่าติดโควิด19 และยังคงรู้สึกไม่สบาย และปรากฎอาการในกลุ่ม ลองโควิด Long COVID เช่น หายใจลำบาก สมองล้า หรืออ่อนเพลีย ควรพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและวินิจฉับ แพทย์และนักบำบัดอื่นๆ ช่วยออกแบบแนวทางฟื้นฟูเพื่อรับมือกับอาการลองโควิดได้

อาการ Long COVID

    กรมการแพทย์ ระบุว่า จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วบเป็นโควิด19ของกรมการแพทย์ อาการที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้

ระบบประสาท 27.33  %

    อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน  ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ 

ระบบผิวหนัง  22.8%

      ผมร่วง ผื่นแพ้

ระบบทั่วไป23.41%
     อ่อนเพลีย  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

ระบบทางจิตใจ 32.1%
     นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า

ระบบหัวใจและหลอดเลือด 22.86%
เจ็บหน้าอก ใจสั่น

ระบบทางเดินหายใจ 44.38%

หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง

รักษาLong COVID ฟรี

    นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มการประกาศลดระดับการเตือนภัยสุขภาพกรณีโควิด-19 จาก 3 เป็น 2 ว่า ในการประกาศลดเป็นระดับ 2 ก็จะมาดูสิ่งที่ห้ามและไม่ห้ามทำ โดยจะสอดคล้องกับมาตรการภาพรวมที่ต้องเสนอต่อที่ประชุม ศบค. ส่วนจะเสนอในวันที่ 20 พ.ค. หรือไม่นั้น ก็อยู่ระหว่างการหารือกับกรมควบคุมโรค

      ผู้สื่อข่าวถามถึง แนวทางการดูแลผู้ป่วยลองโควิด( Long COVID) นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า  การติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน พบว่า อาการลองโควิด Long COVID มีไม่มาก ซึ่งได้เตรียมการดูแลไว้แล้ว แต่จะเป็นลักษณะคลินิกเฉพาะเลยหรือไม่นั้น จะต้องหารือกับกรมการแพทย์ เพื่อศึกษาว่าอาการลองโควิดจะเป็นนานหรือไม่ หรือมีอาการมากกว่าปกติอย่างไร หรือมีอัตราป่วยมากขนาดไหน เพราะหากอาการป่วยที่ไม่มาก สามารถใช้คลินิกปกติดูแลให้บริการได้

อาการลองโควิด Long COVID ส่วนใหญ่ไม่ถึงกับป่วยหนัก ประชาชนสามารถสังเกตเพื่อดูแลตัวเองได้ ซึ่งหากพบว่ามีอาการลองโควิด ก็สามารถติดต่อที่รพ.เพื่อรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย” นพ.เกียรติภูมิกล่าว

เมื่อถามถึง กรมการแพทย์ ออกแนวทางการจัดตั้ง คลินิกลองโควิด Long COVID นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการเสนอเข้ามาในที่ประชุมอีโอซี ซึ่งกรมการแพทย์เป็นกรมวิชาการ ที่มีหน้าที่พัฒนารักษาทุกรูปแบบ

      ด้านนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โดยหลักการของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง จะครอบคลุมการรักษาทุกโรคอยู่แล้ว ซึ่งขึ้นกับการวินิจฉัยโรคของแพทย์ โดยเบื้องต้นอาการลองโควิด Long COVID จะมีสภาพต่างๆ เช่น ปวดหัว เป็นไข้ อ่อนเพลีย โดยหลักการแล้วก็มั่นใจผู้มีสิทธิบัตรทองจะครอบคลุมการรักษาดังกล่าวได้  แต่ก็ต้องขึ้นกับการนิยมอาการลองโควิด ของกระทรวงสาธารณสุข และ ศบค.ด้วย ซึ่งบางอาการก็ดูเหมือนเป็นอาการใหม่ ที่งบประมาณที่มีอยู่อาจไม่ครอบคลุม หรือ ไม่เคยมีการตั้งงบประมาณไว้

