ปิดฉากมหากาพย์7ปี'แอชตัน อโศก'อนันดาขอ14วันลุ้นปาฏิหาริย์ไม่ทุบตึก

ปิดฉากมหากาพย์7ปี'แอชตัน อโศก'อนันดาขอ14วันลุ้นปาฏิหาริย์ไม่ทุบตึก

อนันดา ยอมรับคดี “แอชตัน อโศก” ถึงที่สุดแล้ว ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนก่อสร้าง ยืนยันดำเนินการถูกต้อง สุจริต เล็งหารือความรับผิดชอบค่าเสียหายจากหน่วยงานภาครัฐร่วมรับผิดชอบ-เยียวยาผลกระทบ ขอเวลา 14 วัน ลุ้นสร้างปาฏิหาริย์ไม่ต้องทุบตึก

ถือเป็นคดีสะเทือนวงการอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยหลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษา “ยืนตามศาลชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง)” ให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ “แอชตัน อโศก” โดยประเด็นสำคัญในการพิจารณาเกี่ยวกับการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถนำที่ดินเวนคืน มาใช้กับวัตถุประสงค์อื่นมิชอบด้วยกฎหมาย จากวัตถุประสงค์ระยะต้นเวนคืนเพื่อนำมาทำรถไฟฟ้าระยะแรก

โดยฝั่งผู้ถูกฟ้อง ยื่นอุทธรณ์ กรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 ราย กระทำการฟ้องร้องเรื่องดังกล่าว ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่พบหรือไม่นั้น ซึ่งคำวินิจฉัยระบุว่า การที่ผู้ถูกฟ้องร้องออกใบอนุญาตให้ผู้ร้องสอด คือ อนันดาฯ เพื่อดัดแปลง ส่งผลกระทบผู้พักอาศัยที่ใช้ทางสาธารณะประโยชน์ ซึ่งการฟ้องร้องนี้เป็นการเรียกคืนทางสาธารณะประโยชน์ ดังนั้น จะผู้ยื่นฟ้องจะฟ้องเมื่อไรก็ได้ คำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องฟังไม่ขึ้น

ขณะที่ที่ดินของแอชตัน อโศก เดิมติดกับถนนสาธารณะ (ถนนอโศกมนตรี) แต่ต่อมาที่ดินบางส่วนถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งติดถนนสาธารณะ และไม่มีทางออก ต่อมา รฟม. อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ที่ดินเพื่อเป็นทางผ่าน

ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจนำที่ดินของ รฟม. ไปประกอบการยื่นแจ้งการก่อสร้างและดัด แปลงอาคารโครงการแอชตัน อโศกได้ และไม่อาจถือได้ว่าที่ดิน รฟม. ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ตั้งอาคารของผู้ร้องสอด ตามนิยามในข้อ 1 ของ กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่ม เติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ส่งผลให้แอชตัน อโศก ไม่มีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินยาวไม่น้อย กว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร

คดีแอชตัน อโศกถึงที่สุดแล้ว

นายพิสิษฐ เดชไชยยาศักดิ์ ที่ปรึกษากฎหมายจาก สำนักงาน WCP กล่าวว่า กรณีศาลวินิจฉัยยืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง โดยประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ประเด็นของ รฟม. มาจากการเวนคืนจึงไม่อาจนำมาให้เอกชนใช้ในการประกอบการได้และเมื่อไม่สามารถนำมาใช้ในการประกอบการได้ การที่หน่วยงานของรัฐมาออกใบอนุญาตในการให้การก่อสร้าง จึงเป็นประเด็นว่า “ขัดต่อกฏหมาย” คือ ที่ดินไม่มีทางที่เป็นไปตามกฏกระทรวงฉบับที่33 ประกอบด้วยฉบับที่50 เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นประเด็นหลัก

“คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดถือว่า ถึงที่สุดแล้ว ในกรณีของสยามสมาคมก็ไปปเกาะเกี่ยวกับเรื่องของการใช้ทางอยู่เหมือนกันแต่ต้องย้อนกลับมาว่า หลักเดิมคือทางมาจากการเวนคืน”
 

เล็งหารือความรับผิดชอบค่าเสียหาย

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงผ่านซูมวานนี้ (27 ก.ค.) ว่า ขณะนี้ตนอยู่สหรัฐ ไม่ได้นอนทั้งคืน เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ได้คาดฝันว่าจะเกิดขึ้น 

"ล่าสุดเราได้ออก Statement ไปยังสื่อมวลชน เพื่อขอความเป็นธรรมว่า เราทำงานสุจริตทุกขั้นตอน ศาลปกครองไม่ได้เป็นศาลยุติธรรม เป็นศาลที่เกี่ยวกับประชาชนกับรัฐ ถ้ารัฐเอาเปรียบประชาชนหรือทำอะไรไม่ถูกต้อง ประชาชนสามารถฟ้องได้ กรณีนี้จะเห็นว่า ภาครัฐทำบางสิ่งบางอย่างอาจจะไม่ถูกต้อง แต่เราต้องน้อมรับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่จะเห็นว่าเราเป็นเอกชนที่ได้รับความเสียหายจากการที่ได้รับใบอนุญาต เป็นตราครุฑที่เราทำงานโดยสุจริตมาโดยตลอดแล้วอย่างนี้เราจะแก้ปัญหาร่วมกันอย่างไร"

