‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

เมื่อปี 2560 สวนสัตว์ดุสิต หรือ “เขาดินวนา” ต้องนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ทางราชการ จึงได้รับพื้นที่แปลงใหม่จำนวน 300 ไร่บริเวณคลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ในการสร้าง “สวนสัตว์แห่งใหม่” จะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 เสร็จสมบูรณ์ในปี 2571 ภายใต้การออกแบบที่ผสมผสาน 3 แนวคิดหลัก และเป็นสวนสัตว์ที่จัดแสดงแบบ “พื้นที่ทุ่งน้ำแห่งแรกของเอเชีย”

อรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เล่าว่า ก่อนที่องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยฯ จะเลือกพื้นที่แห่งนี้ เดินทางไปพิจารณาพื้นที่จริงหลายแห่ง ท้ายที่สุดตัดสินใจเป็นที่แห่งนี้ เนื่องจากสวนสัตว์ถือเป็นแหล่งเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง จะเป็นจิกซอว์ตัวสุดท้ายที่จะมาช่วยเติมเต็มเชื่อมโยง “ย่านการเรียนรู้ธัญบุรี” ซึ่งเดิมมีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา หอดูดาว และแหล่งอื่นๆ อยู่แล้ว

 

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

“การสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่า ทั้งในและนอกถิ่นอาศัย ด้วยระบบนิเวศทางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ แหล่งอนุรักษ์ วิจัยเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ และมีแนวคิดจัดเป็นสวนสัตว์ที่ทันสมัยระดับนานาชาติ” ผอ.อรรถพร บอกถึงวัตถุประสง์ค์ของสวนสัตว์แห่งใหม่ผสาน 3 แนวคิดในการออกแบบ

ในปี 2561-2562 ได้ดำเนินการลงสำรวจพื้นที่ศึกษาความเป็นไปได้ ทั้งสภาพดินจะปลูกต้นไม้ได้หรือไม่ น้ำท่วมหนักๆ จะมีปริมาณเท่าไหร่ แนวป้องกันจะดำเนินการอย่างไร ระบบขนส่งการจราจร และความคุ้มทุนเกิดประโยชน์จริงเชิงสังคมในการเป็นแหล่งเรียนรู้

ที่สำคัญ พบว่า สภาพที่ดินไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นยกร่องร้าง และเดิมทีรังสิตเป็น “พื้นที่ชุ่มน้ำ” เป็นพื้นที่รับน้ำ จึงกลายมาเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบสวนสัตว์แห่งใหม่นี้ ที่ต้องระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการและประสบการณ์จากคนสวนสัตว์ ทั้งสัตวแพทย์ สัตวบาล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพืช เรื่องสัตว์ โดยมีทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมแกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นที่ปรึกษา

 

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

 

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

 

“สวนสัตว์แห่งใหม่ ออกแบบโดยใช้หลักการดูแลพื้นที่ให้เหมาะกับพื้นที่จริงที่มีอยู่” ผอ.อรรถพร กล่าว ดังนั้น แนวคิดการออกแบบจึงผสมผสาน 3 ส่วนเข้าด้วยกันได้แก่ 1.ชุบชีวิตทุ่งน้ำ (Wet Land Revival) เป็นการชุบชีวิตระบบนิเวศพื้นถิ่นที่เป็นทุ่งน้ำรังสิต มีสวนสาธารณรอบบึงน้ำใหญ่สามารถแปรเปลี่ยนการใช้สอยตามระดับน้ำขึ้นลงในแต่ละฤดูกาลของบ่อแก้มลิง เส้นทางศึกษาพืชน้ำบำบัดชายน้ำ พืชชายตลิ่งและลอยน้ำ ทางเดินศึกษาธรรมชาติทุ่งน้ำ

                2.การจัดแสดงสัตว์ตามถิ่นที่อยู่อาศัยธรรมชาติ (Biodiversity Park : Bio-park)ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ เน้นการสร้างความสมดุลระหว่างการจัดแสดงของผู้เยี่ยมชมการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสัตว์ การจัดแสดงสัตว์หลากหลายพันธุ์เสมือนอาศัยอยู่ร่วมกันในธรรมชาติตามระบบนิเวศถิ่นที่อยู่

                และ 3.ประยุกต์ศาสตร์พระราชาเพื่อการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน (King’s Philosophy) มีการนำหลักอนุรักษ์ฟื้นฟู การกักเก็บ จัดการใช้ประโยชน์ การบำบัดป้องกันมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน โดยมีการดำเนินการเรื่องการ Re-Use และ Recycle น้ำและขยะ ทั้งในบ่อเก็บน้ำ คูน้ำ ระบบหมุนเวียนน้ำสัตว์ซึ่งน้ำที่ใช้งานแล้วจะทำการบำบัด กักเก็บและนำมาใช้ใหม่ เป็นระบบหมุนเวียน ส่วนการจัดการขยะมีเตาเผาและสามารถนำกากของเหลือจากการกำจัดมาใช้ประโยชน์หมุนเวียนในโครงการได้

