กรมชลประทาน ถอดรหัส แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย "ตรัง" พ้นอุทกภัย

กรมชลประทาน ถอดรหัส แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย "ตรัง" พ้นอุทกภัย

กรมชลประทาน ถอดรหัส แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย "ตรัง" พ้นอุทกภัย

ท่วมหรืออุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในทุกภาคของประเทศไทย โดยลักษณะของการเกิดน้ำท่วม มีความรุนแรงและรูปแบบต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ โดยทางกรมพัฒนาที่ดิน ได้จำแนกพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก หมายถึง พื้นที่ที่มีการท่วมขังของน้ำบนผิวดินสูงกว่าระดับปกติและมีระยะเวลาที่น้ำท่วมขังยาวนานอยู่เป็นประจำ จนสร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร ทรัพย์สิน และ/หรือชีวิต ทั้งนี้สามารถจำแนกการเกิดน้ำท่วมซ้ำซากออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ได้แก้ ระดับที่ 1 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นครั้งคราว มีน้ำท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี, ระดับที่ 2 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง มีน้ำท่วมขัง 4-7 ครั้งในรอบ 10 ปี และระดับที่ 3 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ มีน้ำท่วมขังมากกว่า 8 ครั้งในรอบ 10 ปี

“จังหวัดตรัง” เป็นหนึ่งในจังหวัดภาคใต้ ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำเกือบทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่มีแม่น้ำตรังไหลผ่าน โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากทำให้น้ำน้ำเอ่อล้นตลิ่ง เกิดอุทกภัยน้ำท่วมซ้ำซากมาโดยตลอดมาตลอด ในรอบ 25 ปี จะมีปริมาณน้ำเฉลี่ยถึง 1,400 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ต่อ วินาที ในขณะที่ประสิทธิภาพการรับน้ำของแม่น้ำตรังในช่วงที่ผ่านตัวเมืองตรังรับได้เพียง 600 ลบ.ม.ต่อวินาทีเท่านั้น นอกจากนี้บางช่วงของแม่น้ำยังตื้นเขิน และมีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำอีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

กรมชลประทาน ถอดรหัส แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย \"ตรัง\" พ้นอุทกภัย

กรมชลประทาน เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้พิจารณาทบทวนผลการศึกษาเดิมที่เคยศึกษาไว้ก่อนหน้านี้มาจัดทำแผนงานศึกษา “โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง”  วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ ตำบลนาโยงเหนือ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง ตำบลนาโยงใต้ ตำบลนาบินหลา ตำบลบ้านควน ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง และ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรังรวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ในฤดูแล้งขึ้นในปีงบประมาณ 2556 ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะหมิง และตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ต่อมาในปี 2557 กรมชลประทานได้เริ่มดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ก่อสร้างในปี 2559 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 แต่ปรากฏว่างานล่าช้ามากไม่เป็นไปตามแผน  เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างก่อสร้าง บริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลดำเนินงานได้แค่ 22% ของแผนงานเท่านั้น กรมชลประทานจึงได้บอกเลิกสัญญาแล้วนำกลับมาเป็นงานดำเนินการเองในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ณ เดือนมีนาคม 2565 มีผลงานความก้าวหน้าสะสมกว่า 70%

กรมชลประทาน ถอดรหัส แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย \"ตรัง\" พ้นอุทกภัย

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดการก่อสร้าง โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรังดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการบรรเทาปัญหาอุทกภัยได้โดยเร็ว ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้ แม้การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ แต่สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการฯในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้แล้วบางส่วน โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง ประกอบไปด้วยงานสำคัญๆ คือ คลองผันน้ำ ที่จะแบ่งการระบายน้ำจากแม่น้ำตรังก่อนที่แม่น้ำตรังจะไหลผ่านตัวเมืองช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำของแม่น้ำตรังในเขตพื้นที่ อ.เมืองตรัง ด้วยการก่อสร้างคลองผันน้ำความยาว 7.6 กิโลเมตรสามารถระบายน้ำได้สูงสุด 750 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อรวมกับศักยภาพการรับน้ำของแม่น้ำตรัง จะสามารถระบายน้ำไม่ให้ท่วมพื้นที่ได้

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างประตูระบายน้ำ(ปตร.) 2 แห่ง คือ ปตร.บริเวณปากคลองผันน้ำ เพื่อใช้ควบคุมและบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และปตร.บริเวณปลายคลองผันน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งก่อสร้างอาคารประกอบและอื่นๆ บริเวณแนวคลองผันน้ำ ได้แก่ สะพานรถยนต์ จำนวน 6 แห่ง เพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่าง 2 ฝั่งคลอง อาคารรับน้ำจำนวน 24 แห่งตลอดแนวคลองผันน้ำเพื่อรับน้ำจากที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ข้างเคียงลงสู่คลองผันน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ ตลอดจนก่อสร้างถนนบนคันคลองทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อสาธารณประ โยชน์ พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ให้ประชาชนได้พักผ่อนและออกกำลังกายได้อีกด้วย

กรมชลประทาน ถอดรหัส แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย \"ตรัง\" พ้นอุทกภัย

 อย่างไรก็ดีหากโครงการเสร็จสมบูรณ์  ปัจจุบัน งานก่อสร้างคลองผันน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการที่จะช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะหมิง และตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง พื้นที่ประมาณ 10,525 ไร่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว นอกจากนั้น คลองผันน้ำยังสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 3.20 ล้าน ลบ.ม. สำหรับให้ประชาชนใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในฤดูแล้งได้อีกด้วย ทั้งจะเป็นแหล่งน้ำดิบสนับสนุนการผลิตน้ำประปาประมาณ 1.74 ล้าน ลบ.ม./ปี รวมไปถึงช่วยผลักดันน้ำเค็ม มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ในฤดูฝน 10,000 ไร่ และฤดูแล้งประมาณ 3,000 ไร่ และนี่คือกุญแจไขรหัส ที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ช่วย "ตรัง" พ้นอุทกภัย อย่างยั่งยืน