ปิดฉากมหากาพย์7ปี\'แอชตัน อโศก\'อนันดาขอ14วันลุ้นปาฏิหาริย์ไม่ทุบตึก

กรณีนี้ อนันดาเป็นหนึ่งในประชาชน ลูกค้า และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียผู้ถือหุ้น นักลงทุนจากญี่ปุ่น พนักงานที่เสียหาย ซึ่งมีข้อสงสัยว่าสถานการณ์นี้ภาครัฐจะช่วยหาทางออกซึ่งกันและกันได้อย่างไร เพราะทางออกเป็นปัญหาทางกฏหมาย อนันดาทำทุกอย่างตามขั้นตอนการขออนุญาตแล้ว ถึงขึ้นทุบตึกเลยหรือ 

"หรือจะมีวิธีไหนทางกฏหมายในการออกกฏหมายในการแก้ปัญหา ให้ รฟม. นำที่ดินมาทำทางเข้าออกได้หรือไม่ ไม่ทราบเหมือนกันผมยังคิดไม่ออก ขอให้ภาครัฐ คือ กทม. และ รฟม. หาทางออกช่วยเราและลูกค้า ให้ด่วนและเร็วที่สุด ซึ่งเราอาจไปขอพบท่านผู้ว่าฯ กทม. ผูุ้ว่าฯรฟม.ว่า จะช่วยเราหาทางออกร่วมกันอย่างไร เพราะถือเป็นปัญหาสังคม ถือเป็นช่วงที่ยากลำบากของเราในการแก้ปัญหา ”

ปรากฏการณ์ครั้งแรกวงการอสังหาฯ

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวเสริมว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของภาคอสังหาฯ ที่ตึกที่สร้างเสร็จแล้วถูกศาลปกครองพิพากษาแบบนี้ 

“เราเคารพคำพิพากษา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ อนันดา เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเราไม่ได้รับผลกระทบคนเดียวแต่รวมกับเจ้าของรวมทั้งหมด 580 ครอบครัว ทั้งหมด 668 ยูนิต เป็นลูกค้าคนไทย 438 คนต่างชาติ 142 คน จาก 20 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบร่วมกันบนความถูกต้องและสุจริต แต่ติดเงื่อนปมกกฏหมายที่ทำให้การตัดสินออกมาแบบนี้”

ปิดฉากมหากาพย์7ปี\'แอชตัน อโศก\'อนันดาขอ14วันลุ้นปาฏิหาริย์ไม่ทุบตึก

ทั้งนี้ แอชตัน อโศก ได้ส่งมอบห้องชุดไปแล้ว 87% มูลค่ากว่า 5,653 ล้านบาท มูลค่าโครงการรวม 6,481 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง อนันดา 51% มิตซุย ฟูโดซัง 49% ซึ่งที่่ผ่านมาอนันดา ยืนยันว่า ทำงานด้วยความถูกต้องและสุจริตโดยผ่านการขออนุญาต 8 หน่วยงาน ขอใบอนุญาต 9 ฉบับ ขอความเห็นก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่า7หน่วยงาน ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ 5 คณะกรรมการ และมีโครงการที่ขอผ่านในลักษณะคล้ายกันในกรุงเทพฯกว่า 13 โครงการ ที่ผ่านมาอนันดารับผิดชอบให้รฟม.เกือบ100ล้านบาท

 ขอเวลา14 วันสร้างปาฏิหาริย์ไม่ต้องทุบตึก

จากคำพิพากษาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นลูกบ้าน นักลงทุน รวมทั้งในวงการอสังหาฯและระบบเศรษฐกิจไทย ที่กระทบต่อการลงทุนของคนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศ คดีนี้เป็นคนดีหลักเมื่อถึงศาลปกครองสูงสุดแล้วเราก็แก้ปัญหานี้ก่อน

“ตอนนี้ผมกำลังหาปาฏิหาริย์ที่จะทำให้ไม่ต้องทุบตึกอยู่ ยังมีความหวังอยู่ขอเวลา 14 วันในการทำงาน เพื่อหาปาฏิหาริย์ หรือแสงสว่างอย่างไรโดยไม่ต้องทุบตึก เพราะความเสียหายสูงถ้าต้องทุบตึก “

นายพิสิษฐ กล่าวเสริมว่า ในแง่ของปาฏิหาริย์ โดยหลักระบบกฏหมายบ้านเราผมยังมองว่าอาจมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เกิดขึ้น ถ้าผู้ประกอบการ สื่อช่วยชี้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่ารุนแรงมหาศาลอย่างไรแล้ว สิ่งที่มีความเป็นไปได้ แนวทางระบบประชาธิปไตยถ้ามีความเดือดร้อนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากการผ่านสภาผู้แทนราษฎรมีความเป็นไปได้อีกทางหนึ่ง แล้วถ้ามีการเสริม มีการแก้กฏหมายเข้ามาอาจจนำมาใช้เพื่อให้เป็นคุณแก่ทุกโครงการไม่เฉพาะแค่ของอนันดาเท่านั้นก็มีความเป็นไปได้