ดาต้าเซ็นเตอร์ไทยบูมรับดีมานด์สหรัฐฯ-จีนขยายตลาด

ดาต้าเซ็นเตอร์ไทยบูมรับดีมานด์สหรัฐฯ-จีนขยายตลาด

ไนท์แฟรงค์ ระบุอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ไทยบูมรับดีมานด์จากสหรัฐฯ-จีนแห่เข้ามาให้บริการในประเทศไทยเพื่อขยายตลาดจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและความต้องการพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่เพิ่มขึ้น

ประเทศไทยเติบโตอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา โดยได้รับปัจจัยจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและการพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่กำลังเพิ่มขึ้นดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มขึ้นมาเกือบ 30% จากช่วงปลายปี 2565จากกฎระเบียบที่เข้มงวดของประเทศสิงคโปร ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นได้ คาดว่าจะเห็นการเติบโตของตลาดอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้ให้บริการจากประเทศสหรัฐและจีนประกาศขยายตลาดมาในไทย


ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยเติบโตอย่างมากในไตรมาสแรกของปีนี้ เติบโตเพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยมาจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและการพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่กำลังเพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนการใช้งานเทคโนโลยีต่อประชากรในประเทศยังคงต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดที่เจริญเติบโตแล้วอย่าง ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง

ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนในในด้านดาต้าเซ็นเตอร์ กรมส่งเสริมการลงทุน (BOI) เสนอแพคเกจที่น่าสนใจ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้กิจการ (CIT) นาน 8 ปีโดยไม่มีข้อจำกัด นอกจากนี้หน่วยงานที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นภาษีเพิ่มเติมสูงสุดอีก 5 ปี แนวทางที่เป็นการกำหนดนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการท้องถิ่นและระดับนานาชาติที่จะสร้างเสริมฐานที่แข็งแกร่งและเข้าถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมดในประเทศไทยอยู่ที่ 269 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นมาเกือบ 30% จากช่วงปลายปี 2565 โดยหลักๆมาจากการร่วมมือของผู้นำในตลาดและผู้ให้บริการรายใหม่ และคาดว่าตลาดจะยังคงคึกคักอย่างมากตลอดทั้งปี จากโครงการที่กำลังพัฒนาหลายๆโครงการ เช่น KDDI Telehouse ที่เพิ่มสร้างโรงงานดาต้าเซ็นเตอร์เสร็จ ขนาด 9.5 เมกะวัตต์ในพื้นที่พระราม 9 ในขณะที่ OneAs1a กำลังพัฒนาพื้นที่ส่วนแรกขนาด 3 เมกะวัตต์จากทั้งหมด 13.5 เมกะวัตต์ในพื้นที่ปทุมธานี 

ดาต้าเซ็นเตอร์ไทยบูมรับดีมานด์สหรัฐฯ-จีนขยายตลาด

นอกจากนี้ NTT Global Data Centers ยังได้ประกาศแผนการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ Bangkok 3 ซึ่งเป็นโรงงานขนาด 12 เมกะวัตต์ที่จะเริ่มเปิดให้บริการในชลบุรีในปี 2567 และ GSA Data Center เพิ่งจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาด 20 เมกะวัตต์ในจังหวัดสมุทรปราการ และยังมีแผนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2568

ในส่วนด้านอุปสงค์ บริการคลาวด์และการจัดเก็บข้อมูลที่มีความต้องการมากขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย โดยมาจากหลากหลายธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมการเงิน (ธนาคาร หลักทรัพย์ ประกัน) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ บริษัทเทคโนโลยี และหน่วยงานรัฐบาล ลูกค้าทั้งภายในประเทศเองหรือต่างชาติต้องการโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและจัดการปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อพูดถึงแนวโน้มหรือการพัฒนาของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย จะเห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ (Hyper Scalers) ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีดาต้าเซ็นเตอร์เพียงไม่กี่แห่งโดยมีความจุไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ภายในประเทศ ทำให้มีการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่เพิ่มมากขึ้นซึ่งมีความจุสูงถึง 10 เมกะวัตต์หรือสูงกว่า และทางเลือกในการใช้งานตามความต้องการ

ดาต้าเซ็นเตอร์ไทยบูมรับดีมานด์สหรัฐฯ-จีนขยายตลาด

เมื่อเร็วๆ ประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางของผู้นำยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีระดับโลก อย่าง Google และ Amazon Web Services (AWS) เนื่องจากพวกเขาได้ประกาศแผนการจัดตั้งศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ในประเทศ การขยายตัวเชิงกลยุทธ์นี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางดิจิทัลที่สำคัญในอาเซียน ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีดาต้าเซ็นเตอร์ถูกสร้างขึ้นมากที่สุดในภูมิภาค ได้บังคับใช้ข้อจำกัดใหม่ รวมถึงกฎเกณฑ์เฉพาะและโควต้าจำกัดที่ 60 เมกะวัตต์สำหรับกำลังการผลิตใหม่ในแต่ละปี 

กฎเหล่านี้ช่วยให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากความต้องการของดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นได้ และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาสถานที่สำหรับการดำเนินธุรกิจในระดับโลก มีการให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในดาต้าเซ็นเตอร์อย่างต่อเนื่อง ความพยายามลดการใช้พลังงาน (PUE) และเพิ่มความหนาแน่นเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ผู้ให้บริการหลายรายกำลังศึกษาและพัฒนานวัตกรรม เช่น การระบายความร้อนด้วยของเหลวเพื่อการจัดการความร้อนที่มีประสิทธิภาพ และการรวมพลังงานหมุนเวียนเข้าด้วยกันเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

เรด ฟิตซ์ลัน ฮาวาร์ด หัวหน้าด้านดาต้าเซ็นเตอร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมา ดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก เนื่องจากผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์มองเห็นโอกาสในตลาดที่กำลังเติบโตเข้าสู่ยุคดิจิทัจของประเทศไทยประกอบกับการใช้งานระบบคลาวด์ที่มีอย่างแพ่รหลาย ด้วยการเติบโตที่น่าสนใจของตลาดนี้ กลุ่มนักลงทุนจึงใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การรวมกิจการและการเข้าร่วมลงทุนร่วมกัน (M&A), การจัดหาที่ดิน ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จากประเทศสหรัฐฯและจีนประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะขยายตลาดเข้ามาให้บริการในประเทศไทย เราคาดหวังที่จะเห็นการเติบโตของระดับการใช้งานเพิ่มขึ้นในเร็วๆนี้ เนื่องจากผู้ให้บริการเหล่านี้จะเช่าพื้นที่ที่สำคัญเพื่อดำเนินธุรกิจระบบคลาวด์

มาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายพื้นที่อุตสาหกรรมของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ระบุว่า  เนื่องจากเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการนำระบบดิจิทัลต่างๆมาปรับใช้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาด เราจึงหวังว่าจะมีการลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย นวัตกรรม และพันธมิตรเพื่อส่งเสริมดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำลังเติบโตในไทย นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเองต่างเห็นโอกาสในตลาดที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยใช้ประโยชน์จากการขยายตัวในด้านดิจิทัจของประเทศ

"การหาทำเลดาต้าเซ็นเตอร์ที่เหมาะสมเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักลงทุน แต่ด้วยประสบการณ์มากกว่า 25 ปีในตลาดของเรา ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยสามารถแนะนำนักลงทุนได้เป็นอย่างดีในเรื่องทำเลที่ตั้งโรงงานในประเทศ ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยคัดกรองพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด ให้ตอบโจทย์ตามความต้องการของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบสำเร็จ”