BCI EQUINOX BANGKOK 2020 เปิดนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างในไทยและภูมิภาค

BCI EQUINOX BANGKOK 2020 เปิดนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างในไทยและภูมิภาค

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 บีซีไอ เอเชีย ( BCI Asia ) ได้จัดงาน BCI EQUINOX BANGKOK 2020 ครั้งที่ 3 ณ โรงแรม S31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ

ในงานครั้งนี้ได้จัดนิทรรศการแสดงสินค้าในรูปแบบบูทีคค็อกเทล ซึ่งป็นรูปแบบเดียวกับที่จัดมาแล้วก่อนหน้านี้ในทวีปเอเชีย ทั้ง สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยภายในงานได้มีการแสดงผลงานการออกแบบ เพื่อให้ผู้ชมงานได้อยู่ในบรรยายกาศที่ผ่อนคลาย ง่ายต่อการสานสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทั้งยังได้มีการแสดงสินค้าจากทั้งผู้ผลิตและนำเข้าสินค้ในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีของสิ่งก่อสร้างที่มีในภูมิภาค ซึ่งทั้งหมดได้ตั้งใจมุ่งเน้นถึงนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้ออม และอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง

BCI EQUINOX BANGKOK 2020 เปิดนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างในไทยและภูมิภาค

พร้อมกันนี้ในงานยังได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัววารสารฟิวเจอร์อาร์ค ไตรมาส 1 เล่มที่ 68 ที่เผยแพร่ผลงาน “สวนผักออแกนิคบนลังคาทีใหญ่ที่สุดในเอเชีย” รวมถึงเปิดตัวหนังสือ Ecopuncture: การปฏิรูปสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตในเอเชีย

กชกร วรอาคม ผ้กู่อตั้งและผู้บูริหารบริษัท แลนด์โปรเซส จำกัด และ บริษัท พอรัส ซิตี้เนทเวิรค์ จำกัด ประธานสมาพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ ภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค กล่าวในพิธีเปิดงานว่า  ปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไปมาก ในแต่ละเมืองล้วนประสบปัญหาที่คล้ายกันคือมีผู้คนอาศัยอย่างหนาแน่นและสภาพอากาศแออัดและในฐานะนักออกแบบต้องการที่จะมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองที่สร้างความยั่งยืนไปพร้อมๆกัน จึงสนใจที่จะนำองค์ความรู้สถาปัตย์ไปแก้ปัญหาพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อต่อกรกับปัญหาสภาพอากาศ

BCI EQUINOX BANGKOK 2020 เปิดนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างในไทยและภูมิภาค

ทั้งนี้ผลงานที่เป็นตัวอย่างและแสดงถึงความสนใจ เช่น การชนะการประกวดออกแบบและได้สร้างอุทยานจุฬาฯ 100 ปี ซึ่งเป็นสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพใน 30 ปีของกรุงเทพ การทำหลังคาสวนผักที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกับอาคารอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ซึ่งทั้งหมดแสดงถึงการสร้างผลงานที่ความสวยงาม แนวคิดเชิงออกแบบ ประโยชน์การใช้และความยั่งยืนในถูกผสมผสานเข้าด้วยกัน

สำหรับหนังสือ The Ecopunture: การปฎิรปู สถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตในเอเชีย ที่เปิดตัวในวันนี้นั้น เขียนโดยหัวหน้าบรรณาธิการวารสาร FuturArc, Dr Nirmal Kishnani. The Ecopunture: Transforming Architecture and Urbanism in Asia โดยเนื้อหาเป็นการปัดฝุ่นความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และวิเคราะห์บทบาทของนักออกแบบในฐานะสะพานเชื่อมระหว่างสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและระบบธรรมชาติโครงการทั้ง 16 โครงการ ในหนังสือเป็นการแสดงประจักษ์พยานของมุมมองทั่วโลกด้านระบบนิเวศ

ขณะที่วารสารฟิวเจอรอ์ ารค์ (FuturArc) คือนิตยสารรายไตรมาสด้านสถาปัตยกรรมเขียวและการออกแบบในทวีปเอเชีย ที่นำเสนอโครงการที่น่าสนใจในแง่มุมการถกเถียงเชิงลึกและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสถาปัตยกรรมจากนักวิชาการชั้นนำที่เกี่ยวข้อง เริ่มตีพิมพ์ในปี 2549

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแบ่งปันงานสถาปัตยกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคมและมีความยั่งยืน ให้ตระหนักเพิ่มขึ้นในหมู่นักค้นคว้าและผู้สนใจ

นอกจากนี้นิตยสารยังได้จัดการประกวดแบบเพื่อเฟ้นหาไอเดียที่ไม่ไช่แค่สร้างสรรค์ แต่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยรางวัล ฟิวเจอร์อาร์คไพรซ์ (FUTURARC PRIZE) และ ฟิวเจอร์อาร์คกรีนลีดเดอร์ชิป (FUTURARC GREEN LEADERSHIP) อีกด้วย

BCI EQUINOX BANGKOK 2020 เปิดนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างในไทยและภูมิภาค