โอกาสใหม่ของการลงทุน ICO

โอกาสใหม่ของการลงทุน ICO

โอกาสใหม่ของการลงทุน ICO

“การลงทุน” ทุกวันนี้มีหลากหลายรูปแบบบ ตั้งแต่แบบโบราณดั้งเดิมด้วยการเก็บออมเงิน “หยอดกระปุก” นำไปฝากไว้กับธนาคาร” เป็นการลงทุนที่เสี่ยงต่ำสุด แต่ผลตอบแทนก็ต่ำสุดเช่นกัน
    
จนเริ่มมีการลงทุน ที่มีความเสี่ยงค่อยๆ สูงขึ้น ที่มาพร้อมกับผลตอบแทนการลงทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย ตามความสามารถรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น “สลากออมสิน ประกัน ตราสารหนี้ หุ้นกู้ กองทุนรวมหุ้น ตราสารอนุพันธ์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า”
    
หรือแม้การลงทุนในทรัพย์สิน เช่น “การซื้อบ้าน ที่ดิน อาคาร ทองคำ หรือของสะสมที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น ภาพวาด นาฬิกาและกระเป๋าแบรนด์เนม”
    
และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การลงทุนแห่งโลกอนาคตที่เรียกว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล” ได้กลายเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงทุน เรียกได้ว่า “เป็นเทรนด์การลงทุนของคนรุ่นใหม่ทั่วโลก” 
    
การลงทุน “สินทรัพย์ดิจิทัล” ในไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ถูกยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้ามากำกับดูแลการลงทุนคริปโทเคเรนซี “แบบไหน” ที่ “ไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย” อีกต่อไป
 

โดยต้องเป็นการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ ผ่านตัวกลางหรือตลาดที่ได้รับใบอนุญาตจากก.ล.ต.ภายใต้กฎหมาย “พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561”
    
ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ผู้ลงทุนไทยค่อยๆ เริ่มคุ้นชินกันแล้ว คือ “คริปโทเคอเรนซี” หรือ “เหรียญดิจิทัล” ที่สามารถซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุลต่างๆ กว่าหมื่นสกุลทั่วโลกได้ ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. 
    
“คริปโทเคอเรนซี” จะมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนต้องรับ คือ ไม่มีีทรัพย์สินอ้างอิง ซึ่งมีราคาขึ้นลงตามความผันผวนในตลาดคริปโทเคอเรนซี
    
ขณะเดียวกันยังมีการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ลงทุนไทย อาจจะลืมกันไปแล้ว นั่นก็คือ “ICO” (Initial Coin Offering) หรือ “โทเคนดิจิทัล” ที่เป็นเครื่องมือช่วยระดมทุนให้กับธุรกิจ ซี่งมีรูปแบบบางอย่างคล้ายกับ IPO การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
    
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ICO กลับมีจุดอ่อน ในกรณีที่แย่ที่สุด คือ “โปรเจกต์ล่มกลายเป็นศูนย์” และรูปแบบการลงทุนมีความซับซ้อน ยาก “หน้าใหม่” อย่างผู้ลงทุนไทยจะกล้าเสี่ยง แถมไทยยังไม่มี ICO ที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เลย

โลกใหม่การลงทุน ICO 
    
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน ได้เกิดพัฒนาการใหม่ของการลงทุนโทเคนดิจิทัล ที่มีอุดจุดด้อยบางประกาศของ ICO โดยเป็น โทเคนดิจิทัลที่มีสินทรัพย์สภาพคล่องหนุนหลังอยู่เต็มจำนวน หรือที่เรียกว่า “Asset-backed Token” สินทรัพย์สภาพคล่องต่างๆ เช่น งานศิลปะ อัญมณี รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ 
    
แน่นอนว่าในเวลานี้ หลากหลายอุตสาหกรรมเริ่มสนใจที่จะโดดเข้าศึกษาและลงทุน เชื่อมโยงโอกาสไปสู่ในโลกการเงินแห่งอนาคตนี้ 
    
มาถึงเส้นบรรจบใหม่ ระหว่าง ICO กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ นั่นคือ “Real Estate-backed ICO” หรือ “โทเคนดิจิทัลที่มี อสังหาริมทรัพย์หรือ กระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินอ้างอิง” 
    
ในยุคที่สินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยมขึ้น ก.ล.ต.เห็นว่าควรมีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเพียงพอเหมาะสมภายใต้การกำกับดูแลของก.ล.ต. 
    
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในตลาดทุน เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ ผู้ประกอบการ และเพิ่มทางเลือกลงทุนของผู้ลงทุน เมื่อต้นปี 2564 ก.ล.ต.จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับ การออกเสนอขาย Real Estate-backed ICO ซึ่งเป็นการระดมทุนที่มีโครงการหรือทรัพย์สินรองรับ
    
จนล่าสุด “สิริฮับโทเคน” กลายมาเป็น Real Estate-backed ICO รายแรกในไทย มูลค่าการระดมทุน 2,400 ล้านบาท อายุโครงการ 4 ปี ลงทุนในกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส โครงการศักยภาพที่ตั้งอยู่ภายใน T77 คอมมูนิตี้แห่งการอยู่อาศัยและการใช้ชีวิตย่านสุขุมวิท เป็นโครงการใหญ่บนที่ดินที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท มีคอนโดมิเนียม มีศูนย์การค้า โรงเรียนนานาชาติ และโรงพยาบาลฟัน (Dental Hospital) เป็นการลงทุนที่นำค่าเช่า ที่ได้จากแสนสิริ ซึ่งเป็นผู้เช่าในที่ดินแห่งนี้มาแบ่งปันให้กับนักลงทุน (ผู้ถือโทเคน)
    
สิริฮับโทเคน มีให้เลือก 2 ประเภท คือ สิริฮับ A (SiriHubA) และ สิริฮับ B(SiriHubB) ความแตกต่างของทั้งสองประเภทคือ
    
สิริฮับ A (SiriHubA) มูลค่าที่เสนอขาย 1,600 ล้านบาท นักลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้รายไตรมาส 4.5% ต่อปี และส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการก่อนผู้ถือโทเคนดิจิทัล สิริฮับ B โดยจะได้รับรายได้ส่วนสุดท้ายจำนวนสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาทแรก
    
สิริฮับ B (SiriHubB) มูลค่าที่เสนอขาย 800 ล้านบาท นักลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้รายไตรมาส 8% ต่อปี และส่วนแบ่งรายได้จากการขายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยจะได้รับรายได้ส่วนสุดท้ายจากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการ เฉพาะในส่วนเกิน 1,600 ล้านบาท เป็นต้นไป