กยท. ติวเข้ม “สตาร์ทอัพ” รักษ์โลก สร้างนวัตกรรมด้านยาง ลุยตลาดโลก

กยท.  ติวเข้ม “สตาร์ทอัพ” รักษ์โลก สร้างนวัตกรรมด้านยาง ลุยตลาดโลก

เทรนด์ของ “สตาร์ทอัพ” ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และแข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการ ศูนย์บ่มเพาะ และนักลงทุน แต่การที่เหล่าบรรดาสตาร์ทอัพจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องมีผู้สนับสนุนที่คอยชี้แนะแนวทาง

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายใต้การบริหารของ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ซึ่งนอกจากจะมุ่งนโยบายดำเนินงานตามพันธกิจในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านการดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมมาใช้ โดยเฉพาะโครงการสตาร์ทอัพด้านยางพารา เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตและต่อยอดผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เดินหน้าผ่านโครงการ “ Natural Rubber Startup Acceleration Program : Batch 3”  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีแนวคิดและผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านยางพาราเรียนรู้ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผลิตภัณฑ์ให้ธุรกิจไทยแข่งขันในตลาดโลก

กยท.  ติวเข้ม “สตาร์ทอัพ” รักษ์โลก สร้างนวัตกรรมด้านยาง ลุยตลาดโลก

โดยเน้นต่อยอดงานวิจัย สร้างนวัตกรรมยางพาราเชิงพาณิชย์ เข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาแนวคิด มีประสบการณ์ด้านพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับยางพาราโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีเครือข่ายด้านยางพารา เป็นโอกาสที่จะได้รับจากนักธุรกิจผู้มีประสบการณ์และมีองค์ความรู้ด้านธุรกิจ โดยโครงการนี้ กยท. จัดมาอย่างต่อเนื่อง ถึง 3 ครั้งแล้ว

กยท.  ติวเข้ม “สตาร์ทอัพ” รักษ์โลก สร้างนวัตกรรมด้านยาง ลุยตลาดโลก

นายณกรณ์ กล่าวว่า โครงการ “ Natural Rubber Startup Acceleration Program : Batch 3”  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาล  สร้างการรับรู้ และแสวงหานวัตกรรมที่จะมาต่อยอดมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านยางใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ กยท. มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะทำต่อเนื่องและต่อไป  เพื่อปูฐาน “สตาร์ทอัพ” ให้พร้อมรับเป็นผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงกระแส “รักษ์โลก” ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคมากขึ้นในปัจจุบันตลอดจนในอนาคต และที่สำคัญ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับยางพารา และอุตสาหกรรมยางพาราของไทย