มอเตอร์ไซค์อีวี สัญชาติจีนบุกไทย!โอกาสทอง!อสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม

มอเตอร์ไซค์อีวี สัญชาติจีนบุกไทย!โอกาสทอง!อสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม

'พรอสเพค' ส่งสัญญาณระบุโอกาสทองอสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม ธุรกิจมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญญาชาติจีนบุกไทย เร่งขยายโครงการใหม่ พร้อมกระจาย 2ทำเล'วังน้อย-แหลมฉบัง' โซนอีอีซีหวังพัฒนาพื้นที่เช่า2 ล้าน ตร.ม. ภายใน 5 ปี ด้วยงบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี

นางสาวรัชนี มหัตเดชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้พัฒนาและบริหาร โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน กล่าวว่า ศักยภาพของประเทศไทยในการรองรับอุตสาหกรรมการลงทุนที่หลากหลายไม่เฉพาะในโซนบางนาตราด เท่านั้น บริษัทจึงขยายไปยังพื้นที่ในโซนอีอีซีเข้ามาด้วยเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า เนื่องจากเป็นโลเคชั่นที่มีศักยภาพในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ ที่นับวันจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นจากการที่โลกเปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในนั้นก็คือธุรกิจมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (EV)จากจีนที่เข้ามาลงทุนเพราะเป็นเทรนด์ที่มาแรงไม่แพ้รถยนต์ไฟฟ้าที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นรวมทั้งธุรกิจพลังงานสะอาด โซล่าร์เซลล์ โลจิสติกส์ อีคอมเมิร์ซ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังเปิดประเทศ

ปัจจุบันสัดส่วนของลูกค้าที่เช่าพื้นที่เพื่อลงทุนดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเป็นลูกค้าจีนประมาณ 17-18% มีสัดส่วนมากขึ้น ขณะที่ลูกค้าญี่ปุ่นลดลงเหลือ 20% จากเดิม25% ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกค้าจากยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนธุรกิจคนไทยมีสัดส่วน 25% ทั้งนี้เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลให้การสนับสนุนทำให้บริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนส่งผลดีต่อระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องอย่างโรงงาน/คลังสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งเป็นอสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรมเติบโตแบบก้าวกระโดด

มอเตอร์ไซค์อีวี สัญชาติจีนบุกไทย!โอกาสทอง!อสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม

“สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายรัฐมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่ง ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาสร้างความต่อเนื่องจากนโยบายที่มีอยู่และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนต่างชาติ ”

ขณะเดียวกันปัจจุบันความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานสูงขึ้นหลังจากโควิด-19 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตแบบก้าวกระโดดส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตในทิศทางเดียวกันสะท้อนได้จากข้อมูลจากกรมการพัฒนาธุรกิจการค้าในปี 2565 ระบุว่า มีกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์จดทะเบียนสะสม 419,720.39 ล้านบาท ส่งผลดีต่อธุรกิจให้เช่าคลังสินค้า ดังนั้นในปีนี้บริษัทจึงเปิดตัวโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน 7 หรือ BFTZ 7 บนถนนบางนา-ตราด กม.10 ขาเข้าจำนวน 36,000 ตร.ม. เพื่อสร้างความแข็งแกร่งโครงการบางกอกฟรีเทรดโซนบางนาที่เปิดไปก่อนหน้านี้จำนวน 6 โครงการ ที่มีอัตราเช่าเฉลี่ยรวมทุกโครงการ 85%

มอเตอร์ไซค์อีวี สัญชาติจีนบุกไทย!โอกาสทอง!อสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม

นางสาวรัชนี กล่าวว่า ครึ่งแรกปีนี้บริษัทมีลูกค้าเข้ามาเข้าพื้นที่ 100,000 ตร.ม. คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถมีลูกค้าเข้ามาเช่าได้ถึง150,000 ตร.ม. จากปี ก่อนทำได้ 120,000 ตร.ม. จากโครงการ BFTZ 4 บางปะกง, BFTZ 6 ถนนบางนา-ตราด กม.19 รวมทั้งโครงการ BFTZ 7 ที่มีมูลค่าโครงการ 300-400ล้านบาท ซึ่งการพัฒนาโครงการนี้ใช้โมเดลปรับปรุงอาคารที่มีอยู่แล้วแทนการพัฒนาที่ดินเปล่าทำให้ร่นระยะเวลาในการก่อสร้างตอบสนองกับความต้องการลูกค้าได้เร็วขึ้น และอีกส่วนเป็นอาคารหลังใหม่จะเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นไปเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าที่จองไว้ ในเดือนเม.ย.ปี2567

“แม้ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โครงการ BFTZ 7 ก็ได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท นิ่มเอ็กซ์เพรส จำกัด บริษัทโลจิกสติกส์ของไทย ที่ต้องการขยายธุรกิจและยกระดับมาตรฐานอาคารสำหรับกระจายสินค้าเข้ามาจองใช้พื้นที่เป็นระยะเวลา 10ปี จากปกติลูกค้าเช่าขั้นต่ำ 3 ปี”

มอเตอร์ไซค์อีวี สัญชาติจีนบุกไทย!โอกาสทอง!อสังหาฯเพื่ออุตสาหกรรม

นางสาวรัชนี ระบุว่า ขณะนี้บริษัทได้ปรับหมุดหมายใหม่ในการพัฒนาพื้นที่ให้ครบ 2 ล้าน ตร.ม.จากปัจจุบันอยู่ที่ 1 ล้าน ตร.ม. ภายใต้งบลงทุนเฉลี่ยปีละ 2,000 ล้านบาท ใน 2 ทำเล ได้แก่ พื้นที่วังน้อย จ.อยุธยา ซื้อพื้นที่ไว้แล้ว 45 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในระดับภูมิภาค และพื้นที่แหลมฉบัง โซนอีอีซีรองรับฐานการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วน 20 % ส่วนที่เหลืออุตสาหกรรมเก่า80% คาดว่า ภายใน4-5ปีข้างหน้าสัดส่วนอุตหกรรมใหม่กับอุตสาหกรรมเก่าเท่ากัน 50:50

ปัจจุบันพื้นที่1 ล้านตร.ม.สร้างเสร็จแล้ว 800,000ตร.ม.ที่เหลือ200,000ตร.ม. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยอาคารที่สร้างเสร็จแล้วมีอัตราการเช่า อยู่ 85% แต่ถ้าเป็นโครงเก่าในโซน 1,2,3 จะมีผู้เช่ามากกว่า 95% โดยในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท จากปีก่อนมีรายได้ 45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขายสินทรัพย์ให้กองรีท ได้แก่ BFTZ 1 บางนา-ตราด กม.23, BFTZ 2 ถนนเทพารักษ์ และ BFTZ 3 บางนา-ตราด กม.19 จำนวน 40,000 ตร.ม. และ BFTZ 3 อีก 60,000 ตร.ม.