"เงินชราภาพ" ประกันสังคม ม.33 เตรียมเบิกใช้ก่อนได้ เปิดวิธีเช็กยอด ทำอย่างไร

"เงินชราภาพ" ประกันสังคม ม.33 เตรียมเบิกใช้ก่อนได้ เปิดวิธีเช็กยอด ทำอย่างไร

ส่องเกณฑ์ใหม่ ครม.เคาะแนวทาง "ประกันสังคม" เตรียมปรับให้ "ผู้ประกันตน ม.33" นำ "เงินชราภาพ" เบิกมาใช้บางส่วนได้ ไม่ต้องรอเกษียณ พร้อมเปิดวิธีเช็กยอดสะสมเงินชราภาพที่เรามีอยู่ด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม sso.go.th

ข่าวดี! สำหรับ "ผู้ประกันตนมาตรา33" ในกองทุน "ประกันสังคม" หลัง ครม. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 10 พ.ค. 2565 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอปรัฐเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

โดยหนึ่งในสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ฉบับนี้ คือการแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพอันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตน

โดยกำหนดให้ผู้ประกันตนมีโอกาสเลือกบริหารจัดการเงินที่สะสมไว้เพื่อโอกาสต่างๆ มากขึ้น กับเกณฑ์ใหม่ “3 ขอ”  ได้แก่

1. ขอเลือก : มีสิทธิเลือกรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ เมื่อนำส่งเงินสมทบครบเงื่อนไขการได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว

2. ขอกู้ : นำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน

3. ขอคืน : สามารถนำเงินกรณีชราภาพที่ตนสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วน

ทั้งนี้ ยังขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้ 

อ่านรายละเอียด สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพิ่มเติม >> คลิกที่นี่

อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.ประกันสังคมในครั้งนี้ จะต้องรอประกาศใช้บังคับอย่างเป็นการทางอีกครั้ง 

  •  วิธีเช็ก "เงินชราภาพ" ในกองทุนประกันสังคม สะสมไว้เท่าไรแล้ว ? 

ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะถูกหักเงินเดือนเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม 5% ของรายได้ทุกๆ เดือน ซึ่งเงินส่วนที่ถูกหักออกไปนั้นจะถูกแบ่งออกไปสมทบ 3 ส่วน เพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตของผู้ประกันตนในมิติต่างๆ คือประกันเจ็บป่วย หรือตาย, ประกันการว่างงาน และประกันชราภาพ 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : เรื่องต้องรู้! ปรับเกณฑ์ "เงินชราภาพ" ผู้ประกันตน "ประกันสังคม" ม.33

เช่น มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม เดือนละ 750 บาท (อัตราสูงสุด) โดยเงินจะถูกแบ่งออกไปตามสัดส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 : 1.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 225 บาท จะใช้ในส่วนประกันเจ็บป่วย หรือตาย 
ส่วนที่ 2 : 0.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 75 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันการว่างงาน 
ส่วนที่ 3 : 3% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 450 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันชราภาพ 

ซึ่งเงินที่ถูกสมทบในกลุ่มสุดท้ายที่เรียกว่า "เงินชราภาพ" นี้ จะถูกสะสมไปเรื่อยๆ โดยมีนายจ้างสมทบเพิ่มเท่ากับลูกจ้าง และรัฐบาลช่วยสมทบให้อีก 2.75% 

โดยเงินสะสมประกันชราภาพนี้สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ "ประกันสังคม" www.sso.go.th 

2. เลือกเมนู เข้าสู่ระบบ (กรณีไม่เคยลงทะเบียนสามารถกด สมัครสมาชิก ก่อนให้เรียบร้อย)

\"เงินชราภาพ\" ประกันสังคม ม.33 เตรียมเบิกใช้ก่อนได้ เปิดวิธีเช็กยอด ทำอย่างไร

3. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน

\"เงินชราภาพ\" ประกันสังคม ม.33 เตรียมเบิกใช้ก่อนได้ เปิดวิธีเช็กยอด ทำอย่างไร 4. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงหน้าที่ระบุว่า "การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ" ซึ่งจะปรากฏตัวเลข จำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตน จำนวนเงินสมทบของนายจ้าง จำนวนเงินสมทบของรัฐ ยอดเงินรวม (รายปี)

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)

กรณี ที่จ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผมประโยชน์ทดแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่มีในระบบ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่รวมยอดที่อยู่ระหว่างการบันทึก เงินสมทบค้างชำระหรือข้อขัดข้องอื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

---------------------------------------------

อ้างอิง: ประกันสังคม, มติ ครม. 10 พ.ค. 65