     อาจทำให้โรงพยาบาลหรือผู้ให้การรักษา เกิดข้อกังวลว่าจะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน สปสช.ก็อาจจะต้องตั้งงบประมาณและกำหนดให้ชัดเจนว่า เป็นงบสำหรับการรักษาอาการลองโควิด ซึ่ง สปสช.ก็เคยดำเนินการแล้ว ในกรณีตั้งงบประมาณสำหรับเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด19 ทั้งนี้ขอให้ประชาชนไม่ต้องกังวลใจ เพราะ สปสช. จะติดตามสถานการณ์และปรับปรุงเกณฑ์ให้เหมาะสมเพื่อดูแลประชาชนอยู่แล้ว

คลินิก “Long COVID” ในกทม.
     นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เปิดเผยว่า เนื่องจากแต่ละคนตอบสนองต่อเชื้อโควิดแตกต่างกัน อีกทั้ง ปัญหาด้านการหายใจ เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งในภาวะลองโควิด โดยอาจมีการเกิดแผลเป็น พังผืดในเนื้อปอด ได้กว่าครึ่งของกลุ่มที่มีอาการมากหรือมีโรคประจำตัวอยู่ก่อน หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่เร็ว และได้รับการรักษาที่เหมาะสม สามารถทำให้อาการดังกล่าวหายไปและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น จึงเตรียมเปิด คลินิก Long COVID ในโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง ดังนี้

ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.

1.ARI Clinic โรงพยาบาลตากสิน

ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.

2.คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

3.คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลสิรินธร

ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.

4.คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

5.ARI Clinic โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

6.คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน

ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.

7.คลินิกประกันสุขภาพ โรงพยาบาลกลาง

8.คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ

9.คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์


แนวทางจัดตั้งคลินิก “Long COVID”
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยแพร่แนวทางการจัดตั้ง

“คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” โดยแบ่งแนวทางการจัดการออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการให้บริการ 2. ด้านบุคลากรที่ให้บริการ 3. ระบบสารสนเทศในการดำเนินการ

4. การเข้าถึงระบบ ผลิตภัณฑ์ และบริการ 5. ระบบการเงินการคลัง 6. ภาวะผู้นำการอภิบาล

สำหรับแนวทางการจัดตั้ง “คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” คือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งคลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID ขึ้นในโรงพยาบาลทุกระดับ โดยให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic)

ในส่วนของรูปแบบ คลินิกจะให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic) โดยสถานที่และวันเวลานั้น ใช้การจัดตั้งในสถานพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะเปิด-ปิด ตามเวลาราชการ หรืออาจดำเนินการเฉพาะวันโดยเน้นระบบการนัดหมายล่วงหน้า


ฟื้นฟู “Long COVID”ด้วยตนเอง

     คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้แนวทางผู้ที่มี อาการLong COVIDลองโควิด สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ง่ายๆด้วยการออกกำลังกาย ภายในแต่ละระยะ ดังนี้

       สัปดาห์ที่ 1  เตรียมความพร้อมของร่างกาย ควรใช้การเดิน ฝึกการหายใจเข้า -ออกให้สุดแบบช้าๆให้อยู่ในระดับไม่เหนื่อยหรือเหนื่อยเล็กน้อย 

     สัปดาห์ที่ 2 ออกกำลังในระดับเบา เช่น การเล่นโยคะเบาๆ การทำงานบ้านเบาๆ และเพิ่มระยะเวลาเป็นวันละ 10-15 นาที และให้อยู่ในระดับรู้สึกเหนื่อยเพียงเล็กน้อย

          สัปดาห์ที่ 3 ออกกำลังในระดับปานกลาง เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น

   สัปดาห์ที่ 4  เพิ่มความซับซ้อนในการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่งเปลี่ยนทิศทาง การวิ่งไปทางด้านข้าง และสามารถสลับวันในการออกกำลังกายได้ เพื่อไม่ให้ร่างกายออนเพลีย

   สัปดาห์ที่ 5 ในระยะนี้สามารถกลับไปออกกำลังได้ตามปกติ และสามารถเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังได้เท่าที่สามารถทำได้