นอกจากนี้ ส่วนต่างๆ ของโครงการมีการออกแบบเป็นป่านิเวศม์ ระบบการจัดการน้ำไหลนองคูคันเกาะจัดแสดงสัตว์ คูคันป้องกันน้ำท่วม เป็นแนวเขตธรรมชาติป้องกันน้ำหลากใหญ่ แก้มลิงทุ่งน้ำรังสิต เป็นต้น รวมถึง การใช้พลังงานทดแทน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพของการบริหาร ได้แก่ การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อความมั่นคงด้านการใช้ไฟ ลดความเสี่ยงเกิดไฟฟ้าดับ

การใช้ Solar Cell ติดบริเวณหลังคาและสิ่งก่อสร้าง นำพลังงานมาใช้ในกลางวันระบบน้ำสำรอง เช่น ระบบน้ำบาดาล การวางระบบ Smart Zoo มีเทคโนโลยีการให้บริการที่ทันสมัย มีระบบ Visual Zoo แพลตฟอร์มที่สามารถรองรับการเรียนรู้ในโลกเสมือนจริง และการแสดงระบบ 4D หรือ metaverseเปิดบริการส่วนแรกปี 2568

สวนสัตว์แห่งใหม่จะแบ่งการใช้พื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ 1.ส่วนต้อนรับ จะมีสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพื้นที่ราว 20 ไร่เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อน ถนนรอบโครงการปั่นจักรยานได้ พื้นที่จอดรถและอื่นๆ 2.ส่วนจัดแสดงสัตว์ ที่จะมีสัตว์หลากหลายชนิดจาก 5 โซนทั่วโลก โดยให้อยู่อาศัยร่วมกันเสมือนอยู่ในธรรมชาติ และ 3.ส่วนสำนักงาน วิจัยและโรงพยาบาล

ตามแผนการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ใช้เวลา 3 ปี เริ่มก่อสร้างปี 2566 -2568 ดำเนินการในส่วนของสวนสาธารณะ ลานจอดรถ สาธารณูปโภคของโครงการ พื้นที่จัดแสดงสัตว์ทุ่งน้ำโซนเอเชียและแอฟริกาบางส่วน ร้านอาหาร จัดอาหารสัตว์ และโรงพยาบาลขนาดเล็ก เมื่อระยะสิ้นสุด ก็จะเปิดบริการได้บางส่วน และระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป จะเป็นส่วนของโซนจัดแสดงสัตว์ทั้งหมด รพ.ขนาดใหญ่ อาคารจอดรถ ติดตั้งเทคโนโลยีและอื่นๆ โดยจะเสร็จครบถ้วนสมบูรณ์ในปี 2571

“ขณะนี้มีการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการสรรหาคัดเลือกจัดซื้อจัดจ้างผู้ก่อสร้าง ซึ่งองค์การฯได้เข้าร่วมโครงการคุณธรรมที่มีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่าง TOR เพื่อให้เป็นโครงการที่โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้” ผอ.อรรถพรกล่าว

 

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

เป้าหมายสู่แหล่งเรียนรู้ใหม่แห่งเอเชีย

 

เป้าหมายของสวนสัตว์ทั้งหมดของประเทศ ผอ.อรรถพร บอกว่า ไม่อยากให้มองเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งสะสมความรู้ที่มนุษย์ทุกกลุ่ม สามารถจะเข้ามารู้จักกับสัตว์ พืช สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในโลกนี้ ผ่านสัตว์ตัวแทนที่มาจักแสดงซึ่งปัจจุบันนั้นสัตว์ที่มาอยู่ในสวนสัตว์ทั้งหมดไม่ได้เป็นสัตว์จากธรรมชาติ แต่เกิดในสวนสัตว์ทั้งสิ้น เพื่อให้คนเกิดได้เรียนรู้ เข้าใจ กลับไปดูแลปกป้องสัตว์ในธรรมชาติ และสำหรับสวนสัตว์แห่งใหม่นี้ จะเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ในระดับภูมิภาคเอเชีย

“คาดการว่าในปีแรกๆ จะมีคนเดินทางเข้ามาเรียนรู้ในพื้นที่สวนสัตว์แห่งใหม่ อย่างน้อย 1.5 ล้านคนต่อปี ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้เดินทางมาจะได้เรียนรู้ชีวิตสัตว์และพืชตามพื่นที่ทุ่งน้ำจาก 5 โซนของโลกเท่านั้น แต่เกิดเงินหมุนเวียนและเศรษฐกิจในชุมชนที่ดีขึ้นด้วย” ผอ.อรรถพรกล่าว

 

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’

 

‘สวนสัตว์แห่งใหม่ ปี 2566’ ผสานแนวคิด‘ชุบชีวิตทุ่งน้ำ’