'แอลทีวี'เอฟเฟ็กต์อสังหาฯปี66หดตัว1.1% ฉุดตลาดฟื้นตัวช้า

'แอลทีวี'เอฟเฟ็กต์อสังหาฯปี66หดตัว1.1% ฉุดตลาดฟื้นตัวช้า

หลัง ธปท. ยกเลิกผ่อนปรนมาตรการ LTV ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินภาพรวมตลาดปี 66 หดตัว 1.1% หน่วยโอนฯ 3.2แสนหน่วยมูลค่า 9.5 แสนล้านโครงการใหม่เปิดตัวลดลงฉุดตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวช้า แนะรัฐยืดมาตรการลดค่าโอนฯออกไป1ปีพร้อมขยายเพดานครอบคลุม5ล้านบาทพยุงตลาดฝ่าปัจจัยลบ

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC คาดการณ์ว่า ปี 2566 ตลาดที่อยู่อาศัยจะได้รับแรง “กดดัน” จากหลายปัจจัย ไม่ว่าเป็นภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูง 90% ของ GDP ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น กำลังซื้อที่เปราะบางของคนในประเทศและกำลังซื้อจากต่างประเทศที่หายไปหลังจากที่รัฐบาลทบทวนการให้ต่างชาติซื้อบ้านและถือครองที่ดิน ทำให้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รวมทั้งปัจจัยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ต่างประเทศ และปัจจัยลบที่สำคัญคือการไม่ต่ออายุการผ่อนคลายมาตรการเงินดาวน์ขั้นต่ำในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหรือมาตรการ LTV (Loan to value) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินว่า การไม่ต่ออายุการผ่อนคลาย LTV อาจส่งผลให้ตลาดไม่ขยายตัว เนื่องจากผู้ประกอบการ “ชะลอ” การเปิดตัวโครงการใหม่ โดยคาดว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในปี 2566 คาดว่าจะมีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่จำนวน 98,581 หน่วย มูลค่า 513,982 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 1.8% และ 1.1% ตามลำดับ จากปี 2565 ประกอบด้วยโครงการแนวราบประมาณ 58,312 หน่วย มูลค่า 367,363 ล้านบาท และโครงการอาคารชุดประมาณ 40,270 หน่วย มูลค่า 146,619 ล้านบาท

ในขณะที่การออกใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศจะมีประมาณ 79,909 หน่วย เพิ่มขึ้น 3.5% จากปีก่อน มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างประมาณ 294,019 หน่วย ลดลง 5.5% เมื่อเทียบกับปี 2565 และคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนประมาณ 91,615 หน่วย ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับปี 2565

14.2% และ 4.4% ตามลำดับ และคาดว่าจะมีจำนวนสินเชื่อปล่อยใหม่ประมาณ 614,764 ล้านบาท ลดลง 4% เมื่อเทียบกับปี 2565

  “สถานการณ์ตลาดปี 2566 ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงระบบการเงินด้วยมาตรการ LTV ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณลดความร้อนแรงของการขยายการลงทุนในตลาดบ้านใหม่ลง และกระทบต่อตลาดบ้านมือสองอีกด้วย ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น กำลังซื้อที่ทยอยฟื้นตัว จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าปี 2566 ตลาดในระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น”

\'แอลทีวี\'เอฟเฟ็กต์อสังหาฯปี66หดตัว1.1% ฉุดตลาดฟื้นตัวช้า

วิชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมามาตรการผ่อนปรน LTV ของ ธปท. เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ตลาดปี 2567 จะฟื้นตัวกลับมาเหมือนก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากช่วยให้คนที่ต้องการมีการซื้อบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 สำหรับการอยู่อาศัย และ การลงทุนเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
 

ฉะนั้นการกลับมาใช้หลักเกณฑ์ LTV เดิม ที่บังคับใช้การซื้อบ้านราคามากกว่า 10 ล้านบาท และ สัญญาที่ 2 ผู้ซื้อต้องมีเงินดาวน์ บางส่วน อาจทำให้ภาพการฟื้นตัวของอสังหาฯ ช้าออกไปอย่างน้อย 1-2 ปี เนื่องจาก ตลาดยังมีปัจจัยลบรุมเร้า ทั้งภาวะหนี้ครัวเรือนการที่สถาบันการเงินคงพิจารณาให้สินเชื่อที่เข้มงวด กดดันผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง อีกทั้ง ทิศทางดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น และ เศรษฐกิจไทยยังไม่แข็งแรงเพียงพอ ทำให้กำลังซื้อยังอ่อนแอต่อเนื่อง

วิชัย แนะนำว่าควรผ่อนปรน LTV ต่อเพื่อเป็นแรงส่งให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้นอย่างน้อยอีก 1 ปี พร้อมกับการ ยืดมาตรการกระตุ้นตลาดที่สำคัญ อย่างการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 0.01% ที่จะหมดในวันที่ 31 ธ.ค.2565 ออกไปอีก 1 ปี เพื่อเป็นจูงใจการซื้อที่อยู่อาศัยของคนไทยในปี 2566 พร้อมทั้งขยายเพดานราคา จากครอบคลุมไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท ทั้งบ้านใหม่ และ บ้านมือสอง 

การเสนอให้ดำเนินการดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยในปี 2566 มิเช่นนั้นตลาดที่อยู่อาศัยอาจหดตัวมากกว่า 20% เพราะกลุ่มผู้ซื้อไม่มีเงินเก็บมาพอที่จะโอนฯ หรือดาวน์เพิ่มขึ้น